ฝ่ายนักธรรม-วินัย

กัณฑ์ที่  ๒

พระวินัย



๑.  อะไรเรียกว่าพระวินัย
พุทธบัญญัติและอภิสมาจาร 
๒.  พระวินัยให้สำเร็จประโยชน์อะไร  ?
รักษาสังฆมณฑล-ปราบอลัชชีให้พ่าย-ให้ภิกษุมีแก่ใจปฏิบัติตามพระวินัยได้รับอานิสงส์-ให้เป็นผู้มีมารยาทเรียบร้อยเป็นที่ตั้งศรัทธาและเลื่อมใส 
๓.  พระวินัยทำให้งามได้อย่างไร 
ผู้บวชต่างกันเมื่อมีวินัยเป็นเครื่องปฏิบัติเหมือนกัน ความประพฤติสม่ำเสมอกันมีระเบียบ เหมือนด้ายร้อยไม้ ฯลฯ 
๔.  พระวินัยมีอะไรเป็นอานิสงส์ 
มีความไม่เดือนร้อนที่เรียกว่าวิปฏิสาร เป็นอานิสงส์    

๕.  ปฎิบัติอย่างไร  จึงได้รับอานิสงส์นั้น 
ปฏิบัติตามทางมัชฌิมาปฏิปทา ไม่ตึงเคร่งจนเกินไป หรือไม่หย่อนจนเกินควร  
๖.  ทำไมพระบรมศาสดาจึงทรงบัญญัติพระวินัยไว้
เพราะมีผู้บวชเป็นภิกษุมาจากสกุลต่างกัน มีพื้นเพต่างกัน หากไม่มีวินัยปกครองหรือไม่ประพฤติตามวินัย จะเป็นหมู่ภิกษุที่ไม่ดีไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาเลื่อมใส
๗.  พระบัญญัติที่ทรงบัญญัติตามเหตุที่เกิดขึ้นนั้นๆ  ท่านเรียกว่าอย่างไร?
นิทานบ้าง, ปกรณ์บ้าง
๘.  อาบัติ ๗ ชื่อนั้น โทษโดยย่นอย่างไร  จึงจัดเป็น ๒ 
อเตกิจฉา อาบัติที่แก้ไม่ได้, สเตกิจฉา อาบัติที่แก้ไข 
๙.  ในวินัยมีทั้งพระอนุญาตมีทั้งพระบัญญัติ  ภิกษุปฏิบัติตามฝ่ายไหนจึงสมควร?
ปฏิบัติทั้ง 2ฝ่ายคือเว้นจากข้อที่ทางบัญญัติห้าม และทำตามของที่ทรงอนุญาตจึงจะสมควร
 ๑๐.  คำว่า  วินัยบัญญัติ  ได้แก่อะไร?
ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามและข้อที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต
๑๑.  วินัยมีกี่อย่าง  อะไรบ้าง?
มี ๒ คืออาทิพรหมจริยกาสิกขาและอภิสมาจาริกาสิกขา,อีกนัยหนึ่ง ทรงห้ามทำอย่างหนึ่ง ทรงอนุญาตให้ทำอย่างหนึ่ง และอีกนัยได้แก่ อาคาริยวินัยกับอนาคาริยวินัย
ท่านเปรียบพระวินัยเหมือนด้ายร้อยดอกไม้   หมายความว่าอย่างไร?
ด้ายร้อยดอกไม้ควบคุมดอกไม้ไว้ไม่ให้กระจัดกระจายฉันใด พระวินัยย่อมรักษาสงฆ์ให้ตั้งอยู่เป็นอันดีฉันนั้น
๑๒.  ทำไมต้องมีวินัยสำหรับปกครองพระภิกษุ  และหมู่ภิกษุทำไมต้องประพฤติตามพระวินัย  ?
หากจะไม่มีวินัยสำหรับปกครอง  หรือหมู่ภิกษุไม่ประพฤติตามพระวินัย  ก็จะเป็นหมู่ภิกษุที่เลวทราม  ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาและเลื่อมใส  แต่ถ้าต่างรูปประพฤติตามพระวินัย ก็จะเป็นหมู่ภิกษุที่ดี  ทำให้เกดศรัทธาเลื่อมใส  พระวินัยจึงรักษาหมู่ภิกษุให้ตั้งอยู่เป็นอันดี  และทำให้เป็นหมู่ที่งดงาม    
๑๓.  พระวินัยเป็นหลักสำคัญแห่งพระศาสนา อย่างไร จงแสดงมาพอได้ใจความ ?
พระวินัย เป็นหลักของพระพุทธศาสนาคือ ป้องกันไม่ให้ผู้ประพฤติปฏิบัติ เลวทรามชั่วช้าอันจะเกิดความเสียหาย และควบคุมไว้ให้มีความเรียบร้อยน่าเลื่อมใส ความจุบรรลุธรรมที่ประณีตยิ่ง
๑๔.  ความมุ่งหมายที่แท้จริงของการศึกษาพระวินัยคืออะไร ? จงตอบให้มีหลัก 
ความมุ่งหมายที่แท้จริงของการศึกษาพระวินัย คือ
๑. ให้มีความรู้ความเข้าใจพระวินัยอย่างถูกต้อง
๒. ให้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
ทั้ง ๒ ประการนี้ ถือว่าบรรลุความมุ่งหมายที่สมบูรณ์ของการศึกษาพระวินัย เพราะถ้าขาดความรู้ที่ถูกต้องก็ยากที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องและถ้ามีความรู้พระวินัยที่ถูกต้องไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องก็ไร้ผลในการปฏิบัติ
๑๕.  รวมมูลบัญญัติ  และอนุบัญญัติ เรียกว่าอะไร
  รวมมูลบัญญัติ และอนุบัญญัติ เรียกว่า  สิกขาบท
๑๖.  อาบัติที่เป็นโลกวัชชะ  คืออย่างไร
คือโทษที่ชาวโลกติเตียนด้วย  ทั้งเป็นโทษทางพระบัญญัติด้วย
๑๗.  จงยกตัวอย่างอาบัติที่เป็นโลกวัชชะ  มา  ๑  ข้อ
เช่น  สิกขาบทที่  ๑ แห่งสุราปานวรรค  ปาจิตตีย์  ความว่า  “ภิกษุดื่มน้ำเมาต้องปาจิตตีย์”
๑๘.  อาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะ  คืออย่างไร
คือโทษเฉพาะทางพระบัญญัติฝ่ายเดียว  
๑๙.  จงยกตัวอย่างอาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะ  มา  ๑  ข้อ
เช่น  สิกขาบทที่  ๑  แห่งจีวรวรรค  นิสสัคคิยปาจิตตีย์  ความว่า  “ภิกษุทรงอติเรกจีวรได้เพียง  ๑๐  วัน  ถ้าเกิน  ๑๐  วัน  ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์”
๒๐.  อาบัติที่เป็นสจิตตกะ  กับ  อจิตตกะ  ได้แก่อาบัติเช่นไร  สิกขาบทว่า  “ภิกษุดื่มน้ำเมา  ต้องปาจิตตีย์”  จัดเข้าในชนิดไหน  ?
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานเป็นเจตนา  เรียก  สจิตตกะ  ที่เกิดโดยสมุฏฐานไม่มีเจตนา เรียก  อจิตตกะ,  จัดเข้าในสจิตตกะ  ฯ
๒๑.  คำต่อไปนี้  มีความหมายโดยย่ออย่างไร  
๑.  มูลบัญญัติ  ๒.  อนุบัญญัติ  ๓.  สาณัตติกะ  
๔.  อนาณัตติกะ  ๕.  อาทิกัมมิกะ  
๑.  มูลบัญญัติ  หมายถึง  ข้อที่พระพุทธองค์ทรงตั้งไว้แต่แรก  
๒.  อนุบัญญัติ  หมายถึง  ข้อที่พระพุทธองค์ทรงตั้งขึ้นเพิ่มเติมทีหลัง  
๓.  สาณัตติกะ  สาณัตติกะ  หมายถึง  สิกขาบทที่ต้องอาบัติเพระทำเอง  และสั่งให้ผู้อื่นทำ  
๔.  อนาณัตติกะ  อนาณัตติกะ  หมายถึง  สิกขาบทที่ต้องเพราะทำเอง  สั่งให้ผู้อื่นทำไม่ต้อง  
๕.  อาทิกัมมิกะ  อาทิกัมมิกะ  หมายถึง  ภิกษุผู้เป็นต้นเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบทนั้นๆ  ฯ
๒๒.  จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้
๑.  พุทธบัญญัติ  ๒.  อภิสมาจาร  ๓.  วินัย  
๔.  สิกขา  ๕.  สิกขาบท
๑.  พุทธบัญญัติ  ข้อที่ทรงตั้งไว้เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย  และวางโทษแก่ภิกษุผู้ประพฤติล่วงละเมิดด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง  เบาบ้าง
๒.  อภิสมาจาร  ข้อที่ทรงตั้งไว้เพื่อชักนำความประพฤติของภิกษุให้ดีงาม
๓.  วินัย  หลักปฏิบัติสำหรับฝึกกาย  วาจา  ให้เรียบร้อย
๔.  สิกขา  ข้อที่ต้องศึกษา  มี  ๓  คือ  สีลสิกขา  จิตตสิกขา  ปัญญาสิกขา
๕.  สิกขาบท  พระบัญญัติมาตราหนึ่งๆ
๒๓.  ศัพท์ต่อไปนี้คืออะไร  
ก.  สิกขา  ข.  อเตกิจฉา  ค.  สจิตตกะ   
ฆ.  สาณัตติกะ  ง.  โลกวัชชะ  ?  
ก.  สิกขา  คือข้อที่ควรศึกษา  มี  ๓  คือ ศีล  สมาธิ  ปัญญา
ข.  อเตกิจฉา  คืออาบัติที่แก้ไขไม่ได้
ค.  สจิตตกะ  คือสิกขาบทที่ละเมิดด้วยมีเจตนา  
ฆ.  สาณัตติกะ  คืออาบัติที่ต้องแม้ด้วยการใช้เขาทำ  กล่าวคือ ทำเองก็ต้อง  ใช้คนอื่นทำก็ต้อง
ง.  โลกวัชชะ  คืออาบัติที่ภิกษุต้องแล้ว  เป็นโทษทางโลกด้วย
๒๔.  อเตกิจฉา  และ  สเตกิจฉา  ได้แก่อาบัติอะไร  อย่างไหนภิกษุ  ต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ  ?
อเตกิจฉา  คืออาบัติที่แก้ไขไม่ได้  คืออาบัติปาราชิก  
สเตกิจฉา  คืออาบัติที่ยังแก้ไขได้    คืออาบัติสังฆาทิเสส  เป็นต้น  อเตกิจฉา  ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ  ฯ
๒๕.  อะไรชื่อว่า  อาบัติ,  วุฏฐานคามินี  และเทสนาคามินี  ได้แก่อาบัติอะไร  ภิกษุต้องอาบัตินั้นแล้ว  จะพ้นได้ต้องทำอย่างไร  ?
กิริยาที่ล่วงละเมิดพระบัญญัติที่และมีโทษเหนือตนอยู่  ชื่อว่า  อาบัติ  แปลว่า  ความต้อง,  
วุฏฐานคามินี  ได้แก่  อาบัติสังฆาทิเสส,  
เทสนาคามินี  ได้แก่  อาบัติถุลลัจจัยเป็นต้น,  
ภิกษุต้องอาบัติที่เป็นวุฏฐานคามินี  ต้องอยู่กรรม  ต้องอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี  ต้องแสดงต่อหน้าสงฆ์หรือคณะหรือภิกษุรูปใดรูปหนึ่งจึงพ้นได้  ฯ
๒๖.  ภิกษุเป็นต้นเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบทนั้นๆ เรียกว่า  ...........................
อาทิกัมมิกะ
๒๗.  จงอธิบายเรื่องต่อไปนี้ 
๑.อาคาริยวินัย ๒.อนาคาริยวินัย
๓.อาทิพรหมจริยกา  ๔. อภิสมาจาร 
๑.อาคาริยวินัย วินัยของอุบาสกอุบาสิกา 
๒.อนาคาริยวินัย วินัยของนักบวช  
๓.อาทิพรหมจริยกา  ข้อศึกษาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์     
๔. อภิสมาจาร ขนบหรือแบบอย่างอันภิกษุควรประพฤติ
๒๘.  พระพุทธศาสนานั้นประกอบด้วย  ธรรมกับวินัย
ก.  วินัยคืออะไร
ก.  วินัย  คือ  พระพุทธบัญญัติและอภิสมาจาร
ข.  สิกขาบทคืออะไร  
ข.  สิกขาบท  คือ  พระบัญญัติมาตราหนึ่งๆ  เป็นสิกขาบทข้อหนึ่งๆ
๒๙.  คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนานั้น  ประกอบด้วยธรรมกับวินัย
ก.  พระวินัยคืออะไร  
ก.  พระวินัย  คือคำสั่ง  (คู่กับพระธรรม  คือคำสอน)  เป็นเครื่องทำให้กายวาจาเรียบร้อย


ข.  พระวินัยมีความสำคัญอย่างไร
ข.  พระวินัยมีความสำคัญ  คือเป็นพื้นฐานหรือเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา  และเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติได้มนุษยสมบัติ  สวรรคสมบัติ  และนิพพานสมบัติ  ฯ
๓๐.  พระวินัยคืออะไร  ภิกษุควรประพฤติปฏิบัติอย่างไรในพระวินัย  และเมื่อปฏิบัติดีแล้ว  ย่อมมีผลอย่างไรสำหรับภิกษุผู้ปฏิบัติ ?
พระวินัยคือข้อปฏิบัติเพื่อให้กายวาจาเรียบร้อย  เป็นส่วนสีลสิกขา,  ภิกษุควรปฏิบัติพระวินัยด้วยการเว้นข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม  ทำตามข้อที่ทรงอนุญาต  เมื่อปฏิบัติพระวินัยถูกต้องดีแล้ว  ย่อมสบายใจ  โปร่งใจ  ไม่เดือดร้อนใจ  คือวิปฏิสารในภายหลัง ฯ
๓๑.  อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติมีเท่าไร  คือ  อะไรบ้าง  ภิกษุรู้อยู่เป็นอุปัชฌาย์ให้อุปสมบทกุลบุตรผู้มีอายุหย่อนกว่า  ๒๐  ปี  จัดเข้าในอาการข้อไหน  ?
อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติ  มี  ๖  อย่าง  คือ  ต้องด้วยไม่ละอาย  ๑ ต้องด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนี้จะเป็นอาบัติ  ๑  ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร  ๑  ต้องด้วยสำคัญว่าควรในของที่ควร  ๑  ต้องด้วยลืมสติ  ๑,  จัดเข้าในอาการข้อที่  ๑  คือต้องด้วยไม่ละอาย  ฯ
๓๒.  ภิกษุรู้อยู่ว่า  “ดื่มน้ำเมา  ต้องปาจิตตีย์”  แต่ขืนทำ  อย่างนี้จัดเข้าในอาการข้อไหน ?
จัดเข้าในต้องด้วยความไม่ละอาย
๓๓.  อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัตินั้นอย่างไหนเลวทรามที่สุด  เพราะเหตุไร  และอย่างไหนควรได้รับอภัย  ?
ต้องด้วยความไม่ละอายเลวทรามที่สุด  เพราะเป็นผู้ดื้อด้านว่ายากสอนยาก  อาจต้องได้อาบัติทุกอย่าง  ไม่มีสิ่งไหนควรได้รับการอภัย  ฯ
๓๔.  น้ำชา  ภิกษุสงสัยว่าเป็นสุรา  แล้วขืนดื่ม  เช่นนี้จะต้องอาบัติอะไรหรือไม่  เพราะเหตุไร ?
ต้องอาบัติทุกกฏ  เพราะสงสัยแล้วขืนทำลง  แม้ตามปกติน้ำชานั้นภิกษุฉันได้  ไม่เป็นอาบัติอะไรก็ตาม  ฯ
๓๕.  กิริยาอย่างไรชื่อว่าต้องด้วยไม่ละอาย  ?
ภิกษุรู้อยู่แล้วและละเมิดพระพุทธบัญญัติด้วยใจด้านไม่รู้จักละอาย  ดังนี้  ชื่อว่าต้องด้วยไม่ละอาย  ฯ
๓๖.  เนื้อหมู  ภิกษุสำคัญว่าเป็นเนื้อหมี  และเนื้อหมี  สำคัญว่าเป็นเนื้อหมู  ทั้งสองอย่างนี้  อย่างไหนต้องด้วยอาการอย่างไหน  ในอาการต้องอาบัติ  ๖  อย่างนั้น  ?
ภิกษุสำคัญอย่างนั้น  ถ้าไม่ฉันก็ไม่ต้องอาบัติอย่างไหนเลย  แต่ถ้าฉัน  ข้อต้นต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร  ข้อหลังต้องด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร  ฯ
๓๗.  อาบัติที่เป็นสจิตตกะ  กับ  อจิตตกะ  ได้แก่อาบัติเช่นไร  สิกขาบทว่า  “ภิกษุดื่มน้ำเมา  ต้องปาจิตตีย์”  จัดเข้าในชนิดไหน  ?
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานเป็นเจตนา  เรียก  สจิตตกะ  ที่เกิดโดยสมุฏฐานไม่มีเจตนา เรียก  อจิตตกะ,  จัดเข้าในอจิตตกะ  ฯ
๓๘.  จงกล่าวถึงโทษแห่งอาบัติ  มา  ๓  สถาน
โทษแห่งอาบัติ  ๓  สถาน  คือ  อย่างหนัก  ยังผู้ต้องให้ขาดจากความเป็นภิกษุ  ๑  อย่างกลาง  ยังผู้ต้องให้อยู่กรรม  คือประพฤติวัตรอย่างหนึ่งเพ่อทรมานตน  ๑  อย่างเบา  ยังผู้ต้องให้ประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน

๓๙.  จงกล่าวโทษแห่งอาบัติ  ๒  สถาน  มาดู  ?
โทษแห่งอาบัติ  ๒  สถาน  คือ  โทษแห่งอาบัติที่แก้ไขไม่ได้  เรียกว่า  อเตกิจฉา  ๑  โทษแห่งอาบัติที่แก้ไขได้  เรียกว่า  สเตกิจฉา  ๑
๔๐.  อะไรเรียกว่าอาบัติ  การต้องโทษทางพระวินัยต่างจากทางกฎหมายของบ้านเมืองอย่างไร  ?
โทษที่เกิดพระละเมิดข้อที่พระพุทธเจ้าห้ามเรียกว่า  อาบัติ  ภิกษุละเมิดพระวินัยข้อใดข้อหนึ่งย่อมต้องอาบัติทันที  แม้จะไม่มีใครรู้ใครเห็นก็ตาม  ส่วนทางกฎหมายบ้านเมืองนั้นแม้ทำผิดแล้ว  แต่ไม่มีใครรู้ใครเห็น  หรือไม่มีผู้โจทย์ฟ้องก็ไม่ต้องโทษ  ต่อเมื่อมีผู้โจทย์ฟ้องศาลและศาลพิพากษาชี้ขาดแล้วจึงจะต้องโทษตามนั้น  
๔๑.  คำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา เป็นธรรม  กับ  วินัย  และวินัยนั้นคืออะไร  ไฉนจึงต้องมีวินัย  ?
วินัยคือข้อที่ต้องนำออกได้แก่  กฎ  ข้อบังคับ  ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามและอนุญาต  ที่ภิกษุต้องปฏิบัติ  ถ้าไม่ปฏิบัติย่อมมีความผิดเป็นอาบัติ  เหตุที่ต้องมีวินัยนั้น  คือ
๑.  เพื่อความเรียบร้อย ทางด้านการปกครองของคณะสงฆ์
๒.  เพ่อความสงสุขของภิกษุทั้งหลาย
๓.  เพื่อให้เกิดความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
๔.  เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสแก่ผู้ที่ไม่เลื่อมใส  เพื่อเพิ่มความเลื่อมใสแก่ผู้ที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
๕.  เพื่อประโยชน์แก่การบำเพ็ญจิตตสิกขา  และปัญญาสิกขา  เป็นต้น
๔๒.  อาบัติว่าโดยชื่อมีอะไรบ้าง  ภิกษุต้องอาบัตินั้นๆ  แล้วจะพึงปฏิบัติอย่างไร  ?
อาบัติว่าโดยชื่อ  มี  ๗  อย่าง  คือ  ปาราชิก  ๑  สังฆาทิเสส  ๑  ถุลลัจจัย  ๑  ปาจิตตีย์  ๑  ปาฏิเทสนียะ  ๑  ทุกกฏ  ๑  ทุพภาสิต  ๑  อาบัติปาราชิก  ต้องเข้าแล้ว  ขาดจากความเป็นภิกษุ,  สังฆาทิเสส  ต้องเข้าแล้ว  ต้องอยู่กรรมจึงจะพ้นได้,  ถุลลัจจัย  ปาจิตตีย์  ปาฏิเทสนียะ  ทุกกฏ ทุพภาสิต  ต้องแสดงคือประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน  
๔๓.  พระศาสดาทรงตั้งอยู่ในที่เป็นสังฆบิดรผู้ดูแลภิกษุสงฆ์  ได้ทรงทำหน้าที่  ๒ ประการ  ต้องการทราบว่า  หน้าที่  ๒  ประการนั้น  คืออะไรบ้าง  ?
หน้าที่  ๒  ประการนั้น คือ  ทรงตั้งพระพุทธบัญญัติเพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย  และวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด  ด้วยปรับอาบัติหนักบ้างเบาบ้าง  อย่างเดียวกับพระเจ้าแผ่นดินตั้งพระราชบัญญัติ  อีกฝายหนึ่ง  ทรงตั้งขนบธรรมเนียมซึ่งเรียกว่า  อภิสมาจาร  เพื่อชักนำความประพฤติของภิกษุให้ดีงาม  ดุจบิดาผู้อยู่ในตระกูล  ฝึกปรือบุตรของตนในขนบธรรมเนียมของสกุล  ฉะนั้น ฯ
๔๔.  พระวินัยนั้น  ภิกษุรักษาดีโดยถูกทางแล้ว  ย่อมได้รับอานิสงส์  คืออะไร  เพราอะไร  ?
ย่อได้อานิสงส์ คือความไม่เดือดร้อนใจ  เพราะรึกว่าตนประพฤติดีงามไม่ต้องถูกจับกุมและลงโทษ  หรือถูกติเตียน  มีแต่จะได้รับการสรรเสริญ  จะเข้าหมู่ภิกษุผู้มีศีล  ก็องอาจ  ไม่ต้องสะทกสะท้าน  ฯ
๔๕.  ภิกษุละเมิดข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม  แต่ไม่ต้องอาบัติ  มีหรือไม่  ถ้ามีได้แก่ภิกษุเช่นไร  ?
มี  ได้แก่ภิกษุ  ๓  ประเภทนี้  คือ  ภิกษุเป็นบ้าคลั่งจนถึงไม่มีสติสัมปชัญญะ,  ภิกษุเพ้อถึงไม่รู้ตัว,  ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนากล้าถึงไม่มีสติ  ฯ


๔๖.  ภิกษุต้องอาบัติแล้ว  จะต้องปฏิบัติอย่างไร  ถ้าปิดบังทอดธุระเสียงเป็นหน้าที่ของใครจะพึงปฏิบัติอย่างไร  ?
ถ้าต้องอาบัติปาราชิกพึงสละสมณะเพศเสีย  ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสต้องอยู่กรรมซึ่งเรียกว่าวุฏฐานวิธี  ถ้าต้องอาบัตินอกนี้  ต้องแสดงต่อหน้าสงฆ์หรือคณะภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง  ที่เรียกว่า  เทสนาวิธี  ถ้าปกปิดทอดธุระเสีย  เป็นหน้าที่ของภิกษุอื่น  ผู้รู้เห็นจะพึงตักเตือนภิกษุนั้นเอง  ด้วยเมตตาในเธอหรือถ้าดื้อดึงแม้จะพึงโจทย์ท้วงห้ามการฟังพระปาติโมกข์ในท่ามกลางสงฆ์  ด้วยเห็นแก่พระศาสนา  และเป็นหน้าที่ของสงฆ์ต้องทำตามวินัย  ฯ
๔๗.  ภิกษุสอบนักธรรมชั้นตรียังไม่ได้  นึกจะพูดปดเพื่ออวดว่าตนสอบนักธรรมชั้นเอกได้แล้ว  อย่างนี้  จะต้องอาบัติอะไร  หรือไม่  เพราะเหตุไร  ?
ไม่ต้องอาบัติอะไร  เพราะอาบัตินั้นไม่เกิดทางใจอย่างเดียว  คือเป็นแต่ลำพังนึกจะทำเท่านั้น  ยังไม่ชื่อว่าเป็นอันล่วงสิกขาบทและชื่อว่ายังไม่เป็นอันพยายามเพื่อที่จะล่วงสิกขาบท ฯ
๔๘.  อะไรเรียกว่า  อาบัติ  อาบัตินั้นว่าโดยช่อมีเท่าไร  อะไรบ้าง  อาบัติไหนมีโทษเท่ากับประหารชีวิตในฝ่ายบ้านเมือง  ?
โทษที่เกิดเพราะละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม  เรียกว่า  อาบัติ  อาบัตินั้นว่าโดยชื่อ  มี  ๗  อย่าง  คือ  ปาราชิก  ๑  สังฆาทิเสส  ๑  ถุลลัจจัย  ๑  ปาจิตตีย์  ๑  ปาฏิเทสนียะ  ๑  ทุกกฏ  ๑  ทุพภาสิต  ๑,  อาบัติปาราชิก  มีโทษเท่ากับประหารชีวิตในฝ่ายบ้านเมือง  ฯ
๔๙.  อาบัติคืออะไร  อาบัติว่าโดยโทษมีกี่สถาน  อะไรบ้าง  ?
อาบัติ  คือ  กิริยาที่ล่วงละเมิดพระบัญญัติและมีโทษเหนือตน,  
ว่าโดยโทษ  มี  ๓  สถานก็มี  มี  ๒  สถานก็มี,  โทษ  ๓  สถานนั้น  คือ  
๑.  อย่างหนัก  ยังผู้ต้องให้ขาดจากความเป็นภิกษุ  
๒.  อย่างกลาง  ยังผู้ต้องให้อยู่กรรม  
๓.  อย่างเบา  ยังผู้ต้องให้ประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน ฯ  
  โทษ  ๒  สถานนั้น  คือ  
๑.  อาบัติที่แก้ไขไม่ได้  เรียก  อเตกิจฉา  
๒.  อาบัติที่แก้ไขได้  เรียก  สเตกิจฉา  คือตั้งแต่อาบัติสังฆาทิเสส  ถึงอาบัติทุพภาสิต  ฯ
๕๐.  ความมุ่งหมายที่แท้จริงของการศึกษาพระวินัยนั้น  คืออะไร  จงตอบให้มีหลัก  ?
ความมุ่งหมายที่แท้จริงของการศึกษาพระวินัยกล่าวโดยย่อ  คือ  ๑.  ให้มีความรู้ความเข้าใจในวินัยอย่างถูกต้อง  ๒.  ให้มีการประพฤติวินัยอย่างถูกต้อง  เมื่อการศึกษาพระวินัยบรรลุผลทั้ง  ๒  ประการนี้แล้ว  จัดว่าบรรลุความมุ่งหมายที่สมบูรณ์ของการศึกษาพระวินัย  เพราะถ้าขาดความรู้ความเข้าใจพระวินัยที่ถูกต้อง  ก็เป็นการยากที่จะให้ปฏิบัติตามให้ถูกต้องได้  หรือถ้ามีความรู้ความเข้าใจในพระวินัยถูกต้องแล้วอย่างเดียว  ไม่ปฏิบัติตามให้ถูกต้อง  ก็ไร้ผลในการปฏิบัติอยู่นั่นเอง  ฯ
๕๑.  สมุฏฐาน  คือทางเกิดอาบัติโดยตรงมีเท่าไร  คืออะไรบ้าง  อาบัติสังฆาทิเสส  สิกขาบทที่  ๒  ต้องด้วยสมุฏฐานอะไร  ฯ 
สมุฏฐานโดยตรงมี  ๔  คือ  ลำพังกาย  ๑  ลำพังวาจา ๑  กายกับจิต  ๑  วาจากับจิต  ๑ ฯ  
  อาบัติสังฆาทิเสสสิกขาบทที่  ๒  ต้องด้วยสมุฏฐานข้อที่  ๓  คือ  กายกับจิต ฯ

๕๒.  คำว่า  พระวินัย  สิกขาบท  อาบัติ  คืออะไร  พระบรมศาสดาทรงบัญญัติพระวินัยไว้เพื่อประโยชน์อะไร  ?
พระวินัย  คือขนบธรรมเนียม  หรือระเบียบแบบแผนข้อบังคับสำหรับพระภิกษุ
สิกขาบท คือ  พระบัญญัติมาตราหนึ่งๆ  ซึ่งทรงบัญญัติไว้ปรับโทษแก่ภิกษุหนักบ้าง  เบาบ้าง
อาบัติ  คือ  กิริยาที่ล่วงละเมิดพระบัญญัติและมีโทษเหนือตนอยู่
ทรงบัญญัติไว้เพื่อเป็นบรรทัดฐานปรับความประพฤติของเหล่าภิกษุ  ให้ดำเนินไปในแนวเดียวกัน  และเพื่อเป็นเครื่องปกครองกันในระหว่างคณะสงฆ์  ตามพระวินัยที่ทรงบัญญัติไว้เหมือนฝ่ายบ้านเมืองมีกฎหมายสำหรับปกครองประชาชนพลเมือง  ฉะนั้น ฯ
๕๓.  ภิกษุอุปสมบทใหม่เพียงวันเดียว  ยังไม่รู้ว่าทรงห้ามอะไรบ้าง หากเธอล่วงละเมิดพระบัญญัติ  เช่นนี้ต้องอาบัติหรือไม่  เพราะเหตุไร?
ต้องอาบัติตามวัตถุนั้นๆ  เพราะในการที่ภิกษุจะต้องอาบัติ  ๖  อย่าง  มีข้อหนึ่งว่า  ต้องด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอาบัติ  ซึ่งหมายความว่าแม้จะไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ  ถ้าเป็นข้อที่ทรงห้ามไว้  หากล่วงละเมิดพระบัญญัติไปก็เป็นอันต้องอาบัติทั้งนั้น  จะแก้ตัวว่าไม่รู้ไม่ได้  ธรรมดาภิกษุผู้ศึกษายังไม่รู้สิ่งใดควรจะรู้สิ่งนั้น  ควรไต่ถามไล่เลียงท่านผู้รู้  และสนใจพระบัญญัติจะได้ระมัดระวังไม่พลั้งเผลอ  จึงจะเป็นเหตุให้เจริญในพระศาสนาของตนยิ่งๆ  ขึ้นไป
๕๔.  คำว่า  ต้องอาบัติ  หมายความว่าอย่างไร  ?  อาบัติมีโทษกี่สถาน  ?  อะไรบ้าง  ?
หมายความว่า  ต้องโทษ  คือมีคามผิดฐานละเมิดข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม  ฯ  มีโทษ  ๓  สถาน คือ  อย่างหนัก  อย่างกลาง  และอย่างเบา  (หรือจะตอบว่า  มีโทษ  ๒  สถาน  คือ  แก้ไขได้  และ  แก้ไขไม่ได้  ก็ได้)
๕๕.  ในสิกขาบทหนึ่งมีเฉพาะมูลบัญญัติ  หรือทั้ง  ๒  อย่าง  เพราะเหตุไร
  บางสิกขาบท มีเฉพาะมูลบัญญัติ  บางสิกขาบทมีทั้งมูลบัญญัติและอนุบัญญัติ  บางสิกขาบทมีหลายอนุบัญญัติ เพราะเหตุที่ทรงบัญญัติไว้ไม้เหมาะสม  ถ้ายังหละหลวมก็ทรงบัญญัติเพิ่มเติมให้ตึงขึ้น ถ้าตึงเกินไปก็ลดหย่อนลงมา  ถ้าสิกขาบทไหนเหมาะสมพอดีอยู่แล้วก็ไม่ต้องบัญญัติเพิ่มเติมอีกฯ 
๕๖.  อาบัติเพ่งเจตนาเป็นที่ตั้งจัดเป็นกี่พวก ?
จัดเป็น  ๒  พวก  คือ  สจิตตกะ  และ  อจิตตกะ
๕๗.  อะไรเรียกว่าอาบัติ จงสงเคราะห์อาบัติทั้งหมดลงใน ๒ ประการมาดู ?
โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม    เรียกว่าอาบัติสงเคราะห์ลงใน ๒ ประการ คือสงเคราะห์เข้าในสเตกิจฉา พอมีทางแก้ไขได้ ไม่ถึงขาดจากความเป็นภิกษุ ๑, สงเคราะห์เข้าในพวกอเตกิจฉา ไม่มีทางแก้ไขได้ ขาดจากความเป็นภิกษุ ๑  ฯ
๕๘.  อาบัติว่าโดยชื่อมีกี่อย่าง อะไรบ้าง มาในพระปาฏิโมกข์ทั้งนั้นหรือ จงแสดงมาดู ?
อาบัตินั้นว่าโดยชื่อมี ๗ อย่าง คือ ปาราชิก ๑, สังฆาทิเสส ๑, ถุลลัจจัย ๑, ปาจิตตีย์ ๑, ปาฏิเทสนียะ ๑, ทุกกฏ ๑, ทุพภาษิต ๑  ฯ  ไม่ได้มาในพระปาฏิโมกข์ทั้งนั้น อาบัติถุลลัจจัย ทุกกฏบางอย่าง  และทุพภาษิต  ไม่ได้มาในพระปาฏิโมกข์  เพราะอาบัติเหล่านี้ไม่ได้ยกขึ้นสู่อุเทศที่แสดงทุกกึ่งเดือน  ฯ
๕๙.  การปรับอาบัติมี  ๒  คืออะไร  ? โดยตรงมี  ๔  คือ…..?  โดยอ้อมมี  ๓  คือ…?
คือ  การปรับอาบัติโดยตรงและโดยอ้อม
การปรับอาบัติโยตรงมี ๔  คือ   ปาราชิก ๑,สังฆาทิเสส ๑,  ปาจิตตีย์ (อันต่างโดย นิสสัคคียะ),  สุทธิกะ ๑,  ปาฎิเทสนียะ ๑ ฯ     โดยอ้อมมี  ๓  คือ  ถุลลัจจัย  ๑,  ทุกกฏ  ๑,  ทุพภาสิต ๑  ฯ