กะลาไม้แขวน
กะลาไม้แขวน

                                     โครงงาน ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว
                                          ชื่อ กะลาไม้แขวนบ้านทองเอน




                                                           จัดทำโดย
                                               กลุ่มสามเณรกะลามะพร้าว
                                        ๑.สามเณร ธรรมนูญ อินรุ่ง ชั้นม.๓
                                        ๒.สามเณร สุทิวัส คำสาง ชั้นม.๓
                                        ๓.สามเณร ชัยวัฒน์ สายสนอง ชั้นม.๑



                                                             ที่ปรึกษา
                                                นายฉลอง กลางจันอัด
                                    หัวหน้ากลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี




                                          โรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา
                                       ต.ทองเอน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ๑๖๑๑๐


************************************************************************
                                        ประวัติครูภูมิปัญญาท้องถิ่น
                                          "ลุงเชิด กะลาไม้แขวน"

                                ชื่อ นายเชิดศักดิ์   นามสกุล เอี่ยมรักษา
                  ที่อยู่บ้านเลขที่ ๑๘๑ หมู่ ๑ ต.บางกระบือ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี
 


************************************************************************
                                   โครงงาน ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว
บทที่ ๑ บทนำ ที่มา และความสำคัญ

       ในปัจจุบันวัสดุที่เหลือใช้จากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์มีมากขึ้นเรื่อยๆ และวัสดุบางประเภทมีมากในท้องถิ่นสามารถนำมาแปรรูปเป็นสิ่งของเครื่องใช้และนำไปจำหน่าย ซึ่งใช้สอยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถนำมาประกอบเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้แก่ครอบครัว ซึ่งกะลามะพร้าวเป็นสิ่งที่หาง่ายในท้องถิ่น กลุ่มของข้าพระเจ้าจึงได้คิดนำกะลามะพร้าวมาทำโคมไฟจากกะลามะพร้าวและโมเสดกะลามะพร้าว ซึ่งสามารถนำมาตกแต่งอาคารบ้านเรือนหรือสถานที่ต่างๆได้ และเกิดความสวยงามแก่ผู้พบเห็น และยังได้นำกะลามะพร้าวมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากกะลามะพร้าวให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ของใช้จากกะลา ที่มีหลายรูปแบบเราจึงสร้างสรรค์ของผลงานจากกะลามะพร้าวในรูปแบบใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์

       มะพร้าวเป็นสิ่งที่หาง่ายในท้องถิ่น และส่วนต่างๆของกะลามะพร้าวสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนเช่น ผลอ่อนนำมารับประทานได้เนื้อมะพร้าวที่เป็นผลแก่นำไปปรุงอาหารและนำไปใช้ทำขนมได้หลายชนิดละใช้สกัดเป็นน้ำมัน ส่วน เปลือกของมะพร้าวที่เหลือสามารถเอาไปแยกแล้วนำเส้นใยมาทำเชือก ส่วนกะลามะพร้าวก็สามารถนำมาทำเป็นภาชนะและเป็นของใช้ภายในบ้าน เพราะกะลามะพร้าวเมื่อขัดเงาจะมีความสวยงามมากซึ่งสามารถนำมาทำสิ่งประดิษฐ์ของใช้จากกะลา เพื่อนำมาตกแต่งบ้านเรือนปละสถานที่ต่างๆก็จะทำให้เกิดความสวยงามแก่ผู้พบเห็นได้

วัตถุประสงค์ของโครงงาน
๑. เพื่อนำสิ่งของที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์
๒. เป็นวัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่น
๓. เป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้
๔. เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
๕. เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานของผู้ที่สนใจ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงาม ถูกใจ
๒. ช่วยสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
๓. มีรายได้จากการทำอาชีพเสริม
๔. มีความภูมิใจในชิ้นงานของตนเอง
๕. ส่งเสริมนโยบาย หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
๖. นำความรู้ทางด้านการงานอาชีพและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญา
ท้องถิ่นได้อย่างลงตัว


บทที่ ๒ เอกสารที่เกี่ยวข้อง

มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้
ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้น
ทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าว
จัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้
ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล

ดินที่เหมาะกับการปลูกมะพร้าวมี ชนิดคือ

. ดินใกล้ฝั่งแม่น้ำ
. ดินใกล้ปากน้ำติดทะเลเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมในฤดูฝน
. ดินตามเกาะต่างๆ
. ดินชายทะเลซึ่งส่วนมากหน้าดินเป็นดินทราย
. ดินเลนที่ขุดลอกจากสันดอน
. ดินบนคันนา

ภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง ภาคกลาง ได้แก่ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม นครปฐม เพชรบุรี ราชบุรี ภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด ฉะเชิงเทรา

พื้นที่ปลูก

ภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง ภาคกลาง ได้แก่ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม นครปฐม เพชรบุรี ราชบุรี ภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด ฉะเชิงเทรา

วิธีการปลูก

ควรปลูกในฤดูฝน ขุดดินบนหลุมปลูกที่เตรียมไว้ ให้เป็นหลุมเล็กๆ ขนาดเท่าผลมะพร้าว เอาหน่อที่คัดเลือกแล้วมาตัดรากที่หักช้ำออก ใช้ปูนขาวหรือยากันราทาตรงรอยตัดวางหน่อลงในหลุม ให้หน่อตั้งตรง ตัดหน่อไปในทิศทางเดียวกัน เอาดินกลบอย่างน้อย 2/3 ของผล เพื่อให้พอดีมิดผลมะพร้าว แต่ระวังอย่าให้ดินทับโคนหน่อ เพราะจะทำให้หน่อถูกรัด ต้นจะโตช้า แต่เมื่อมะพร้าวโตขึ้นก็ควรจะกลบดินให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันโคนลอย เอาไม้ปักเป็นหลักผูกยึดกับต้นให้แน่น เพื่อป้องกันลมโยก เหยียบดินรอบโคนหน่อให้แน่น ควรทำร่มให้ในระยะแรก เพื่อลดอัตราการตายเนื่องจากถูกแดดจัดเกินไป ในบริเวณที่ปลูกถ้ามีสัตว์เลี้ยง ให้ทำรั้วป้องกันสัตว์มาทำลาย ปลูกมะพร้าวให้ต้นตั้งตรง มัดหลักยึดต้นกันลมโยก ทำร่มบังแดดให้ในระยะแรกหลังปลูก

กะลามะพร้าว

วัสดุเหลือใช้อย่างหนึ่งของมะพร้าวคือ กะลามะพร้าวในอดีตเมื่อเอาเนื้อออกใช้ประโยชน์หมดแล้วก็เป็นเศษวัสดุที่ไม่ค่อยมีราคาค่างวดสักเท่าไรคนสมัยก่อนมักนำไปใช้ทำเชื้อเพลิง หรือทำเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น กระบวยตักน้ำ ทัพพี ถ้วย ชาม ฯลฯ ความสำคัญของกะลามะพร้าวในสมัยก่อนมีค่าไม่มากนัก และมักจะมีการเปรียบเปรยคนที่ใช้ชีวิตอย่างไร้คุณค่า ว่าเหมือนกับกะโหลกกะลา


บทที่ ๓ วิธีดำเนินโครงงานและการดำเนินงาน
จากการที่ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลในการทำสิ่งประดิษฐ์ของใช้
จากกะลา ได้มี
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานตามรายละเอียดในหัวข้อ ดังต่อไปนี้
. วิธีการดำเนินงาน
. วัสดุ /อุปกรณ์ในการทำกะลาไม้แขวน
. ขั้นตอนการทำกะลาไม้แขวน
. วิธีการจำหน่าย
. เกณฑ์การประเมินผลความพึงพอใจของผู้ใช้

วิธีการดำเนินงาน
. ขั้นเตรียมการ
.๑ ศึกษาข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องและวิธีการทำสิ่งประดิษฐ์ของใช้จากกะลา

. ขั้นตอนการดำเนินงาน

.๑ ออกแบบผลิตภัณฑ์
๒.๒ จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์

๒.๓ ลงมือปฏิบัติงาน
๒.๔ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์พร้อมเก็บรวบรวมข้อมูลในการสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้

. ขั้นสรุปผล
๓.๑ วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป SPSSโดยหา
ค่าเฉลี่ย (
Mean)
๓.๒ จัดทารูปเล่มรายงานโครงงาน

วัสดุ / อุปกรณ์ในการทำโคมไฟกะลา
๑.ลูกมะพร้าวแห้ง ๒.มีดปลายแหลม
๓.เหล็กฉีกมะพร้าว ๔.กาวร้อน

๕.ตัวเชื่อมหัวแร้ง ๖.เครื่องเจาะไม้
๗.เชือกฟาง ๘.สิ่ว ๙.สีน้ำมันทาไม้

ขั้นตอนการประดิษฐ์กะลาไม้แขวน
๑.ตัดเปลือกมะพร้าวข้างนอกออกให้หมด
๒.ใช้มีดปาดขึ้นรูปทรงที่ออกแบบ ณ ที่นี้ตัดเป็นรูปไก่
๓.ใช้เหล็กฉีกมะพร้าวอีกลูกเพื่อที่จะได้ใช้มีดตัดแต่งเป็นหาง หงอนและขาไก่
๔.ใช้กาวร้อนติดส่วนของหงอน ปีกและขา เพื่อ ให้เป็นรูปตามที่ต้องการ
๕.ใช้เครื่องเจาะ เจาะเป็นรูเพื่อร้อยเชือกและตัด เป็นรูปวงกลมบนตัวไก่เพื่อให้มีช่องว่าง
ใส่ไม้ประดับ
๖.ใช้สิ่วขูดเอาเนื้อในมะพร้าวออกให้หมด
๗.เสร็จแล้ววาดลวดลาย ด้วยความร้อนของหัวแร้ง
๘.ทาสีน้ำมันเพื่อความสวยงาม
๙.ร้อยเชือกฟางเพื่อนำไปแขวนประดับหรือส่งขายวิธีการจำหน่าย


Product (สิ่งประดิษฐ์ของใช้จากกะลา)

ผลิตภัณฑ์มีรูปลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละชิ้นงาน ซึ่งมีรูปแบบ หลากหลายให้ลูกค้า ได้เลือกซื้อได้ตามความต้องการ

Price (ราคา)

การตั้งราคาของผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความสวยงาม คุณภาพ และความต้องการ
ของลูกค้าเป็นปัจจัยหนึ่ง ในการที่จะเลือกซื้อ กะลาไม้แขวน

บทที่ ๔ ผลการดำเนินงาน และวิเคราะห์ข้อมูล

ในการศึกษาการจัดทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์ของใช้จากกะลา ผู้จัดทำโครงงานได้แบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ ๑ ผลการปฏิบัติงาน
๑.๑ บัญชีรายรับ
๑.๒ บัญชีรายจ่าย
๑.๓ งบกำไรขาดทุน

บทที่ ๕ สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะสรุป

จากการทำโครงงาน สิ่งประดิษฐ์ของใช้จากกะลา ผู้จัดทำโครงการได้รับความรู้และ
ประสบผลสำเร็จดังนี้

. รู้จักขั้นตอนในการทำสิ่งประดิษฐ์ของใช้จากกะลา
. มีประสบการณ์ในการทำสิ่งประดิษฐ์ของใช้จากกะลา
. สามารถนำสิ่งของเหลือใช้มาทาให้เกิดมูลค่า
. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
. มีรายได้เกิด ขึ้น จากการดำเนินงาน
. มีประสบการณ์ด้านการขาย และการทำบัญชี

อภิปรายผล  ในการจัดทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจสิ่งประดิษฐ์ของใช้จากกะลา ซึ่งได้เก็บข้อมูลจากประชากรกลุ่มตัวอย่างจานวน ๒๐ คน แบ่งออกเป็น เพศชาย ๑๐ คน เพศหญิง ๑๐ คน พบว่าลูกค้ามีความพึงพอใจต่อสิ่งประดิษฐ์ของใช้จากกะลา อยู่ในระดับมาก ( X = 4.23 ) เนื่องจากสามารถนามาใช้ประโยชน์ในการตกแต่งบ้านเรือน ได้อย่างสวยงาม และมีราคาที่เหมาะสม ลูกค้าส่วนใหญ่ชื่นชอบ