ข่าวประชาสัมพันธ์
ประวัติ ความเป็นมาของ "วันพระ"

ประวัติ ความเป็นมาของ "วันพระ"

วันพุธ ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ วันนี้เป็นวันพระใหญ่
แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วัน
ประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา
ในพระพุทธศาสนาประจำ สัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีก
คำหนึ่งว่า “วันธรรมสวนะ” อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม
(ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดย วันพระ เป็นวันที่
มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ

"กำเนิดวันพระของศาสนาพุทธ"

วันพระแต่เดิมนั้นเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์
(นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรม
ทุกๆ วัน ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้า
ยังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้

ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ
กราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวัน
ประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา 
แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มี
การประชุมพระสงฆ์ในวัน ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และอนุญาตให้พระ
ภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชน
ในวันดังกล่าว

โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน ๘ ค่ำ) 
หรือวันลงอุโบสถ (วัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ) แล้วแต่กรณี

หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวัน
ธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไป
ประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศ
ไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่
สมัยสุโขทัย

"วันที่กำหนดเป็นวันพระในรอบเดือน"
วันพระมีเดือนละ ๔ วัน ได้แก่ วันขึ้น ๘ ค่ำ, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ
(วันเพ็ญ), วันแรม ๘ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ (หากเดือนใด
เป็นเดือนขาดถือเอาวันแรม ๑๔ ค่ำ)

โพสเมื่อ : 03 ส.ค. 59