โครงงานอาคารอัจฉริยะ
                                             อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำโครงงาน
     ๑. Arduino Uno R3 Arduino อ่านว่า (อา-ดู-อิ-โน่ หรือ อาดุยโน่) (ภาพที่ ๑)
เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ตระกูล AVR ที่มีการพัฒนาแบบ Open Sourceคือมีการ
เปิดเผยข้อมูลทั้งด้าน Hardware และ Software ตัว บอร์ด Arduino ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย ดังนั้น จึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา ทั้งนี้ผู้ใช้งานยังสามารถดัดแปลง เพิ่มเติม พัฒนาต่อยอดทั้งตัวบอร์ด หรือโปรแกรมต่อได้อีกด้วย

คุณสมบัติ     
  • ไมโครคอนโทรลเลอร์ ATmega328            
  • แรงดันไฟฟ้าเข้า 7 – 12 V
  • 14 Digital I / O Pins (6 เอาท์พุท PWM)    
  • อินพุตแบบอนาล็อก
  • หน่วยความจำแฟลช 32KB (0.5KB สำหรับบูตโหลด) 
  • SRAM2KB  7. EEPROM 1KB                 
  • ความเร็วนาฬิกา 16 Mhz      
    
     ๒.โมดูล Wi-Fi (ภาพที่ ๒) เป็นโมดูลที่ช่วยให้ไมโครคอนโทรลเลอร์เชื่อมต่อกับ
เครือข่ายข้อมูลในแบบไร้สายผ่าน Wi-Fi ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากตัวโมดูลนี้จะทำหน้า
ที่จัดการขั้นตอนต่างๆ ในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายข้อมูล เพียงได้รับคำสั่งในรูปแบบ 
AT command จากไมโครคอนโทรลเลอร์หรือคอมพิวเตอร์ ทำให้การ
พัฒนาโปรแกรมทางฝั่งไมโครคอนโทรลเลอร์ที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อเครือข่าย
ข้อมูลผ่าน Wi-Fi ทำให้ง่ายขึ้นมาก และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ โมดูลนี้
มีราคาไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับความสามารถของมัน  
     
                                                       คุณสมบัติทางเทคนิค
     • มีหน่วยความจำแฟลชแบบอนุกรมความจุ ๔ เมกะบิต
     • กำหนดการทำงานด้วยการป้อนคำสั่ง AT command ผ่านขาสื่อสารข้อมูลอนุกรม UART
     • ใช้เวลา ๒ มิลลิวินาทีในการเชื่อมต่อและถ่ายทอดแพ็กเก็ตข้อมูล
     • ใช้กระแสไฟฟ้าสูงสุด 215mA ที่อัตราการถ่ายทอดข้อมูล ๑ เมกะบิตต่อวินาที ไฟเลี้ยง 3.3V และใช้ร้อยกว่า 0.1mW เมื่อทำงานในโหมดสแตนด์บาย

     ๓.โมดูลเสียง (ภาพที่ ๒) หรือ Active Buzzer Module 3.3 – 5 V    
โมดูล Active Buzzer ใช้ไฟเลี้ยง     3.3 - 5V สามารถสร้างเสียงเตือนได้ อย่างง่าย ๆ 
เพียงแค่จ่ายไฟ เข้าไปที่ ขา I/O โมดูลนี้มีทรานซิสเตอร์เบอร์ 9012 ช่วยขยายสัญญาณจึง
มีความดังเป็นพิเศษ

    คุณสมบัติ :          
       • อินเทอร์เฟซปุ่มกดการเล่นสามารถเปิดหรือปิดได้            
       • โหมดปิดเครื่องอัตโนมัติ  
       • ไดร์เวอร์ลำโพง On-chip 8 Ω                                  
       • แหล่งจ่ายไฟ (VCC) 3 VDC  
       • สามารถควบคุมด้วยตนเองหรือด้วย MCU             
       • บันทึกเสียงได้นานถึง ๒๐ วินาที 
       • อัตราการสุ่มตัวอย่างและระยะเวลาเปลี่ยนได้โดยการแทนที่ตัวต้านทานเดียว 
   
       ๔.โมดูลนาฬิกา DS 3231 module (ภาพที่ ๔) เป็นโมดูนาฬิกาแบบเวลาจริง  RTC 
(Real Time Clock)ที่มีความถูกต้องแม่นยำสูง เพราะข้างในมีวงจรวัดอุณหภูมิ เพื่อนำอุณหภูมิจากสภาพแวดล้อม  มาคำนวณชดเชยความถี่ของ Crystal ที่ถูกรบกวนจากอุณหภูมิภายนอก มาพร้อมแบตเตอร์รี่ ใช้งานได้  แม้ไม่มีแหล่งจ่ายไฟจากภายนอก สามารถตั้งค่า วัน เวลา ได้อย่างง่าย มีไลบารีมา พร้อมใช้งานสามารถเลือกแสดงผลเวลาแบบ ๒๔ ชั่วโมงหรือแบบ ๑๒ ชั่วโมงก็ได้
        
        ๕.สายจัม ผู้-เมีย Jump Wire (Male to Female) (ภาพที่ ๕) สายแพ ยาว ๒๐ cm. ขนาด ๔๐ เส้น
   
        ๖. สายจัม เมีย-เมีย Jump Wire (Male to Female) (ภาพที่ ๖)สายแพ ยาว 20cm. ขนาด ๔๐ เส้น
        
        ๗. HC-SR505 Mini Infrared PIR Motion Sensor Module (ภาพที่ ๗)
(เซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว PIR ขนาดเล็ก)  เซนเซอร์ตรวจ จับความเคลื่อนไหว PIR ขนาดเล็ก รองรับไฟได้ช่วงกว้าง 4.5-20V  ระยะการตรวจจับได้ไกลถึง ๓ เมตร

         การทำงานของ PIR เมื่อ
มีสิ่งเคลื่อนไหวหรือคนเดินผ่าน อุปกรณ์จะส่งสัญญาณ  HIGH  ออกมาทางขาเอาท์พุตของตัวโมดูลสามารถนำไปต่อยอดได้อีกมากมายเช่น การตรวจจับขโมยภายในบ้านเป็นต้น 

พารามิเตอร์ทางเทคนิค : ขอบเขตแรงดันไฟฟ้าที่ใช้งานได้: DC4.5-20V   ระดับเอาท์พุท: สูง 3.3 V / ต่ำ 0 V
เวลาหน่วงเวลา  : ค่าเริ่มต้น 8S + -30% (สามารถกำหนดช่วงของช่วงเวลาไม่กี่สิบ - สิบนาที)ทริกเกอร์   :  ทริกเกอร์ที่ทำซ้ำได้ (ค่าเริ่มต้น)

         ๘.หลอด LED Super Bright 5 mm สีขาว (ภาพที่ ๘) จำนวน ๔ หลอด

            รายละเอียด    อุณหภูมิสี              6000   -    6500  k
                               แรงดันไฟฟ้า           3 v    -    3.4  v    (โวลท์ )
                               กระแส                 10      -   20 ma   (มิลลิเอมส์ )
                               ความสว่าง             14000  -   16000   mcd
                               อายุการใช้งาน        50,000 ชั่วโมง
     
         ๙.โพรโทบอร์ด (อังกฤษ: protoboard) หรือ เบรดบอร์ด (อังกฤษ: breadboard) (ภาพที่ ๙) เป็นบอร์ดที่ใช้ทดลองวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกหนาสีขาว บนแผ่นมีรูเรียงกันจำนวนมาก ภายในรูมีตัวนำไฟฟ้าซึ่งเชื่อมต่อกันในรูปแบบที่มีการกำหนดไว้ เวลาทดลองก็เสียบขาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลงไปให้ตัวนำภายในเชื่อมวงจรถึงกัน และอาจใช้สายไฟเสียบลงรูเพื่อเชื่อมวงจรไฟฟ้าได้เช่นกัน ข้อดีของโพรโทบอร์ดคือ ไม่ต้องออกแบบแผงวงจรและไม่ต้องบัดกรี แต่มีข้อเสียคือใช้ทดลองวงจรที่ทำงานที่
ความถี่สูงๆ ไม่ได้เนื่องมีปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวนในวงจร

          ๑๐.ไม้อัด (ภาพที่ ๑๐) เกิดจากการรวมไม้หลายๆ ชนิดเข้าด้วยกันหรือทำจากไม้ชนิดเดียวกัน โดยการตัดท่อนซุงให้มีความยาวตามที่ต้องการ แล้วกลึงปอกท่อนซุง หรือฝานให้ได้แผ่นไม้เป็นแผ่นบาง ๆ มีความหนาตั้งแต่ 1 ถึง 4 มิลลิเมตร แล้วนำมาอัดติดกันโดยใช้กาวเป็นตัวประสานโดยให้แต่ละแผ่นมีแนวเสี้ยน  ตั้งฉากกัน แผ่นไม้จะถูกอบแห้งในเตาอบ
           คุณสมบัติ
    • มีความแข็งแรงทนทานสูง มีความคงตัวไม่ยืดหด และแตกง่าย
    • สามารถตอกตะปูหรือใช้ตะปูควงขันใกล้ขอบแผ่น หรือทุกส่วนได้รอบด้าน
    • สามารถตัด เลื่อย และฉลุได้ง่าย ไม่แตกหัก สามารถโค้งงอได้โดยไม่ฉีกหัก

          ๑๑.แผ่นอครีลิคใส ,พลาสติกแผ่นใส (ภาพที่ ๑๑) 
            คุณสมบัติ
    • มีความแข็งสูง         
    • ทนความร้อนสูงสุดประมาณ ๑๐๐ องศา
    • สามารถนำมาตัดขึ้นรูปได้ตามต้องการ