โครงงานอาคารอัจฉริยะ
                                                 ผลของการทดสอบผลงาน
              ผลจากการทดสอบอุปกรณ์สามารถทำงานได้ดี  ซึ่งระบบจะทำการสั่งงาน 
โดยมีการสั่งการในเวลา
   ๑) ระบบจะเปิดไฟเวลา  ๑๘.๐๐ น. ของทุกวัน
   ๒) เมื่อถึงเวลา ๒๒.๐๐น. ระบบจะปิดไฟอัตโนมัติ พร้อมเสียงเตือนเป็นเวลา  delay 1000
   ๓) เมื่อถึงเวลา  ๐๔.๓๐ น. ระบบจะเปิดไฟอัตโนมัติ พร้อมเสียงเตือนเป็นเวลา delay 1000
   ๔) เมื่อถึงเวลา ๐๕.๓๐น. ระบบจะปิดไฟอัตโนมัติ

          โดยการสั่งการนี้สามารถทำงานได้จริง แต่มีปัญหาเล็กน้อยเกี่ยวกับเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว เพราะว่าค่าของเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวถูกกำหนดค่ามาจากโรงงานแล้ว  จึงไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน ทางกลุ่มเราจึงแก้ไขโดยการใช้ไม้อัดมาปิดเซ็นเซอร์ไว้
 
ภาพที่ ๑๔ แบบจำลองชิ้นงาน
                                                        ปัญหาและอุปสรรค
      ๑.จากการทดลองอุปกรณ์ข้างต้นพบว่าเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว  มีการกำหนดค่าตรวจจับวัตถุที่มีกำหนดค่าตายตัวมาจากโรงงาน ทำให้มีอุปสรรคในการทดสอบการทำงาน
     ๒.โครงสร้างบ้านไม้อัดจำลองมีลักษณะที่ไม่ตรงตามแบบแผนที่กำหนดไว้
     ๓.เวลาในการจัดทำโครงงานมีเวลาที่จำกัด 
     ๔.เนื่องจากโรงเรียนวัดไผ่ดำ  แผนกสามัญศึกษา  มีการจัดทำโครงงานของโรงเรียนในชนบท ในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขึ้นเป็นครั้งแรกจึงทำให้สามเณรยังไม่คุ้นเคยกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ และรูปแบบวิธีการจัดทำโครงงาน ทำให้มีการทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร
    ๕.สำหรับโครงการนี้ คณะผู้จัดทำโครงงานได้เข้าร่วมเป็นครั้งแรกจึงทำให้การจัดทำโครงงานไม่ค่อยมีความเป็นระเบียบ อีกทั้งยังตั้งงบประมาณในการจัดทำไว้น้อยเกิน

                      แนวทางในการพัฒนาและประยุกต์ใช้ร่วมกับงานอื่น ๆ ในขั้นต่อไป
      โครงงานนี้ทางคณะผู้จัดทำมีความคิดว่าควรจะนำไปพัฒนาให้ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น พัดลม แอร์ เป็นต้น และนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับอาคารสถานที่ต่างๆ เช่น เรือนจำ  ค่ายทหาร  เป็นต้น  เพราะว่าชิ้นงานของกลุ่มเราไม่มีความสลับซับซ้อนทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  รวมทั้งราคาอุปกรณ์ในการจัดทำมีราคาไม่สูงมากนัก

                                                         ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ
ข้อสรุป
             เนื่องจากว่าโครงงานของกลุ่มคณะผู้จัดทำยังไม่มีการทำแบบสอบถามเพื่อประเมินถึงความเป็นไปได้ในด้านประสิทธิภาพของชิ้นงาน  ทางคณะผู้จัดทำจึงใช้เกณฑ์ในการทดสอบชิ้นงานภายในกลุ่มกันเองเป็นเกณฑ์วัดประสิทธิภาพ  ดังนั้นประสิทธิภาพของชิ้นงานทางกลุ่มเราได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นในผลของการทดสอบผลงาน

ข้อเสนอแนะ
             โครงงานชิ้นนี้ทางคณะผู้จัดคิดว่าควรจะทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ทั้งใน
ด้านการออกแบบของชิ้นงาน และหลักการทำงานของอุปกรณ์ให้มีการทำงานที่หลากหลายมากกว่าเดิมและสามารถนำไปประยุกต์ได้รับงานอื่น ๆ ได้ อีกทั้งในครั้งต่อไปอยากให้มีการทำโครงงานที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้า เพื่อช่วยลดอัตราการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย


เอกสารอ้างอิง

ภาษาซี.(ออนไลน์)  สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาซี ( ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๑).

รูปภาพค่ายอิคคิวซัง1และ2และ3.(ออนไลน์)  สืบค้นจาก https://www.facebook.com
             /PicturePHAIDAM/photos/?tab=album&album_id=1541540555967645 
              (๑๖ มิถุนายน  ๒๕๖๑).

รูปภาพอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อื่นๆ.(ออนไลน์)  สืบค้นจาก http://www.myarduino.net
               (๑๖ มิถุนายน  ๒๕๖๑).

โมดูลสื่อสารข้อมูลอนุกรมไร้สายผ่าน WiFi. (ออนไลน์)  สืบค้นจาก https://inex.co.th/shop/esp-01-
                wifi-esp8266ex.html.(๑๖ มิถุนายน  ๒๕๖๑).


สถานที่ติดต่อของผู้พัฒนาและอาจารย์ที่ปรึกษา โทรศัพท์ มือถือโทรสาร E-mail
สามเณร ปฐมพร  ใจดี  หัวหน้าผู้จัดทำ    
โทรศัพท์  ๐๖๑ - ๓๓๔๖๘๙๗     e-mail [email protected]

อาจารย์ พนิดา  เล้าประเสริฐ   อาจารย์ที่ปรึกษา 
โทรศัพท์    ๐๙๔ – ๖๘๒๘๖๗๘

โรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา  
  ตั้งอยู่ เลขที่ 1 หมู่ 4 ตำบลทองเอน   อำเภออินทร์บุรี  จังหวัดสิงห์บุรี 16110