โครงงานเครื่องไล่ยุง
                                                                                    วงจรไล่ยุง
        วงจรไล่ยุงเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ซึ่งวงจรนี้จะทำ หน้าที่สร้างความถี่ตั้งแต่ 10-30 KHz   
ซึ่งเป็นสัญญาณเสียงในย่าน โซนิกและส่งกระจายออกสู่อากาศโดยแผ่นเพียซโซ ตามปกติยุงทั่วไปขณะบินจะมีอัตราความเร็วในการขยับปีกที่เป็นสัดส่วนต่อความถี่เสียงในย่านนี้ ด้วยหลักการนี้ ยุงจะมีความรู้สึกคล้ายตกหลุมอากาศ
         ดังนั้นมันจะพยายามบินหนีไปจากบริเวณที่มีสัญญาณเสียง นี้ ทั้งนี้ยุงแต่ละชนิดและแต่ละตัว
จะมีอัตราที่แตกต่างกัน ในแง่การ ใช้งานจริงเราจึงไม่สามารถหวังผลได้เท่าไหร่นักเพียงแต่ทดลองสร้างเพื่อการศึกษาปฏิกิริยาของยุงแต่ละชนิดที่มีผลต่อสัญญาณเสียงในย่านนี้ ซึ่งก็คุ้มค่ากับวงจรที่ใช้อุปกรณ์เพียงเท่านี้และบางทีท่านอาจใช้แนวทางนี้ในการปรับแต่งความถี่จน สามารถใช้ได้ผลดีเกินคาดก็อาจเป็นได้

ข้อมูลทางด้านเทคนิค                                                                                                        
 • ใช้แหล่งจ่ายไฟขนาด ๓ โวลท์ดีซี
 • กินกระแสสูงสุดประมาณ ๒๐ มิลลิแอมป์                                                       
 
• ขนาดแผ่นวงจรพิมพ์ : ๑.๖๐ x ๑.๓๙ นิ้ว

                                                                     Breadboard
       Breadboard ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยให้เราออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ได้ง่ายขึ้น เพราะการใช้งาน Breadboard ไม่ต้องใช้การบัดกรีวงจร เพียงแค่ใช้สายไฟเสียบลงไปที่รูบนบอร์ดก็สามารถเชื่อมต่อจุ Breadboard หรืออาจเรียกว่า Protoboard คือบอร์ดพลาสติกสำหรับใช้ต่อวงจรต้นแบบบนผิวหน้าของ  Breadboard

       
Breadboard จะมีรูอยู่มากมายโดยแต่ละรูที่อยู่ในแถวเดียวกันจะมีการเชื่อมต่อกันอยู่ภายในเมื่อเรานำสายไฟสองเส้น มาเสียบลงบน Breadboard ตรงตำแหน่งของรูที่อยู่ในแถวแนวนอนเดียวกัน จะทำให้สายไฟทั้งสองเส้นนั้นเชื่อมต่อกัน ถือว่าเป็นสายไฟเส้นเดียวกันในวงจรได้ตามที่เราต้องการ         

        ใน Arduino Startup kit มี Breadboard รวมอยู่
ในชุด ๑ บอร์ด เป็น BreadBoard ซึ่งเป็นชนิดที่มีรูทั้งหมด ๘๓๐ รู ซึ่งมากพอสำหรับการต่อวงจรที่ไม่ซับซ้อนมาก และเหมาะสำหรับใช้ทดลองร่วมกับ Arduino Nano เพราะบอร์ด Arduino Nano ออกแบบมาให้เสียบลงบน Breadboard ได้ทันทีทำให้ง่ายต่อการทดลอง


                                                    ถ่านอัลคาไลน์ ขนาด 1.5 v
         เป็นถ่านที่ชาร์ตไม่ได้ มีแรงดันไฟฟ้าที่ ๑.๕ V. ถ่านอัลคาไลน์ เป็นถ่านที่มีแรงดันไฟฟ้าต่อเนื่องและความจุไฟฟ้ามากกว่าถ่านธรรมดาหลายเท่า เหมาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้าสมัยใหม่ที่ต้องใช้กำลังไฟฟ้ามาก เช่น กล้องถ่ายรูป แฟลช เครื่องเล่นมัลติมีเดียต่าง ๆ ปัจจุบันตามท้องตลาด ถ่านชนิดนี้จะมีราคาประมาณ ๒๐ - ๓๐ บาทขึ้นไปแล้วแต่ยี่ห้อ