โครงงานบ้านไผ่แก๊ส ดีเท็คเตอร์
                                                                      บทที่ ๓
                                                                        การทดลอง
๓.๑ วัสดุ/อุปกรณ์
   ๑) MQ-2 
   ๒) อะคริลิค
   ๓) Aduino node Mcu
   ๔) Photo board 830
   ๕) Jumperผู้-ผู้/ผู้-เมีย
   ๖) ตัวจ่ายไฟ
   ๗) ตัวต้านทาน(ohm)
   ๘) Buzzer
   ๙) Relay module 5 VDS
   ๑๐) สายไฟ
   ๑๑) ฟิวเจอบอร์ด
   ๑๒) พัดลมคอมพิวเตอร์
   ๑๓) ดินน้ำมัน
   ๑๔) ปืนกาว

๓.๒ ขั้นตอนการทำ/หลักการทำงาน
   ๑) ระบบจะตรวจจับแก็สที่รั่วไหลออกมา
   ๒) เมื่อระบบตรวจเจอแก็สแล้วจะสั่งให้ Buzzer และ LED ทำงาน
   ๓) ระบบจะแก้ไขปัญหาโดยการสั่งการให้พัดลมทำงานเพื่อดูดแก็สออกจากบ้าน
   ๔) เมื่อระบบตรวจไม่เจอแก็สแล้วระบบทุกอย่างจะหยุดทำงาน

๓.๓  วิธีการศึกษาทดลอง
    ๑) การทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของชุดอุปกรณ์เตือนภัยจากแก๊สรั่ว


                                                                           บทที่ ๔
                                                                        ผลการศึกษาทดลอง
      ผลการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของชุดอุปกรณ์เตือนภัยจากแก๊สรั่ว

                              การทดสอบการทำงานครั้งที่สิ่งที่นำมาทดสอบผลการทำงาน

    ๑.แก๊สบิวเทนจากไฟแชกSensor ทำงานตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของแก๊ส มีแก๊สเกินค่าที่กำหนดไว้ ระบบสั่งการให้ BUZZER ส่งเสียงสัญญาณเตือน พัดลมดูดอากาศทำงาน
    ๒.ก๊สบิวเทนจากไฟแชกSensor ทำงานตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของแก๊ส มีแก๊สเกิน  ค่าที่กำหนดไว้ ระบบสั่งการให้ BUZZER ส่งเสียงสัญญาณเตือน พัดลมดูดอากาศทำงาน
    ๓.แก๊สบิวเทนจากไฟแชกSensor ทำงานตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของแก๊ส มีแก๊สเกินค่าที่กำหนดไว้ ระบบสั่งการให้ BUZZER ส่งเสียงสัญญาณเตือน พัดลมดูดอากาศทำงาน


                                                                                บทที่ ๕
                                                              สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
     ๑)  สรุปผลการทดลอง  จากผลการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของชุดอุปกรณ์เตือนภัยจากแก๊สรั่ว สามารถทำงานได้จริง เมื่อปล่อยแก๊สเข้าสู่บ้านจำลองแล้ว ตัวเซนเซอร์จะตรวจจับและส่งค่าความเข้มข้นของแก๊ส ไปให้ตัวบอร์ด Arduino  เพื่อทำให้อาร์ดูโนสั่งการไปยัง BUZZER ส่งเสียงสัญญาณเตือน หลอด LED สว่างขึ้น เพื่อเตือนภัยว่ามีแก๊สรั่วไหลอยู่ภายในบ้าน หลังจากนั้นทางระบบจะทำการแก้ไขปัญหา โดยการสั่งการให้พัดลมระบายอากาศทำงานเพื่อดูดแก๊สออกจากครัวเรือน  

    ๒)  อภิปรายผลโดยการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของชุดอุปกรณ์เตือนภัยจากแก๊สรั่ว สามารถทำงานได้จริง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุจากการรั่วไหลของแก๊สได้ และยังเพิ่มความปลอดภัยและความมั่นใจของผู้ที่ใช้งานเกี่ยวกับแก๊สได้  ซึ่งจากแนวคิดและการสร้างชุดอุปกรณ์เตือนภัยจากแก๊สรั่วนี้ สามารถนำไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบเตือนภัยต่อไปได้

                                                                          ข้อเสนอแนะ
     ๑)  ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปใช้ในการนำชุดอุปกรณ์เตือนภัยจากแก๊สรั่วไปใช้ ควรมีการเลือกตัวอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการทำงานที่ครอบคลุมการสั่งการสม่ำเสมอ หรืออาจจะมีการเพิ่มตัว sensor ตรวจจับแก๊สให้ได้หลายๆ ชนิด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้สูงขึ้นไปอีก

    ๒)  ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาต่อ ทางคณะผู้จัดทำกำลังศึกษาระบบการสั่งการให้สามารถ เตือนภัยจากแก๊สรั่ว ผ่านทาง แอพพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้มีการแจ้งเตือนระดับปริมาณของแก๊ส ว่าอยู่ในระดับใดท่างจึงจะปลอดภัย



เอกสารอ้างอิง : ออดไฟฟ้า BUZZER. สืบค้นจาก http://www.mwit.ac.th/~ponchai/CAI_
electronics/image/BUZZER.HTM. (สืบค้นเมื่อ 15 มิ.ย. 2561).

อะคริลิคกับ คุณสมบัติเด่น. สืบค้นจาก https://www.chi.co.th/article/article-861/. 
 (สืบค้นเมื่อ 16 มิ.ย. 2561).

รีเลย์relayคืออะไร. สืบค้นจาก http://www.psptech.co.th/รีเลย์relayคืออะไร. 
 (สืบค้นเมื่อ 16 มิ.ย. 2561)

พัดลมระบายอากาศ. สืบค้นจาก http://ventilation-smartseo123.blogspot.com. 
   (สืบค้นเมื่อ 16 มิ.ย. 2561)