ฝ่ายนักธรรม-วินัย
                                                   กัณฑ์ที่  ๗
                                                  ปาจิตตีย์

๑. ๑.๑ ภิกษุนำเตียง ตั่ง ฟูก ของสงฆ์ไปในที่กลางแจ้ง แล้วหลีกไปจากที่นั้น ไม่เก็บหรือไม่มอบหมายให้ผู้อื่นเก็บให้เรียบร้อยต้องอาบัติอะไรหรือไม่  ?
๑.๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑.๒ ภิกษุเข้าไปในบ้านในเวลาวิกาลโดยไม่บอกลาภิกษุอื่นในวัดต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ?
๑.๒ ต้องอาบัติปาจิตตีย์  เว้นแต่มีกิจรีบด่วน
๒. ๒.๑ เภสัช ๕ มีอะไรบ้าง ? น้ำตาลจัดเข้าในเภสัชประเภทใด ?
๒.๑ เภสัช ๕ มี เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาลสงเคราะห์เข้าในน้ำอ้อย
๒.๒ ไตรจีวร ผ้าปูนั่ง ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าปูที่นอน อย่างไหนทรงอนุญาตให้อธิฐานและวิกัปป์ ?
๒.๒ ไตรจีวร ผ้าปูนั่ง  ผ้าปูที่นอน  ทรงอนุญาตให้อธิฐาน ไม่ทรงอนุญาตให้วิกัปป์ ส่วนผ้าอาบน้ำฝนทรง
อนุญาตให้อธิฐานตลอด ๔ เดือน แห่งฤดูฝน พ้นจากนั้นไปให้วิกัปป์
๓. ๓.๑ คำว่า วิกาล ในสิกขาบทที่ ๗ แห่งโภชนาวรรคที่ ๔ หมายถึงเวลาไหนถึงไหน  ?
๓.๑ คำว่า  วิกาล  ในสิกขาบทที่ ๗ หมายถึง ตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึงอรุณขึ้น
๓.๒ ลักษณะการประเคนมีเท่าไร บอกมาให้ครบ ?
๓.๒ ลักษณะการประเคน มี ๕ ประการคือ
๑.   ของที่พึงประเคนนั้นมาใหญ่โตหรือหนักเกินไป พอคนปานกลางยกได้คนเดียว
๒.   ผู้ประเคนเขาไปในหัตบาส
๓.   เขาน้อมกายเข้ามา
๔.   กิริยาที่น้อมกายเข้ามาให้ด้วยการที่ดี ด้วยของที่เนื่องด้วยการยกก็ได้
๕.   ภิกษุรับด้วยกายก็ได้รับด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้
๔. ๔.๑ บริขารมีอะไรบ้าง ภิกษุซ่อนบริขารของภิกษุอื่น เพื่อล่อเล่นเป็นอาบัติอะไร ?
๔.๑ บริขาร ๘ คือ ๑. สังฆาฏิ    ๒. อุตตราสงค์    ๓. อันตรวาสก    ๔. บาตร   
๕. มีดโกน    ๖. กล่องเข็ม ๗. ประคตเอว              ๘. ผ้ากรองน้ำ 
ภิกษุซ่อนบริขารภิกษุอื่นคือ บาตม จีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็ม ประคตเอว สิ่งใดสิ่งหนึ่งของภิกษุอื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตามสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งสุราปานสิกขาบท ถ้าซ่อนบริขารอื่นนอกจากนี้ต้องอาบัติทุกกฎ
ซ่อนบริขารของอนุสัมปันต้องอาบัติทุกกฎ
๔.๒ คำว่า “พินทุกัปปะ”  คืออะไร ?
๔.๒ พินทุกัปปะ คือการทำให้เสียสีวัตถุ  ทำให้สี คือ เขียว คราม โคลน ดำคล้ำ ทำให้เป็นจุวงกลม หรือดวงกลมใหญ่ เท่าแววหางนกยูง เล็กเท่าตัวเลือด
๕. ๕.๑ ในปาจิตตีย์ ๙ วรรค วรรคที่เท่าไรมี ๑๒ สิกขาบท ?
๕.๑ ในปาจิตตีย์ ๙ วรรค วรรคที่ ๘ มี ๑๒ สิกขาบท
๕.๒ ภิกษุยกผักตบชวาที่ลอยอยู่ในแม่น้ำมาไว้ในสระ ต้องอาบัติอะไร ?
๕.๒ ภิกษุยกผักตบชวาที่ลอยอยู่ในน้ำมาไว้ในสระต้องอาบัติปาจิตตีย์ ผักตบชวาจะตายหรือไม่ตายก็ตามก็ไม่ประมาณ
๖.๑ คำว่า ปวารณา  ในสิกขาบทที่ ๘ แห่งปัตตวรรค และสิกขาบทที่ ๗ อเจลกวรรค ต่างกันอย่างไร ?
๖.๑ คำว่า ปวารณา ในสิกขาบทที่ ๘ แห่งปัตตวรรค หมายถึง การที่ภิกษุย่อมให้ภิกษุด้วยกันตักเตือนได้
ส่วนในสิกขาบทที่ ๗ แห่งอเจลกวรรค  หมายถึง การที่คฤหัสถ์ยอมให้ภิกษุขอปัจจัยเป็นส่วนหนึ่งของผู้ปวารณาจะบำรุงภิกษุ
๖.๒ ภิกษุรู้ให้อุปสมบทกุลบุตรผู้มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี เป็นอาบัติอะไร ?
๖.๒ ภิกษุผู้เป็นอุปัฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ผู้ภิกษุอื่นต้องอาบัติทุกกฎ
๗. ๗.๑ ปาจิตตีย์ แบ่งออกเป็นกี่วรรค มีอะไรบ้าง
๗.๑ ปาจิตตีย์  แบ่งออกเป็น ๙ วรรค คือ
๑. มุสาวาทวรรค   ๒. ภูตคามวรรค   ๓. โอวาทวรรค   ๔. โภชนวรรค   ๕. อเจลกวรรค
๖. สุราปานวรรค    ๗. สัปปาณวรรค   ๘. สหธรรมมิกวรรค  ๙. รตนวรรค
๗.๒ คำว่า พูดปด ชาตปฐพี ภูตคาม ปรัมปรโภชน์ อเจลกะ มีความหมายอย่างไร ?
๗.๒ พูดให้เคลื่อนจากความเป็นจริงประสงค์ให้ผู้อื่นเข้าใจผิด เรียกว่าพูดปด
ดินล้วน ดินไม่มีอะไรปน หรือสิ่งอื่นปนเป็นส่วนน้อย เรียกว่า ชาตปฐพี
พืชพันธุ์ที่เกิดอยู่กับที่  เรียกว่า  ภูตคาม
    โภชนะที่หลัง ได้แก่ กิริยาที่ภิกษุรับนิมนต์ได้ในที่แห่งหนึ่ง แล้วกับไปฉันในที่อื่น ซึ่งเขานิมนต์ไว้ที่หลังเรียก ปรัมปรโภชน์  
นักบวชถือเพศเปลือยเป็นวัตร หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ชีเปลือย เรียกว่า อเจลกะ
๘.๑ ทรงบัญญัติปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๕  แห่งมุสาวาทวรรคเพื่ออะไร ?
๘.๑ ทรงบัญญัติปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๕ แห่งมุสาวาทวรรค ไว้เพื่อไม่ให้ชาวบ้านเห็นกิริยานอนของภิกษุ
อันแสดงท่าผิดจากอาการของสงฆ์อันเป็นเครื่องเจริญใจ
๘.๒ มาตุคามในสิกขาบทที่ ๖ แห่งมุสาวาทวรรค หมายถึงใคร ?
๘.๒ มาตุคามในสิกขาบทที่ ๖ แห่งมุสาวาทวรรค หมายถึงหญิงมนุษย์ที่เกิดในวันนั้น
๙. ๙.๑ จีวรอธิฐาน  คือผ้าเช่นไร ? 
๙.๑ จีวรอธิฐาน คือ จีวรที่ภิกษุอธิฐานกำหนดไว้ประจำตัว ๓ ผืน คือ สังฆาฏิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก
เรียกสั้น ๆ ว่า ไตรครอง
๙.๒ โภชนะอย่างไร ชื่อว่า โภชนะอันประณีต
๙.๒ โภชนะเหล่านี้ คือ โภชนะอันระคนด้วยเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าโภชนะอันประณีต
๑๐. ๑๐.๑ ภิกษุเดินทางไปกับโยมมารดา สิ้นระยะบ้านหนึ่งต้องอาบัติอะไร ?
๑๐.๑ ภิกษุเดินทางไปกับโยมมารดาสิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๐.๒ ภิกษุโกรธพระเพื่อนแล้วชกต่อยกัน ต้องอาบัติอะไร ?
๑๐.๒ ภิกษุโกรธพระเพื่อนแล้วชกต่อยกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๑. ๑๑.๑ คฤหัสถ์ลืมปากกาไว้ในวัด ภิกษุเห็นแล้วไม่เก็บไว้ต้องอาบัติอะไร ?
๑๑.๑ คฤหัสถ์ลืมปากกาไว้ในวัด ภิกษุเห็นแล้วไม่เก็บไว้ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๑.๒ ภิกษุไปเยี่ยมญาติในเวลากลางคืน ต้องอาบัติอะไร ?
๑๑.๒ ภิกษุไปเยี่ยมญาติในเวลากลางคืน ถ้าไม่ลาต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่มีกิจด่วน หรืออยู่รูปเดียว
๑๒. ๑๒.๑ ภิกษุจะนุ่งอดิเรกจีวร จะต้องทำอย่างไรก่อน ที่ต้องทำอย่างนั้นเพราะเหตุใด ?
๑๒.๑ ภิกษุจะนุ่งอดิเรกจีวร ต้องทำพินทุก่อน เพราะอดิเรกจีวรเป็นของใหม่ ทรงอนุญาตทำให้เสียสีก่อน
๑๒.๒ วิกัปป์ คืออะไร ภิกษุได้จีวรใหม่โดยไม่ต้องวิกัปป์ต้องโทษสถานใด ?
๑๒.๒ วิกัปป์ คือ การทำให้เป็นสองเจ้าของ ภิกษุได้จีวรใหม่โดยไม่วิกัปป์ ต้องปาจิตตีย์      เว้นไว้แต่จีวรอธิฐาน
๑๓. ๑๓.๑ ภิกษุซ่อน บาตร จีวร รองเท้า ร่ม ของภิกษุอื่นด้วยคิดจะล้อเล่นต้องอาบัติอะไร ?
๑๓.๑ภิกษุซ่อน บาตร จีวร ของภิกษุอื่นด้วยคิดจะล้อเล่นต้องอาบัติปาจิตตีย์  รองเท้า ร่ม ต้องอาบัติทุกกฎ
๑๓.๒ ภิกษุนอนที่มุงที่บังอันเดียวกับอนุสัมปัน ต้องอาบัติอะไร ?
๑๓.๒ ภิกษุนอนที่มุงที่บังอันเดียวกับอนุสัมปัน เกิน ๓ คืน ต้องปาจิตตีย์ ถ้านอนกับอนุสัมปันที่เป็นหญิง
แม้คืนแรก พอเหยียดกายลงนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๔. ๑๔.๑ ที่เรียกอาบัติปาจิตตีย์ บางสิกขาบทว่า เฉทนกปาจิตตีย์ หมายความว่าอย่างไร ?
๑๔.๑ ที่เรียกอาบัติปาจิตตีย์ บางสิกขาบทว่า เฉทนกปาจิตตีย์ หมายความว่าภิกษุทำผ้าปูนั่งเกินประมาณ
ทำผ้าปิดแผลเกินประมาณ ทำผ้าอาบน้ำฝนเกินประมาณ ทำจีวรเท่าจีวรของพระสุคตก็ดี ทำเกินกว่าก็ดีต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก อย่างนี้เรียกว่า เฉทนกปาจิตตีย์
๑๕. ๑๕.๑ บริขารสำคัญที่ภอกษุต้องมีใว้ประจำมีกี่อย่าง ?  เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง?
๑๕.๑ บริขารที่ภิกษุต้องมีไว้ประจำตัว มี ๘  อย่าง  เรียกว่า อัฏฐบริขาร  คือ
๑.   บาตร ๒.   สังฆาฏิ ๓.   อุตตราสงค์ ๔.   อันตรวาก
๕.   ประคตเอว ๖.   กล่องเข็ม ๗.   มีโกนพร้อมหินลับมีด    ๘.  ผ้ากรองน้ำ
๑๕.๒ น้ำผึ้งรับประเคนแล้ว  เก็บไว้ฉันได้กี่วัน หากล่วงกำหนดนั้นจะปฏิบัติอย่างไร  จึงชอบด้วยวินัย
๑๕.๒ น้ำผึ้งรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้ ๗  วัน  ล่วงกำหนดนำมฉันต้องนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ตามสิกขาบทที่  ๓  แห่งปัตตวรรค  ถ้ามีผู้นำมาถวายอย่ารับ เมื่อต้องการฉันพึงบอกแก่ไวยาวัจกรหรือศิษย์ให้นำน้ำผึ้งเท่าที่ต้องการมาประเคนป็นคราว ๆ ไป โดยวิธีอย่างนี้ จึงฉันน้ำผึ้งได้ไม่มีกำหนด
๑๖. ๑๖.๑ ภิกษุจำพรรษาปวารณาแล้วได้  ๒-๓ วัน  ไปค้างที่อื่นไม่ได้นำสังฆาฏิไปด้วย  อย่างนี้จะต้องอาบัติ  
เพราะปราศจากไตรจีวรหรือไม่  เพราะเหตุไร ?
๑๖.๑ ไม่ต้องอาบัติ  เพราะภิกษุผู้จำพรรษาครบไตรมาสแล้ว  พระศาสดาทรงอนุญาตให้อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ชั่วกำหนดกาล คือ  ตั้งแต่แรม ๑  ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน  ๑๒
๑๖.๒ ภิกษุโทษให้การประหาร (ตี)  ภิกษุอื่นต้องอาบัติอะไร ? ตรมสิกขาบทที่เท่าไร ?
๑๖.๒ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตามสิกขาบทที่ ๔  แห่งสหธรรมิกวรรค
๑๗ ๑๗.๑ การทำให้สงฆ์ขาดลาภอันพึงได้ ภิกษุผู้ทำต้องอาบัติกี่อย่าง ?
๑๗.๑ การให้สงฆ์ขาดลาภอัยพึงได้ ภิกษุผู้ทำต้องอาบัติได้ ๓ สถานคือ
๑.ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่ทายาเขาตั้งใจถวายสงฆ์ เพื่อตนต้องอาบัตินิสสคียปาจิตตีย์
๒.ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่ทายกเขาถวายสงฆ์ เพื่อบุคคลต้องอาบัติทุกกฎ
๓.ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่ทายกถวายสงฆ์ เพื่อเจดีย์ต้องอาบัติทุกกฎ
๑๗.๒ ภิกษุกล่าวหาภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล  ต้องอาบัติอะไร  ?
๑๗.๒ ภิกษุกล่าวหาภิกษุอื่นด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๘. ๑๘.๑ ติกปาจิตตีย์ หมายถึงสิกขาบทที่เท่าไร ? วรรคไหน ? ความว่าอย่างไร ?
๑๘.๑ ติกปาจิตตีย์ หมายถึงสิกขาบทที่ ๖ แห่งจีวรวรรค ความว่าภิกษุขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือน แม่เจ้าเรือนก็ดีผู้มิใช้ญาติขอนอกสมัย เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์ ถ้าเขาไม่ใช้ญาติ ภิกษุรู้อยู่ก็ตาม แคลงใจอยู่ก็ตามสำคัญว่าเป็นญาติก็ตามขอในสมัยเป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์ อย่างนี้เรียกว่า ติกปาจิตตีย์
๑๘.๒ ภิกษุย่อมอาบัติเพราะเหตุแห่งความซุกซน มีอย่างไรบ้าง?
๑๘.๒ อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะความซุกซน มีหลายสิกขา เช่น เล่นน้ำ เล่นจี้กัน หลอกภิกษุด้วยกันให้กล้ว
ซ่อนของเล่น พูดเย้าให้เกิดความรำคาญ


๑๙. ๑๙.๑ ลักษณะการห้ามอาหาร  ๕  อย่าง  คืออะไรบ้าง ?
๑๙.๑ ลักษณะ ๕  อย่าง คือการห้ามอาหาร ๕ อย่าง คือ 
๑. กำลังฉันอาหารอยู่ ๒.เขาเอาโภชนมาถวายอีก
๓. เขาอยู่ในหัตถบาส  ๔. เขาน้อมถวาย  ๕. ภิกษุห้ามเสีย
๑๙.๒ คำว่า  วิกาล ในสิกขาบทที่  ๗ แห่งโภชนวรรค ที่  ๔ หมายถึงเวลาไหน ถึงเวลาไหน  ?
๑๙.๒ คำว่า  วิกาล ในสิกขาบทที่  ๗ แห่งโภชนวรรค ที่  ๔ หมายถึง  เวลา  ตั้งแต่เที่ยงวันไปแล้วจนถึง
อรุณรุ่งของวันใหม่
๒๐. ๒๐.๑ ภิกษุฉันของเคี้ยวของฉันที่เป็นอาหารซึ่งรับประเคนไว้ค้างคืนเป็นอาบัติหรือไม่ ? ถ้าเป็นมีสิกขาบทไหนเป็นข้ออ้าง ?
๒๐.๑ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ตามสิกขาบทโดยมีสิกขาบทที่  ๘  แห่งโถชนวรรคที่ ๔ เป็นข้ออ้าง
๒๐.๒ อาบัติเช่นไรต้องในกาล ไม่ต้องในวิกาล เช่นไรต้องในวิกาล ไม่ต้องในวิกาลในกาล เช่นไรต้องในกาลทั้งในวิกาล  จงยกสิกขาบทประกอบ ?
  ๒๐.๒ อาบัติที่เนื่องด้วยกาล ย่อมต้องในกาลเช่น อาบัติปาจิตตีย์ ในสิกขาบทที่ ๕  แห่งโภชนวรรค อาบัติ
เนื่องด้วยวิกาล ย่อมต้องในวิกาล เช่นอาบัติปาจิตตีย์ ในสิกขาบทที่  ๗ แห่งโภชนวรรค  และสิกขาบทที่  ๓ แห่งรตนวรรค  อาบัติไม่เนื่องด้วยกาลและวิกาล เช่น ปาราชิก เป็นต้น ต้องทั้งในกลและทั้งในวิกาล
๒๑. ๒๑.๑ ภิกษุสงสัยว่าทำอย่างนั้น ๆ จะผิดพระบัญญัติหรือไม่ แต่ถ้าขืนทำลงไปด้วยความสะเพร่า เช่นนี้เธอจะต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ? เพราะเหตุไร ?
๒๑.๑ การกระทำนั้นเป็นผิดพระบัญญัติ ก็ต้องอาบัติตามวัตถุนั้น ๆ ถ้าไม่ผิดต้องอาบัติทุกกฎ เพราะสงสัยแล้วขืนทำลงไป
๒๑.๒ ลักษณะการประเคนมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
๒๑.๒ มี  ๕  ประการ  คือ 
๑. ของที่พึงจะประเคนไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไปพอคนปานกลางยกได้คนเดียว
๒. ผู้ประเคนต้องเข้ามาอยู่ในหัตถบาส 
๓. เขาน้อมเข้ามา 
๔. กิริยาที่น้อมเข้ามานั้น ด้วยกายก็ได้ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้ ด้วยโยนก็ได้ 
๕. ภิกษุรับด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้
๒๒. ๒๒.๑ ทายกสองคนช่วยกันยกจานอหารประเคนภิกษุ จะจักเป็นการประเคนที่ถูกต้องหรือไม่  เพราะเหตุไร
๒๒.๑ จัดว่าเป็นการประเคนที่ถูกต้องแล้ว เพราะจานอาหารนั้นไม่ใหญ่ ไม่ใช่ของใหญ่โต หรือหนักเกินไปยกคนเดียวได้เป็นแต่เพียงเขาช่วยกันประเคนเท่านั้น
๒๒.๒ ภิกษุฉันอาหารที่ไม่มีผู้ให้  ต้องอาบัติอะไร
๒๒.๒  อาบัติปาจิตตีย์


๒๓. ๒๓.๑ มีหรือไม่มีที่ภิกษุฉันได้โดยไม่ต้องประเคนก็ไม่เป็นอาบัติ
๒๓.๑ มี  ดังนี้คือ น้ำ ไม่ชำระฟัน มีพุทธานุญาตเฉพาะอาพาธ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น งูกัด กัปปิยการกไม่มี ถือเอายามมหาวิกัฎ ๔ อย่าง คือ มูตร คูถเถ้า ดิน ฉันได้ ไม่เป็นอาบัติ
๒๓.๒ ภิกษุนั่งในห้องกับผู้หญิง ไม่มีชายอยู่เป็นเพื่อน เป็นอาบัติอะไร ? ถ้าผู้หญิงอยู่ด้วยอย่างคนคุ้มโทษ
ได้หรือไม่
๒๓.๒ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯ คุ้มโทษไม่ได้
๒๔. ๒๔.๑ และถ้าภิกษุ ๒ รูป ด้วยกันชื่อว่ามีผู้ชายอยู่เป็นเพื่อนได้หรือไม่ ?เพาะอะไร ?
๒๔.๑ ชื่อว่ามีผู้ชายอยู่เป็นเพื่อนได้ ฯ เพราะทั้งสองรูปต่างคุ้มกันกันได้
๒๔.๒ ภิกษุนั่งจึงต้อง ไม่นั่งจึงไม่ต้อง ได้แก่อาบัติอะไร ?
๒๔.๒ อาบัติปาจิตตีย์ สิกขาบทที่  ๔  และ ๕ แห่งอเจลกวรรค ความ ๔. ภิกษุนั่งในห้องกับผู้หญิงไม่มีผู้
ชายอยู่เป็นเพื่อนต้องปาจิตตีย์  ๕. ภิกษุนั่งในที่แจ้งกับผู้หญิงสองต่อสอง ต้องปาจิตตีย์
๒๕. ๒๕.๑ นักบวชนอกศาสนาคือใคร ?   เพราะเหตุใด พระองค์จึงทรงห้ามไม่ให้ภิกษุให้ของเคี้ยวของฉันด้วยมือตน
๒๕.๑ คือ ๑. อเจลก คือ ชีเปลือย    ๒. ปริพาชก คือนักบวชผู้ชาย    ๓. ปริชาชิกา  คือ นักบวชผู้หญิง ฯ
เพื่อไม่ให้เขาหมิ่นได้ เพราะภิกษุให้ของเคี้ยวของกินด้วยมือของตน ชื่อว่าวางตัวเป็นอนุสัมปันแก่นักบวชเหล่านั้นฯ
๒๕.๒ สุราภิกษุคิดว่าเป็นน้ำชาแล้วดื่ม ต้องอาบัติอะไร ? หรือไม่ เพราะเหตุใด ?
๒๕.๒ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ ในสิขขาบทที่ ๑ แห่งสุราปานวรรค ที่ ๖ เพราะสิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะ แม้นไม่มีเจตนาก็เป็นอาบัติ
๒๖. ๒๖.๑ น้ำชา ภิกษุสงสัยว่าเป็นสุราแล้วขืนดื่ม เช่นนี้จะต้องอาบัติอะไร
๒๖.๑ ต้องอาบัติ เพราะสงสัยแล้วขืนทำลงไป แม้ตามปกติน้ำชานั้นภิกษุฉันได้ ไม่ต้องอาบัติก็ตาม
๒๖.๒ ภิกษุย่อมต้องอาบัติ เพราะเหตุที่ส่งถึงความซุกซนมีอย่างไร
๒๖.๒ อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะความซุกซนมีหลายสิกขา เช่น เล่นจี้กัน เล่นน้ำ หลอกภิกษุด้วยกันให้กลัวผี 
๒๗. ๒๗.๑ สิกขาบทที่ ๔ แห่งสุราปานวรรค ที่ว่า ภิกษุแสดงความไม่เอื้อเฟื้อพระธรรมวินัย อย่างทราบว่าไม่เอื้อเฟื้ออย่างไร
๒๗.๑ ไม่เอื้อเฟื้ออย่างนี้ คือ ภิกษุถูกอนุสัมปันว่ากล่าวด้วยบัญญัติหรือข้อพระวินัย แสดงว่าไม่เอื้อเฟื้อต่อ
บุคคล ผู้ตักเตือน หรือข้อพระวินัยที่ยกมากล่าวแล้ว ฯ
๒๗.๒ ภิกษุได้จีวรมาใหม่ เธอต้องปฏิบัติอย่างไร จึงชอบด้วยพระวินัย
๒๗.๒ หากเธอต้องการอธิฐานเป็นไตรจีวร ผืนใดผืนหนึ่งทำได้ แต่ถ้าเธอมีไตรจีวรครบแล้ว ประสงค์จะมีไว้ใช้ พึงปฏิบัติดังนี้
๑. เมื่อจะใช้สอยหรือนุ่งห่มจีวรนั้น ต้องพินทุก่อนตามสิกขาบทที่ ๘ แห่งสุราปานวรรค
๒. มีไว้ใช้ได้ ๑๕ วันเป็นอย่างยิ่ง ตามสิกขาบทที่ ๑ แห่งจีวรวรรค
๓. ต่อจากนั้น ต้องวิกัปป์ ฯ


๒๘. ๒๘.๑ บริขารสำคัญที่ภิกษุต้องมีไว้ประจำตัวมีกี่อย่าง ? เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ?
๒๘.๑ มี ๘ อย่าง ฯ เรียกว่า อัฐบริขาร คือ 
๑ บาตร ๒. สังฆาฏิ ๓. อุตตราสงค์ (จีวร)  ๔. อันตรวาสก
๕. ประคตอว ๖. กระบอกกรองน้ำ ๗. ด้าย – กล่องเข็ม ๘. มีดโกนพร้อมหินลับมีด
๒๘.๒ ภิกษุซ่อนบริขารเหล่านั้น ของภิกษุผู้อยู่ร่วมกัน ด้วยคิดล้อเล่น ต้องอาบัติอะไร
๒๘.๒ ถ้าซ่อนบาตร ไตรจีวร กล่องเข็ม ประคตเอว สิ่งใดสิ่งหนึ่งต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าซ่อนของอื่น   นอกจากนั้น เป็นอาบัติ ทุกกฎ ฯ
๒๙. ๒๙.๑ ภิกษุฆ่ามนุษย์ต้องปาราชิก ถ้าฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน เช่น ช้าง ปลา ยุง ต้องอาบัติอะไร ?
๒๙.๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในสิกขาบทที่ ๑ แห่งสัปปาณวรรคที่ ๗ ว่าภิกษุแกล้วฆ่าสัตวดิรัจฉานต้อง
ปาจิตตีย์
๒๙.๒การที่ภิกษุทำร่วมกัน แต่ให้ต้องอาบัติหนักเบาต่างกันเช่นนี้ มีในสิกขาบทใดบ้าง ว่าด้วยเรื่องอะไร ?
๒๙.๒ มีในสิกขาบทที่ ๕ แห่งสัปปาณวรรค อันว่าด้วยการให้อุปสมบท แกอุปสัมปทาเปกขะ ผู้มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี พระอุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุอื่นต้องอาบัติทุกกฎ
๓๐. ๓๐.๑ ภิกษุต้องอาบัติเพราะเดินมีหรือไม่ ถ้ามีต้องอาบัติอะไร ? ตามสิกขาบทไหน วรรคอะไร ?
๓๐.๑ มี ต้องอาบัตินิสสัคคัยปาจิตตีย์  เพราะเดินนำขนเจียมมาเกิน ๓ โยชน์ ตามสิกขาบทที่ ๖ แห่ง
โกสิยวรรค ต้องปาจิตตีย์ เพราะชวนพ่อค้าซ่อนภาษีเดินทางด้วยกัน ต้องอาบัติทุกกฎ เพราะเดินไปข้างหลังแสดงธรรม แก่คนไม่เป็นไข้เดินไปข้างหน้า และเดินไปข้างนอกทาง 
และแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง ตามสิกขาบทที่ ๑๕ - ๑๖ แห่งธัมมเทสนาปฏิสังยุต ฯ
๓๐.๒ คำว่าอาบัติไม่มีมูล นั้น จะกำหนด รู้ด้วยอาการอย่างไร ?  
๓๐.๒ กำหนดรู้ด้วยอาการ ๓ อย่างคือ ๑. ไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน ๓. ไม่ได้รังเกียจ  ฯ
๓๑. ๓๑.๑ ภิกษุโกรธเคือง โจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติไม่มีมูลต้องอาบัติอะไร ?
๓๑.๑ โจทด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ต้องสังฆาทิเสส โจทต้องอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูลต้อง ต้องปาจิตตีย์โจทด้วยอาจารวิบัติต่ำกว่าสังฆาทิเสส ควรปรับอาบัติปาจิตตีย์เพรามุสาวาท  ฯ
๓๑.๒ ภิกษุฆ่ามนุษย์ ถ้าสำเร็จต้องปาราชิก ถ้าไม่สำเร็จเพียงทำให้เจ็บต้องถุลลัจจัย ไม่ถึงอย่างนั้นต้อง
ทุกกฎ ภิกษุพยายามฆ่าตนเอง ต้องทุกกฎ ภิกษุพยายามฆ่าสัตว์อื่นต้องอาบัติ ตามวัตถุ
๓๑.๒ ภิกษุฆ่าสัตว์มนุษย์ต้องอาบัติอะไร ?
๓๒. ๓๒.๑ ภิกษุคบกับภิกษุผู้กล่าวคัดค้านธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้านั้นผิดอยู่แล้ว คำว่าคบนั้นมีลักษณะ
อย่างไร ?
๓๒.๑ คำว่า คบ มีอาการ ๓ อย่างคือ 
๑. ร่วมกิน คือรับอามิส เรียกอามิสสมโภค , เรียกธรรมสมโภค
๒. ร่วมอุโบสถ ปวารณาและสังฆกรรม เรียกว่า อยู่ร่วม 
๓. ร่วมนอน คือเหยียดกายร่วมกันในที่มีหลังคาเดียวกัน ฯ

๓๒.๒ เพราะเหตุใด พระบวชใหม่จึงได้รับสอนให้พินทุผ้าแต่แรก  ?
๓๒.๒  เพราะจะให้กำหนดผ้าของตนได้  โดยไม่ต้องให้หลงลืมเอาของผู้อื่นด้วยเข้าใจว่าเป็นของตน  ในเมื่อวางปนกัน  และเป็นสิ่งจำเป็นเพราะบวชแล้วก็ต้องใช้จีวรเป็นเครื่องนุ่งห่ม  เพราะฉะนั้นจึงได้รับสอนแต่แรก  ฯ
๓๓. ๓๓.๑ ภิกษุโกรธให้ประหาร (ตี) ภิกษุอื่นต้องอาบัติอะไร ? ตามสิกขาบทที่เท่าไร ? ในวรรคไหน ?
๓๓.๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตามสิกขาบทที่ ๔ แห่งสหธรรมมิกวรรค
๓๓.๒ สหเสยยาบัติ เพราะการนอนร่วมกับอนุสัมปันและมาตุคามทราบแล้ว ถ้านอนร่วมกับอุปสัมปัน 
(ภิกษุ) ด้วยกันจะต้องอาบัติอะไร ?
๓๓.๒ ถ้านอนร่วมกับภิกษุที่ถูกลงอุกเขปนียกรรม เพราะคัดค้านพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าตาม
สิกขาบทที่ ๘ แห่งสัปปาณวรรคปาจิตตีย์ กัณฑ์ ปรับปาจิตตีย์  แก่ภิกษุผู้อยู่ร่วมกัน ร่วมนอนกับภิกษุเช่นนั้นตามสิกขาบทที่ ๙ แห่งวรรคเดียวกัน
๓๔. ๓๔.๑ คำว่า โมหาโรปนกรรม  หมายถึงอะไร
๓๔.๑หมายถึง กิริยาสวดประกาศยกโทษว่าแสร้งทำหลง แก่ภิกษุผู้ไขสือ  (ภิกษุต้องอาบัติแล้วทำเป็นไม่รู้)
๓๔.๒ ภิกษุ ก. เห็นภิกษุ ข. ท่องปาติโมกข์อยู่ จึงเข้าผู้แนะนำว่า จะท่องไปเพื่อประโยชน์อะไร คุณจะบวชมิสึกหรือ ภาษาบาลีเป็นภาษาตาย สู้ท่องภาษาอังกฤษไม่ได้ มีทางใช้ประโยชน์กว้างขวาง ดังนี้ ภิกษุ   ก.  จะมีโทษอะไรหรือไม่ ขอฟังสิกขาบทที่ปรับโทษ
๓๔.๒ ภิกษุ ก. มีโทษต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตามสิกขาบทที่ ๒ แห่งสหธรรมิกวรรว่า “ภิกษุอื่นท่องปาติโมกข์อยู่ ภิกษุแกล้งพูดให้เธอลายอุตสาหะต้องปาจิตตีย์
๓๕.ภิกษุบางรูปตั้งใจสังวรในศีลของตนจริง ๆ แต่ยังถูกเพื่อพรหมจรรย์ผู้ลัชชีรังเกียจในเรื่องศีลวิบัติ ทั้งนี้เพราะเหตุใด ?
โดยมากเป็นเพราะไม่มีอาจาระ มรรยาท และเที่ยวในที่อโคจร ซึ่งเป็นเหตุล่อแหลม ทำให้ผู้อื่นรังเกียจได้<