ฝ่ายนักธรรม-ธรรมะ

                                              เฉลยปัญหาวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี

                                                  สอบในโครงการอบรม

                                        วันอังคาร ที่ ๒๖  กันยายน พ.ศ.  ๒๕๖๐

                                                  -------------------------

 ๑.บุพพการีและกตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลเช่นไร ? จงยกตัวอย่างมาสัก ๒ คู่

          บุพพการี  ได้แก่บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน  (๒ คะแนน)

          กตัญญูกตเวที  ได้แก่บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว  และตอบแทน (๒ คะแนน)

(ตอบเพียง ๒ คู่) (๖ คะแนน)

คู่ที่ ๑   มารดาบิดากับบุตรธิดา

คู่ที่ ๒   ครูอาจารย์กับศิษย์

คู่ที่ ๓   พระราชากับราษฎร

คู่ที่ ๔   พระพุทธเจ้ากับพุทธบริษัท ฯ

๒. บุญกิริยาวัตถุ คืออะไร ? (๓ คะแนน)   โดยย่อมีเท่าไร ?   อะไรบ้าง ? 

สิ่งที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ ฯ (๓ คะแนน)    มี ๓ ฯ (๑ คะแนน)      คือ

๑. ทานมัย  บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน (ข้อละ ๒ คะแนน)     

          ๒. สีลมัย  บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล      

๓. ภาวนามัย  บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา ฯ 

๓. ภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ควรเว้นอันตราย ๔ อย่าง คืออะไรบ้าง ?

ควรเว้น อันตราย ๔ อย่าง คือ

๑. อดทนต่อคำสอนไม่ได้ คือเบื่อต่อคำสอน ขี้เกียจทำตาม  (ข้อละ ๒.๕ คะแนน)

๒. เป็นคนเห็นแก่ปากแก่ท้อง ทนต่อความอยากไม่ได้

๓. เพลิดเพลินในกามคุณ ทะยานอยากได้สุขยิ่งๆ ขึ้นไป

๔. รักผู้หญิง ฯ

๔. กรรมอันเป็นบาปหนักที่สุด ห้ามสวรรค ์ห้ามนิพพาน คือกรรมอะไร ? จงยกตัวอย่างสัก ๓ ข้อ 

คือ อนันตริยกรรม ฯ   (๔ คะแนน)  มี

(ตอบ ๓  ข้อ ข้อละ ๒ คะแนน)   

๑.  มาตุฆาต  ฆ่ามารดา           

๒.  ปิตุฆาต  ฆ่าบิดา               

๓.  อรหันตฆาต  ฆ่าพระอรหันต์ 

๔. โลหิตปุบาท  ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป    

๕.  สังฆเภท  ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน ฯ 

๕. จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ 

          ก. พาหุสัจจะ              ข. อกุลมูล                 ค. อินทรียสังวร  

          ฆ. อนัตตตา               ง. กามฉันท์ ฯ

ให้ความหมายได้ดังนี้  (ข้อละ ๒ คะแนน)

          ก.  ความเป็นผู้ศึกษามาก           

          ข.  รากเหง้าของอกุศล             

          ค.  ความสำรวมอินทรีย์  

ฆ.  ความเป็นของไม่ใช่ตน          

ง.  ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น 

๖. อภิณหปัจจเวกขณะ คือข้อที่ควรพิจารณาเนือง ๆ ๕ อย่าง ทรงสอนให้ พิจารณาอะไรบ้าง ?

ทรงสอนให้พิจารณา (ข้อละ  ๒ คะแนน)

          ๑. ความแก่ว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้        

๒.  ความเจ็บไข้ว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้      

๓.  ความตายว่าเรามีความตายเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความตายไปได้   

๔.  ความพลัดพรากว่าเราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น

๕.  กรรมว่าเรามีกรรมเป็นของตัวเราทำดีจักได้ดีทำชั่วจักได้ชั่วฯ

๗.  การสำรวมอินทรีย์ ได้แก่การกระทำอย่างไร? เมื่อกระทำเช่นนั้นแล้วจะได้รับประโยชน์อะไร?

          การสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดี ยินร้าย เมื่อเห็นรูป ได้ยินเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส กายสัมผัส รู้ธรรมารมณ์ ฯ  (๕ คะแนน)

          ได้ประโยชน์ คือ ไม่เกิดความยินดี ไม่เกิดความยินร้าย ในเวลาเห็นรูป ได้ยินเสียง เป็นต้น ฯ  (๕ คะแนน)

๘.  อบายมุข คืออะไร? ความเป็นนักเลงสุราจัดเป็นอบายมุขเพราะเหตุไร?

          คือเหตุเครื่องฉิบหาย ฯ (๕ คะแนน)

          เพราะเป็นเหตุให้เสียทรัพย์ ก่อการทะเลาะวิวาท เกิดโรค ต้องติเตียน ไม่รู้จักอาย ทอนกำลังปัญญา ฯ

(๕ คะแนน)

๙. บุตรธิดาพึงปฏิบัติต่อมารดาบิดาอย่างไร ? 

พึงปฏิบัติอย่างนี้ (ข้อละ ๒ คะแนน)

๑. ท่านได้เลี้ยงมาแล้วเลี้ยงท่านตอบ                  

๒. ทำกิจของท่าน         

๓.  ดำรงวงศ์สกุล      

๔.  ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก        

๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศให้ท่าน ฯ

๑๐. ศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิตย์ คือศีลอะไร ? ได้แก่อะไรบ้าง ?

คือ      ศีล      ๕ ฯ   (๒.๕ คะแนน)

ได้แก่       (ข้อละ ๑.๕ คะแนน)

๑.  เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป                   

๒.  เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย        

๓.  เว้นจากประพฤติผิดในกาม              

๔.  เว้นจากพูดเท็จ                 

๕.  เว้นจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท