กิจกรรม ต่อยอดเติมใบ
มารู้จักยุง....

ในโลกนี้มียุงกว่า  4,000  จัดอยู่ในอันดับ  Diptera  วงศ์  Culicidae  ยุงบางชนิดเป็นพาหะนำโรคมาสู่คนและสัตว์  เช่น  ยุงลาย  Aedes aegypti  และยุง  Ae. Albopictus  นำโรคไข้เลือดออก  (Dengue haemorrhagic fever)  ยุง  Culex triaeniohynchus  นำโรคไข้สมองอักเสบ  (Encephalitis)  ยุงก้นปล่องนำโรคมาลาเรีย  (Malaria)  และยุงเสือนำโรคฟีลาเรียหรือโรคเท้าช้าง  โรคที่กล่าวมานี้เกิดในคน  ส่วนในสัตว์นั้นยุงก็มีความสำคัญมากเช่นกัน  เนื่องจากเป็นตัวนำโรคต่าง ๆ  หลายชนิดในสัตว์  เช่น  ยุงรำคาญ  Culex quinquefasciatus  นำโรคพยาธิหัวใจสุนัขและโรคมาลาเรียในนก  ยุงบางชนิดชอบกัดวัวทำให้น้ำหนักวัวลดและผลิตนมได้น้อยลง  ยุงนอกจากเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลือดอุ่นแล้วยังเป็นอันตรายต่อสัตว์เลือดเย็นอีกด้วย

ชนิดของยุงที่สำคัญในทางการแพทย์ มี  4  ตระกูล  คือ

1.  ตระกูลยุงลาย  (Genus Aedes)

2.  ตระกูลยุงคิวเส็กซ์  หรือยุงรำคาญ  (Genus Culex)

3.  ตระกูลยุงก้นปล่อง  (Genus Anopheles)

4.  ตระกูลยุงเสือ  หรือยุงฟิลาเรีย  (Genus Mansonia)

1.  ชีววิทยาของยุง

ยุงมีการเจริญแบบสมบูรณ์  (complete metamorphosis  หรือ  holometabola)  หมายถึง  การเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในแต่ละระยะแตกต่างกันมาก  แบ่งเป็น 4 ระยะ  คือ  ระยะไข่  (egg)  ระยะลูกน้ำ  (larva)  ระยะตัวโม่ง  (pupa)  และระยะตัวเต็มวัย  (adult)  ระหว่างการเจริญเติบโตในแต่ละระยะต้องมีการลอกคราบ  (molting)  ซึ่งถูกควบคุมโดยฮอร์โมนที่สำคัญ  3  ชนิด  คือ  brain homone , ecdysone  และ  juvenile hormon

โพสเมื่อ : 07 ต.ค. 65