โครงงานบ้านไผ่แก๊ส ดีเท็คเตอร์
                                                                    บทที่ ๑

                                                                    บทนำ
๑.๑ ที่มาและความสำคัญ
      ในปัจจุบันประเทศไทย ได้มีพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพิ่มมากขึ้น และทำให้มีการใช้พลังงานประเภทต่าง ๆ มากขึ้นตามไปด้วย อาทิเช่น พลังงานไฟฟ้า พลังงานเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมัน และแก๊สหุงต้ม โดยในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ต้องมีการประกอบอาหาร รับประทานกันในครัวเรือน อีกทั้งยังนำแก๊สบางชนิดมาเป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมา คือผลกระทบจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการรั่วไหลของแก๊ส เช่น ไฟไหม้บ้าน ไฟไหม้รถยนต์ สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ที่มีมูลค่าและอาจสูญเสียชีวิต

          ดังนั้น ทางคณะผู้จัดทำจึงศึกษาแนวคิดและเพื่อแก้ไขปัญหา จึงได้มีการออกแบบคิดค้นที่จะสร้างชุดอุปกรณ์เตือนภัยตรวจจับแก๊สรั่วขนาดเล็กขึ้น  โดยมีหลักการทำงาน ที่ใช้อุปกรณ์สมองกลเพราะมีต้นทุนในการทำต่ำ ถ้าตรวจพบว่ามีปริมาณแก๊สที่เป็นอันตราย จะมีเสียงสัญญาณเตือนดังขึ้นและสามารถส่งข้อความเตือนไปยังแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์ได้อีกหนึ่งช่องทาง 
          ทั้งนี้เป็นการคำนึงถึงความปลอดภัยในครัวเรือนและเพื่อเป็นการเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยในครัวเรือนและการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวกับแก๊สให้มากขึ้น

๑.๒ วัตถุประสงค์
๑) เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุจากการรั่วไหลของแก๊สได้
๒) เพิ่มความปลอดภัยและความมั่นใจของผู้ที่ใช้งานเกี่ยวกับแก๊สได้
๓) เพื่อเป็นแนวทางและประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจและสามารถนำไปต่อยอดได้

๑.๓ สมมติฐานของการศึกษาสมมติฐาน “ชุดอุปกรณ์เตือนภัยจากแก๊สรั่วสามารถสร้างความปลอดภัยได้จริง”

๑.๔ ขอบเขตของการศึกษา ค้นคว้าในการทำโครงงานในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับชุดอุปกรณ์สมองกล ที่จำลองต้นแบบขึ้นมาเพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งมีสิ่งที่ใช้ในการศึกษาดังต่อไปนี้
๑) ตัวแปรต้น        :  ตำแหน่งของการติดตั้ง sensor จับแก๊ส ๒ ตัว 
๒) ตัวแปรตาม      :  ประสิทธิภาพในการทำงานของชุดอุปกรณ์เตือนภัยจากแก๊สรั่ว
๓) ตัวแปรควบคุม  :  ชุดอุปกรณ์สมองกล, code คำสั่ง

๑.๕ ระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง เวลาที่ใช้ :  ๑ เดือน  ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม – ๑ มิถุนายน ๒๕๖๑

๑.๖ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑) อำนวยความสะดวกในการระวังภัยจากการรั่วไหลของแก็สได้ดีขึ้น
๒) มาตรฐานด้านความปลอดภัยภายในบ้านมากขึ้น
๓) ลดความเสียหายจากอุบัติเหตุแก๊สรั่วและอัคคีภัย
๔) สามารถนำไปสานต่อเพื่อพัฒนาให้ดีกว่าเดิม
๕) เพิ่มความน่าเชื่อถือของหน่วยงานที่นำไปใช้