โครงงานเครื่องไล่ยุง
                                                          ผลของการทดสอบผลงาน

          นำไฟแบล็คไลท์ตั้งไว้ ๓๐ วินาทีเพื่อล่อให้ยุงเข้ามา ในบริเวณที่เราต้องการ เมื่อเห็นว่ายุงเข้ามาแล้ว  ก็เริ่มเปิดเครื่องไล่ยุงที่เราเตรียมไว้ตั้งไว้สักพัก เพื่อรอเวลาให้เครื่องไล่ยุงทำงาน เมื่อเครื่องทำงานจะเห็นได้ว่า ยุงบริเวณที่เข้ามาหาแสงไฟ เริ่มบินออกห่างจากบริเวณดังกล่าวและไม่เข้ามาใกล้อีก ซึ่งเป็นการไล่ยุงโดยคลื่นความถี่ในย่านโซนิก จะไปรบกวนจังหวะการบินของยุง ทำให้ยุงหนีออกไปจากบริเวณนั้น 

                                                           ปัญหาและอุปสรรค
๑.แผงวงจรเครื่องไล่ยุงแบบพกพามักเกิดความเสียหายง่าย
๒.ทางโรงเรียนไม่ค่อยมีคนที่บัดกรีได้ชำนาญ
๓.กล่องที่บรรจุสิ่งประดิษฐ์มีความยากในการทำ
๔.วงจรไล่ยุงค่อนข้างมีปัญหาหลายอย่าง

                             แนวทางในการพัฒนาและประยุกต์ใช้ร่วมกับงานอื่นๆ  
            เนื่องจากจุดประสงค์ของเรา คือ โครงงานทำให้เครื่องไล่ยุงสามารถพกพาได้ เราจึงเลือกใช้วิธีการลดอุปกรณ์ต่าง ๆให้น้อยลง เพื่อสามารถพกพาได้สะดวก แต่เมื่อเครื่องนี้สำเร็จทางเรามีแนวคิดที่จะพัฒนาให้มีการกระจายคลื่นที่กว้างขึ้น และมีระบบการเปิด – ปิด จากเซลล์แสงอาทิตย์ ที่เก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้เมื่อเวลาใกล้ค่ำ เครื่องไล่ยุงจะทำงานและกระจายคลื่นออกไปรอบๆบริเวณได้ เช่น  สวนสาธารณะ  บ้านเรือน โรงเรือน เป็นต้น

                                                   ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ
จากปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้คิดต่อยอดทำ “เครื่องไล่ยุงอัตโนมัติ” ขึ้นมาเพื่อช่วยป้องกันอันตรายโรคที่เกิดมาจากยุง และลดอัตราค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ซึ่งเครื่องไล่ยุงนี้สามารถไล่ยุงได้โดยการใช้สารระเหย เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของคนในชุมชนอีกทางหนึ่ง และทำให้ชาวบ้านหมดห่วงโรคภัยที่มาจากยุงที่เป็นพาหะนำ 
ซึ่งจากการทดสอบแบบจำลองเครื่องไล่ยุง โดยนำหลอดไฟแบล็คไลท์ มาล่อให้ยุงเข้ามา เมื่อเห็นว่ายุงเข้ามาแล้วก็เริ่มเปิดเครื่องไล่ยุงที่เราเตรียมไว้ตั้งไว้สักพักเพื่อรอเวลาให้เครื่องไล่ยุงทำงานเมื่อเครื่องทำงานจะเห็นได้ว่ายุงบริเวณที่เข้ามาหาแสงไฟเริ่มบินออกห่างจากบริเวณดังกล่าวและไม่เข้ามาใกล้อีก ซึ่งเป็นการไล่ยุงโดยคลื่นความถี่ในย่านโซนิก จะไปรบกวนจังหวะการบินของยุง ทำให้ยุงหนีออกไปจากบริเวณนั้น แต่ประสิทธิภาพของคลื่นความถี่จะมีระยะการส่งผ่านคลื่นในระยะใกล้ๆ จึงทำให้สามารถไล่ยุงได้ในบริเวณที่ใกล้กับตัวเครื่องไล่ยุงเท่านั้น
         ในการจัดทำโครงงาน เราเลือกใช้วิธีการลดอุปกรณ์ต่างๆ ให้น้อยลงเพื่อสามารถพกพาได้สะดวก   แต่เมื่อเครื่องนี้
สำเร็จทางเรามีแนวคิดที่จะพัฒนาให้มีการกระจายคลื่นที่กว้างขึ้น สามารถนำไปใช้ในสถานที่กว้างขึ้นได้ อีกทั้งการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ ที่มีคุณภาพมากขึ้น จะทำให้โครงงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย


อ้างอิง
Arduino คืออะไร.//สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561,/
จาก/  https://thaiarduino.club/what-is-arduino.

วงจรไล่ยุง.//สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561,/
จาก/  https://sites.google.com/site/elecso25/wngcr-xilekthrxniks.
ความรู้เกี่ยวกับ Relay.//สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561,/
จาก/  http://bedroomlearning.blogspot.com/2016/10/relay.html. 
โรคร้ายจากยุง.//สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561,/
จาก/  https://www.rentokil.co.th/mosquitoes/diseases. 

 ผู้พัฒนา
๑.สามเณรอภิชาติ  กันภัยเพื่อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
๒.สามเณรสุทธิพงษ์ พลอาษา    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
๓.สามเณรภิญโญ    ศิริสวัสดิ์      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖  

อาจารย์ที่ปรึกษา    
นางสาวพนิดา   เล้าประเสริฐ     สอนคณิตศาสตร์
โทรศัพท์  094-6828678  E-mail [email protected]

สถานที่ติดต่อ  โรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา๑  หมู่ ๔   ตำบลทองเอน   อำเภออินทร์บุรี  จังหวัดสิงห์บุรี   รหัสไปรษณีย์ ๑๖๑๑๐