ฝ่ายนักธรรม-วินัย
                                                  กัณฑ์ที่  ๖
                                            นิสสัคคียปาจิตตีย์

๑.  จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้  อติเรกจีวร  จีวรกาล  ?
อติเรกจีวร  หมายถึง  จีวรอันไม่ใช่ของอธิษฐานและไม่ใช่ของวิกัป  
จีวรกาล  หมายถึง  คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร  คือ  ถ้าจำพรรษาแล้วไม่ได้กรานกฐินนับแต่วันปวารณาไป  ๑ เดือน  ได้กรานกฐิน  เพิ่มออกไปอีก  ๔  เดือน  ในฤดูหนาวฯ 
๒.  ภิกษุขอจีวรต่อคฤหัสถ์ชาวต่างประเทศ  จะต้องอาบัติอะไรหรือไม่  จงชี้แจง  ?
ถ้าเขาไม่ใช่ญาติ  ไม่ใช่ปวารณา  ขอเขาต้องทุกกฏ  ได้มาตามข้อนั้นต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ตามสิกขาบทที่  ๖  แห่งจีวรวรรค  เว้นแต่สมัยที่จะขอจีวรได้  คือ  เวลาที่ภิกษุนั้นมีจีวรอันโจรลักไป  หรือมีจีวรอันฉิบหายเสีย  คือเสียหายใช้ไม่ได้  ฯ
๓.  ติกปาจิตตีย์  หมายถึงสิกขาบทที่เท่าไร  วรรคไหน  ความว่าอย่างไร ?
หมายถึงสิกขาบทที่  ๖ แห่งจีวรวรรค  ความว่าภิกษุขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือนก็ดี  ต่อแม่เจ้าเรือนก็ดี  ผู้มิใช่ญาติ  นอกจากสมัย  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ถ้าเขามิใช่ญาติ  ภิกษุรู้อยู่ก็ตาม  แคลงใจอยู่ก็ตาม  ขอในสมัย  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์  นี้เรียกว่าติกปาจิตตีย์  ฯ
๔.  สิ่งของอันเป็นเหตุให้ภิกษุต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์  โดยล่วงเวลานั้น  คืออะไรบ้าง  ?
      คือ ๑.  อยู่ปราศจากไตรจีวร  ๑  คืน
๒.  ทรงอติเรกจีวร  เกิน  ๑๐  วัน
๓.  ทรงอติเรกบาตร  เกิน  ๑๐  วัน
๔.  อกาลจีวรที่ได้อนุญาต เกิน  ๑  เดือน
๕.  อัจเจกจีวร  ล่วงกาล
๖.  จีวรอยู่ปราศจากเกิน  ๖  คืน  ในคราวได้รับอนุญาตพิเศษ
๗.  เภสัชล่วง  ๗  วัน  ฯ
๕.  อติเรกจีวร  ได้แก่  ..................................................................................
จีวรอันไม่ใช่ของอธิษฐาน

๖.  อติเรกจีวรได้แก่จีวรเช่นไร  ภิกษุเก็บไว้ได้กี่วัน  ถ้าเก็บไว้นานเกินกำหนดนั้นต้องอาบัติ  เมื่ออติเรกจีวรนั้นเกิดแก่ภิกษุ  ทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นอาบัติ  ?
ได้แก่จีวรอันไม่ใช่ของอธิษฐานและไม่ใช่ของวิกัป  ทรงอนุญาตให้เก็บไว้ได้  ๑๐  วันเป็นอย่างยิ่ง  ถ้าเก็บไว้เกินกำหนดนั้นไปต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ตามสิกขาบทที่  ๑  แห่งจีวรวรรค  ต้องอธิษฐานเป็นจีวรชนิดใดชนิดหนึ่ง  หรือวิกัปภายใน  ๑๐  วัน  ฯ
๗.  ผ้าเหล่านี้  คือ  ไตรจีวร  ผ้าอาบน้ำฝน  ผ้าปูนั่ง  ผ้าปูนอน  อย่างไหนทรงอนุญาตให้อธิษฐานหรือให้วิกัป?
ไตรจีวร  ผ้าปูนั่ง  และปูนอน  ทรงอนุญาตให้อธิษฐาน  ไม่ทรงอนุญาตให้วิกัป  
ผ้าอาบน้ำฝน  ทรงอนุญาตให้อธิษฐานตลอด  ๔  เดือนแห่งฤดูฝน  พ้นจากนั้นแล้วทรงอนุญาตให้วิกัป  
๘. ไตรจีวร  ได้แก่อะไรบ้าง ทรงอนุญาตให้มีได้อย่างละเท่าไร และจะต้องปฏิบัติอย่างไรในไตรจีวรนั้น?
อันตรวาสก  ผ้านุ่ง  ๑  อุตตราสงค์  ผ้าห่ม  ๑  สังฆาฏิ  ผ้าคลุม ๑  ทรงอนุญาตให้มีได้อย่างละ  ๑ ผืน  ต้องทำพินทุ  อธิษฐาน  และไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรนั้น  ฯ
๙.  ญาติมีความสำคัญทั้งในด้านธรรมทั้งในด้านพระวินัย  เฉพาะในพระวินัยมีสิกขาบทใดบ้าง ที่ให้ความสำคัญกับญาติ  ยกมาแสดงสัก  ๓  ข้อ  ?
สิกขาบทที่ให้ความสำคัญกับญาติมีมาก  เช่น  
สิกขาบทที่   ๔  จีวรวรรค  ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ความว่า  ภิกษุใช้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติให้ซักก็ดี  ให้ย้อมก็ดี  ให้ทุบก็ดี  ซึ่งจีวรเก่า  ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ถ้าเป็นญาติไม่ต้อง 
สิกขาบทที่  ๕  ในวรรคเดียวกัน  ความว่า  ภิกษุรับจีวรแต่มือนางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ  เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน  ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ถ้าเป็นญาติไม่ต้อง
สิกขาบทที่  ๖  แห่งวรรคเดียวกัน  ความว่า  ภิกษุขอจีวรต่อคฤหัสถ์ผู้มิใช่ญาติ  มิใช่ปวารณา  ได้มาต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์  เว้นไว้แต่สมัยที่จะขอจีวรได้  คือ  เวลาภิกษุมีจีวรอันโจรลักไป  หรือมีจีวรอันฉิบหายเสีย  ถ้าเป็นญาติไม่ต้อง  ฯ
๑๐.  พระบรมศาสดาทรงวางโทษปรับอาบัติแก่ภิกษุผู้มักขอไว้อย่างไรบ้าง  ในโอกาสเช่นไรที่ทรงอนุญาตให้ขอเขาได้  ?
ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์  แก่ภิกษุผู้ขอจีวรต่อคฤหัสถ์ผู้มิใช่ญาติ  มิใช่ปวารณา ได้จีวรมา  จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์  จำต้องเสียสละแล้วจึงแสดงอาบัติพ้นโทษได้
แต่ถ้าถูกโจรลักจีวรไป  หรือจีวรฉิบหายเสีย  ขอได้ตามสิกขาบทที่  ๖  แห่งจีวรวรรค  นิสสัคคิยปาจิตตีย์,  ในสมัยเช่นนั้น จะขอได้เพียงผ้าห่ม  กล่าวคือ  ถ้าผ้าห่มหาย  ๓  ผืน  ขอได้  ๒  ผืน  ถ้าหาย  ๒  ผืน  ขอได้เพียงผืนเดียว  ถ้าหายผืนเดียวท่านห้ามมิให้ขอ  ถ้าภิกษุขอเกินกำหนดนั้นมา  ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์  จำต้องสละผ้านั้นแล้วแสดงอาบัติจึงจะพ้นได้  
๑๑.  อธิษฐานจีวร  กับ  อติเรกจีวร  ต่างกันอย่างไร  จงชี้แจง  ?
อธิษฐานจีวร  หมายถึง  ผ้าที่ทรงอนุญาตให้ภิกษุมีได้เป็นอย่างๆ  และจำกัดจำนวน  ที่เรียกว่าจีวรอธิษฐาน  คือ  สังฆาฏิ  ๑  อันตรวาสก  ผ้านุ่ง  ๑  อุตตราสงค์  ผ้าห่ม  ๑  
ส่วนอติเรกจีวรนั้น  ได้แก่จีวรอันไม่ใช่ของอธิษฐาน  และไม่ใช่ของวิกัป  ทั้งไม่จำกัดจำนวน  ฯ 

๑๒.  ๑.  ภิกษุนุ่งห่มอติเรกจีวร  ต้องทำอย่างไรก่อน
๑.  ต้องพินทุก่อน
๒.  ที่ตอบเช่นนั้นเพระเหตุไร
๒.  เพราะผ้าอติเรกจีวรเป็นของใหม่  ทรงอนุญาตให้ทำเสียสีก่อน
๓.  วิกัปคืออะไร
๓.  คือการทำให้เป็นของ  ๒  เจ้าของ
๔.  ภิกษุใช้จีวรใหม่โดยไม่ได้วิกัปต้องโทษสถานใด
๔.  ต้องอาบัติปาจิตตีย์  เว้นไว้แต่จีวรอธิษฐานไม่ต้องวิกัป
๕.  ปัจจุทธรณ์  คืออะไร  ?
๕.  คือการถอนจีวรหรือบริขารอื่นๆ  ที่เป็นของอธิษฐาน
๑๓. ญาติและคนปวารณาคือใคร 
ญาติ  คือ  คนร่วมสายโลหิตทางมารดาบิดานับชั้นตน ๑ นับข้างล่าง๓ ข้างบน ๓ รวมเป็น  ๗ คน
ปวารณา คือ  คนที่ไม่ใช่ญาติแต่ได้ปวารณาไว้ หรืออนุญาตให้ขอได้)
๑๔. ภิกษุต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์  ทำอย่างไรจึงจะพ้น ?
ต้องสละสิ่งของอั้นเป็นเหตุต้องอาบัตินั้นก่อน 
๑๕.  ขอทราบนิสสัคคีย์โดยล่วงเวลาสัก ๓ อย่าง
อยู่ปารศจากไตรจีวร ๑ ราตรี, เก็บอติเรกาจีวรเกิน๑๐  วัน,
อติเรกบาตรเกิน  ๑๐  วัน, อกาลจีวรที่ได้อนุญาตเกิน 10 เดือน,
อัจเจกจีวรล่วงกาล, จีวรอยู่ปราศเกิน 6 คืน,
อนุญาตพิเศษเภสัชล่วง  ๗  วัน
๑๖.  คำว่านิสสัคคิยปาจิตตีย์  หมายความว่าอย่างไร?
ปาจิตตีย์ที่ต้องสละสิ่งของ
๑๗.  ปาจิตตีย์แบ่งเป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์ และสุทธิกปาจิตตีย์  เพราะเหตุไร?
เป็นนิสสัคิปาจิตตีย์  เพราะต้องสละสิ่งของจึงแสดงอาบัติตก,
เป็นสุทธิกปาจิตตีย์  เพราะแสดงอาบัติได้เลยไม่มีวัตถุใดๆที่จำต้องสละ
๑๘.  คำว่านิสสัคคิยปาจิตตีย์  สุทธิกปาจิตตีย์  เฉทกปาจิตตีย์  เภทกปาจิตตีย์ หมายความว่าอย่างไร?
สุทธิกปาจิตตีย์  หมายถึง  แสดงอาบัติได้เลยไม่มีวัตถุใดๆที่จำต้องสละ
เฉทกปาจิตตีย์  หมายถึง  ต้องตัดวัตถุจึงแสดงอาบัติตก,
เภทกปาจิตตย์ หมายถึง  ต้องต่อยหรือทำลายวัตถุให้แตกก่อนจึงแสดงอาบัติตก
๑๙.  อติเรกจีวร  ได้แก่จีวรเช่นไร?  
ผ้าที่เกินมาจากไตรจีวร  ได้แก่ สังฆาฏิ  อุตตราสงค์  และ อันตรวาสก  
๒๐.  การที่ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุเก็บอดิเรกจีวร ด้วยมีพระพุทธประสงค์อย่างไร?
ป้องกันความสุรุ่ยสุร่ายและความมักมากของภิกษุ

๒๑.  จีวรที่เป็นนิสสัคคีย์แล้ว ควรสละให้แก่ใคร ?  
สละแก่สงฆ์ก็ได้ แก่คณะก็ได้ แก่บุคคลก็ได้ ฯ 
๒๒.  ถ้าจีวรนั้นสูญหาย พึงปฏิบัติเช่นไร ?
ถ้าจีวรสูญหาย พึงแสดงอาบัติเท่านั้น
๒๓.  นิสสัคคิยปาจิตตีย์  หมายความว่าอย่างไร  ?  
นิสสัคคิยปาจิตตีย์  หมายความว่า  อาบัติปาจิตตีย์ที่จำต้องสละสิ่งของฯ  
๒๔.  ภิกษุต้องอาบัตินี้แล้ว  ทำอย่างไรจึงจะพ้นได้  ?
ภิกษุต้องอาบัตินี้แล้วต้องสละสิ่งของอันเป็นเหตุให้อาบัตินั้นก่อน  แล้วจึงแสดงอาบัติจึงพ้นจากอาบัตินั้นได้  
๒๕.  อติเรกจีวรนี้  หมายเอาจีวรชนิดไหน  มีอายุ  ควรเก็บไว้ได้นานเท่าไร  ?
หมายเอา  จีวรที่นอกเหนือจากไตรจีวรไป  จีวร(ผ้า)  ชนิดนี้มีขนาดกว้าง  ๓   นิ้ว  ยาว  ๘  นิ้ว  ควรเย็บทำจีวรได้    และมีสีที่ควรสำรอกแล้วทำจีวรได้เมื่อจะเก็บไว้ไม่ต้องอธิษฐาน  แต่ต้องวิกัป  คือทำเป็นของสองเจ้าของภายใน  ๑๐  คืน  ถ้าปล่อยให้ล่วง  ๑๐  คืน  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ฯ
๒๖.  ภิกษุจำพรรษาปวารณาแล้วได้  ๒-๓  วันไปค้างคืนที่อื่นโดยไม่นำสังฆาฏิไปด้วยอย่างนี้  จะต้องอาบัติเพราะอยู่ปราศจากไตรจีวรหรือไม่เพราะเหตุไร  ?
ไม่ต้องอาบัติ  เพราะภิกษุผู้จำพรรษาครบไตรมาสแล้ว  พระศาสดาทรงอนุญาตให้อยู่ปราศจากไตรจีวร  ได้ชั่วกำหนดกาล  คือ  ตั้งแต่แรม  ๑  ค่ำ  เดือน  ๑๑  ถึงกลางเดือน  ๑๒  ฯ
๒๗.  คำว่าจีวรเก่าหมายถึงจีวรเช่นไร  ?
หมายถึง  จีวรที่ใช้แล้ว  นุ่งแล้วก็ดี  ห่มแล้วก็ดี  แม้คราวเดียว  ( ก็ชื่อว่าจีวรเก่า )  ฯ
๒๘.  ภิกษุขอจีวรต่อคฤหัสถ์ชาวต่างประเทศจะต้องอาบัติอะไร หรือไม่  ?  จงชี้แจง  ?
ถ้าเขาไม่ใช่ญาติไม่ช่ปวารณา  ขอเขาต้องทุกกฏ  ได้มาตามขอนั้ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ตามสิกขาบทที่  ๖  แห่งจีวรวรรคเว้นแต่สมัยที่จะขอจีวรได้ คือ เวลาที่ภิกษุนั้นมีจีวรอันโจรลักไป หรือมีจีวรอันฉิบหายเสีย คือ เสียหายใช้ไม่ได้ ฯ
๒๙.  บุคคลเช่นไร  ชื่อว่า  เป็น  ญาติ  ของภิกษุ  ?  
ญาติ  หมายถึงคนที่เนื่องถึงกัน  ทางมารดาก็ดี  ทางบิดาก็ดี  ตลอด  ๗  ชั่วบุรพชน  คือ นับชั้นตนเป็น  ๑  ข้างบน  ๓  ข้างล่าง  ๓  รวมเป็น  ๗  ฯ  
๓๐.  เขยสะใภ้จัดเป็นญาติหรือไม่  ?
เขยและสะใภ้ท่านไม่นับว่าเป็นญาติ  ฯ
๓๑. บุคคลเช่นไร  ชื่อว่าปวารณา ?
บุคคลปวารณา  หมายถึง  คนที่ได้สั่งภิกษุไว้ให้บอกให้ขอ  ในคราวที่ต้องการ  ฯ
๓๒.  พระบรมศาสดา  ทรงวางโทษ  แก่ภิกษุผู้มักขอไว้อย่างไรบ้าง  ?
ปรับอาบัติปาจิตตีย์  และต้องสละสิ่งของที่ขอได้มานั้นไป  (นิสสัคคิยปาจิตตีย์)  เช่น  สิกขาบทที่  ๖  และ  ๗  แห่งจีวรวรรค,  สิกขาบทที่  ๒  และสิกขาบทที่  ๖  แห่งปัตตวรรค  ฯ

๓๓. ในโอกาสเช่นไร  ทรงอนุญาตให้ขอเขาได้  ?
ขอได้ คือ  ๑.  ภิกษุขอจีวรต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ  ไม่ใช่ปวารณาในสมัยที่มีจีวรถูกโจรลักไป  หรือมีจีวรฉิบหายเสีย  ตามสิกขาบทที่  ๖  และ  ๗  แห่งจีวรวรรค  ,  ๒.  ภิกษุมีบาตรร้าว  เกิน  ๑๐  นิ้ว  ขอบาตรใหม่ต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณาได้  หรือมีบาตรร้าวยังไม่เกิน  ๑๐  นิ้ว  ขอบาตรใหม่ต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ญาติหรือปวารณาได้  ฯ
๓๔. เมื่อภิกษุมีจีวร หายหรือถูกโจรลักทรงอนุญาตให้ขอเขาไว้อย่างไร  ?
ในสมัยเช่นนั้นจะขอได้เพียงผ้าห่ม  กล่าวคือ  ถ้าผ้าหาย   ๓  ผืนขอได้เพียง  ๒  ผืน  ถ้าหาย  ๒  ผืน  ขอได้เพียงผืนเดียว  ถ้าหายผืนเดียวห้ามมิให้ขอ  ถ้าภิกษุขอเกินกำหนดนั้นได้มา  ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์   จำต้องสละผ้านั้นแล้วแสดงอาบัติจึงจะพ้นโทษได้  ฯ
๓๕. จงบอกความหมายของคำต่อไปนี้  ๑. วิกัป  ,  ๒.  ปัจจุทธรณ์,  ๓.  พินทุ  ?
๑.  วิกัป  คือ  การทำให้เป็นของ  ๒  เจ้าของ  ,  
๒.  ปัจจุทธรณ์  คือ  การถอนจีวรหรือบริขารอื่น ๆ  ที่เป็นของอธิษฐาน  ,  
๓.  พินทุ  คือการทำให้เสียสีก่อนใช้สอย  ฯ
๓๖.  เมื่อภิกษุมีจีวรหายหรือถูกโจรลักทรงอนุญาตให้ขอเขาไว้อย่างไร ?
ในสมัยเช่นนั้นจะขอได้เพียงผ้าห่ม  กล่าวคือ  ถ้าผ้าหาย  ๓   ผืนขอได้เพียง  ๒  ผืน ถ้าหาย  ๒  ผืนขอได้เพียงผืนเดียว    ถ้าหายผืนเดียวห้ามมิให้ขอ   ถ้าภิกษุขอเกินกำหนดนั้นได้มา   ปรับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์  จำต้องสละผ้านั้นแล้วแสดงอาบัติจึงจะพ้นโทษได้ ฯ 
๓๗.  ไตรจีวร  ได้แก่อะไรบ้าง
ไตรจีวร  ได้แก่ ๑. อันตรวาสก ผ้านุ่ง  ๒. อุตราสงค์  ผ้าห่ม  ๓. สังฆาฎิ  ผ้าคลุม
๓๘.  ไตรจีวร  ทำด้วยอะไรบ้าง  ที่ภิกษุใช้ได้
จีวรที่ภิกษุใช้ได้มี ๖  ชนิด คือ
๑.  โขมํ  ทำด้วยเปลือกไม้ ๒.  กปฺปาสิกํ   ทำด้วยฝ้าย
๓.  โกเสยฺยํ  ทำด้วยไหม ๔.  กมฺพลํ   ทำด้วยขนสัตว์
๕.  สาณํ  ทำด้วยเปลือกไม้สาณะ ๖.  ภงฺคํ  ทำด้วยสัมภาระเจือกัน
๓๙.  ผ้าไตรครองคือผ้าชนิดใด
ผ้าไตรครอง  คือ สังฆาฎิ ผ้าคลุม , อุตตราสงค์ ผ้าห่ม (จีวร) , อันตรวาสก ผ้านุ่ง  ที่ภิกษุอธิฐานไว้  สำหรับตนเองซึ่งต่างจากผ้าอติเรก  เรียกว่า  ผ้าครอง
๔๐.  ภิกษุต้องการจีวร  จะบอกคฤหัสถ์ได้หรือไม่  ?
ถ้าขอจากคฤหัสถ์ ผู้เป็นญาติ  หรือปวารณา ควร   ถ้าไม่ใช้ญาติ  ไม่ใช้ปวารณา  ไม่ควร
ในคราวจีวรถูกลัก ถูกชิง หรืออันตรธานหายไปด้วยอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง  ขอเขาได้ควรแต่ต้องรู้จักประมาณในการขอ คือ จีวรหาย หรืออันตรธานไป ๓ ผืน ขอได้ ๒ ผืน  อันตรธาน ๒ ผืน ขอได้ ๑ ผืน  ถ้าอันตรธานผืนเดียวขอเขาไม่ได้


๔๑.  ภิกษุซื้อจีวรใช้เอง ต้องอาบัติอะไร
ต้องนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ เพราะซื้อด้วยรูปิยะ  (ต้องอาบัติปาจิตตีย์วัตถุเป็นนิสสัคคีย์  สละก่อนจึงแสดงอาบัติคืน)
๔๒.  สิ่งของอันใดเป็นเหตุให้ภิกษุต้องอาบัตินิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ โดยล่วงเวลาคืออะไรบ้าง
คือ ๑.   ไตรจีวรปราศจาก  ๑  คืน
๒.  อติเรกจีวรล่วง  ๑๐  วัน
๓.   อติเรกบาตรล่วง  ๑๐ วัน
๔.   อติเรกจีวรที่ได้อนุญาตเกิน  ๑  เดือน
๕.   อติเรกจีวร  ล่วงกาลจีวร
๖.   จีวรอยู่ปราศจาก ๖ คืนในคาวได้รับอนุญาตพิเศษ
๖.   เภสัชล่วง  ๗ วัน
๔๓.  ภิกษุได้จีวรใหม่มา  เธอต้องปฏิบัติอย่างไร  จึงชอบด้วยพระวินัย ตอบให้มีหลัก
หากเธอต้องการจะอธิฐานเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งก็ทำได้  แต่ถ้าเธอมีไตรจีวรครบแล้ว ประสงค์จะมีไว้ใช้พึงปฏิบัติดังนี้  
๑. เมื่อจะใช้สอยหรือนุ่งห่มจีวรนั้นต้องพินทุก่อน ตามสิกขาบทที่ ๘ แห่งสุราปานวรรค
๒.  มีวิธีใช้ได้ ๑๑ วันเป็นอย่างยิ่ง ตามสิกขาบทที่ ๑ แห่งจีวรวรรค   ๓. ต่อจากนั้นต้องวิกัป
๔๔.  คำว่าจีวรเก่าหมายถึงจีวรเช่นไร
หมายถึง  จีวรที่ใช้แล้ว นุ่งแล้วก็ดี ห่มแล้วก็ดี แม้นคราวเดียว (ก็ชื่อว่าจีวรเก่า)
๔๕.  บริขารสำคัญที่ภิกษุต้องมีไว้ประจำมีกี่อย่าง ?  เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง?                                                         บริขารที่ภิกษุต้องมีไว้ประจำตัว มี ๘  อย่าง  เรียกว่า อัฏฐบริขาร  คือ
๑.   บาตร ๒.   สังฆาฏิ
๓.   อุตตราสงค์ ๔.   อันตรวาก
๕.   ประคตเอว ๖.   กล่องเข็ม
๗.   มีโกนพร้อมหินลับมีด    ๘.  ผ้ากรองน้ำ
๔๖.  ภิกษุจำพรรษาปวารณาแล้วได้  ๒-๓ วัน  ไปค้างที่อื่นไม่ได้นำสังฆาฏิไปด้วย  อย่างนี้จะต้องอาบัติ  เพราะปราศจากไตรจีวรหรือไม่  เพราะเหตุไร ?
ไม่ต้องอาบัติ  เพราะภิกษุผู้จำพรรษาครบไตรมาสแล้ว  พระศาสดาทรงอนุญาตให้อยู่ปราศจากไตรจีวร
๔๗.  ผ้าไตรครองคือผ้าชนิดใด
ผ้าไตรครอง  คือ สังฆาฎิ ผ้าคลุม , อุตตราสงค์ ผ้าห่ม (จีวร) , อันตรวาสก ผ้านุ่ง  ที่ภิกษุอธิฐานไว้  สำหรับตนเองซึ่งต่างจากผาอติเรก  เรียกว่าผ้าครอง
๔๘.  ผ้าขนาดกว้างเท่าไร เรียกจีวร
ผ้ามีขนาดกว้าง ๔ นิ้ว ยาว ๘ นิ้ว เรียกจีวร

๔๙.  ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรนั้นต้องอาบัติอะไรในกาลและในที่เช่นไร  ทรงอนุญาตให้ภิกษุอยูปราศจากไตรจีวรได้  ?
คือ อันตรวาสก ผ้านุ่ง ๑  อุตตราสงค์ ผ้าห่ม ๑ สังฆาฎิ ผ้าคลุม ๑  ต้องนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์  สิกขาบทที่ ๒  แห่งจีวรวรรค ในกาล คือ ภิกษุจำพรรษาครบไตรมาสแล้ว หรือได้กรานกฐินแล้ว ทรงอนุญาตให้สมมติจีวรอวิปปวาสลงในสมานสังวาสสีมาสำหรับเป็นที่อยู่ไม่ปราศจากไตรจีวร คืออยู่ในเขตนั้น แม้นมีไตรจีวรอยูกับตัวไม่ครบ ชื่อว่าไม่เป็นอันอยู่ปราศจากไตรจีวร
๕๐.  อติเรกจีวรนี้  หมายเอาจีวรชนิดไหน  มีอายุ  ควรเก็บไว้ได้นานเท่าไร  ?
หมายเอา  จีวรที่นอกเหนือจากไตรจีวรไป  จีวร(ผ้า)  ชนิดนี้มีขนาดกว้าง  ๓   นิ้ว  ยาว  ๘  นิ้ว  ควรเย็บทำจีวรได้    และมีสีที่ควรสำรอกแล้วทำจีวรได้เมื่อจะเก็บไว้ไม่ต้องอธิษฐาน  แต่ต้องวิกัป  คือทำเป็นของสองเจ้าของภายใน  ๑๐  คืน  ถ้าปล่อยให้ล่วง  ๑๐  คืน  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ฯ
๕๑.  กาลที่ภิกษุจะอยู่โดยปราศจากจีวรได้คือกาลใดบ้าง  ?
กาลที่ได้รับสมมติ  ได้แก่  
๑.  กาลที่ภิกษุอาพาธหนัก, 
๒.  กาลที่ภิกษุมีจีวรหายไป  หรือถูกโจรลักไป,   
๓.  ภิกษุผู้จำพรรษาครบ  ๓  เดือน  อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ตั้งแต่  วันแรม  ๑  ค่ำ  เดือน  ๑๑  ถึงวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๑๒  ,  
๔.  ภิกษุได้กรานกฐิน  อยู่ปราศจากไตร จีวร  ได้ตั้งแต่  วันแรม ๑ ค่ำ  เดือน ๑๒ ถึงกลางเดือน ๔  ฯ
๕๒. บุคคลเช่นไร  ชื่อว่าปวารณา ?
บุคคลปวารณา  หมายถึง  คนที่ได้สั่งภิกษุไว้ให้บอกให้ขอ  ในคราวที่ต้องการ  ฯ
๕๓.  คำว่า  ปวารณา  ในสิกขาบทที่  ๘  แห่งปัตตวรรคอย่างไร  ?
หมายถึงการที่ภิกษุยอมให้ภิกษุด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนได้  ฯ
๕๔. คำว่า  ปวารณา ในสิกขาบทที่  ๗  แห่งอเจลกวรรค  อย่างไร  ?
หมายเอา  การที่คฤหัสถ์ยอมให้ภิกษุขอปัจจัย  เป็นวิธีหนึ่งของผู้ปวารณาจะบำรุงภิกษุฯ

นิสสัคคิยปาจิตตีย์  :  โกสิยวรรค
๕๕.  ภิกษุต้องอาบัติเพราะอิริยาบถนอน  เพราะนั่ง  เพราะยืน  ก็มี  ต้องการทราบว่าต้องอาบัติเพราะเดินมีหรือไม่  ถ้ามีต้องอาบัติอะไร  ตามสิกขาบทไหน  วรรคอะไร ?
มี,  ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์  เพราะเดินนำขนเจียมมาเองเกิน  ๓  โยชน์  ตามสิกขาบทที่  ๖  แห่งโกสิยวรรค  
ต้องปาจิตตีย์  เพราะชวนพ่อค้าผู้ซ่อนภาษีเดินทางด้วยกัน  ตามสิกขาบทที่  ๖  แห่งสัปปาณวรรค  
เพราะชวนผู้หญิงเดินทางด้วยกัน  ตามสิกขาบทที่  ๗  แห่งสัปปาณวรรค,  
ต้องทุกกฏ  เพราะเดินไปข้างหลังแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า  และเดนไปนอกทางแสดงธรรมแก่คนผู้ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง  ตามข้อที่  ๑๕ – ๑๖  แห่งธัมมเทสนาปฏิสังยุต  ฯ      

๕๖. พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทใด  เพื่อป้องกันความไม่ประหยัดและข้อที่ยกมานั้นมีใจความ ว่าอย่างไร ?
เพื่อป้องกันความไม่ประหยัด  ไม่รักษาของใช้ ต้องอาบัติ สิกขาบทที่ ๔ แห่งโกสิยวรรค ความว่าภิกษุหล่อสันถัตใช้ไม่ถึง ๖ปี หล่อใหม่ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
๕๗.  ภิกษุได้ผ้าเช็ดหน้าสีแดงมา ตนเองไม่ชอบสีแดงจึงแลกเปลี่ยน  ผ้าสีเขียว  กับโยม  ๘  ต้องอาบัติหรือไม่  
 มีสิกขาบทไหนเป็นข้ออ้าง  ?
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์  โดยมี  สิกขาบทที่  ๑๐  แห่งโกสิยวรรค  เป็นข้ออ้างว่า  ภิกษุแลกเปลี่ยนสิ่งของกับคฤหัสถ์  ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ฯ
๕๘.  ลักษณะการแลกเปลี่ยนในพระวินัยนั้นมีลักษณะอย่างไร  ?
ได้แก่การแลกเอาหรือรับเอาของอันเป็นกัปปิยะ  ด้วยของอันเป็นกัปปิยะ   เหมือนกัน  เช่นการที่ทำกันในระหว่าง  คนขายของเครื่องใช้กับชาวนาผู้ซื้อด้วยข้าวเปลือก  ฯ
๕๙.  จตุกกนิสสัคคิยปาจิตตีย์  หมายถึงอะไร ?
จตุกกนิสสัคคิยปาจิตตีย์  หมายถึง  อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ที่ภิกษุต้องเพราะทำ สันถัตผิดวินัยด้วยอาการ  ๔  อย่าง คือ 
๑.  ทำเองตั้งแต่ต้นจนสำเร็จ ๒.  ใช้ให้ผู้อื่นทำตั้งแต่ต้นจนสำเร็จ
๓.  ตนทำค้างไว้ใช้ให้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ๔.  ใช้ให้ผู้อื่นทำค้างไว้  ตนทำต่อจนสำเร็จ
๖๐.  สิกขาบทที่  ๙  แห่งโกสิยวรรคนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ว่า  ภิกษุทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ  คือ ของที่เขาใช้เป็นทองและเงินต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์  คำว่า  การซื้อขาย  คำว่า  รูปิยะ  หมายถึงอะไร?
การซื้อขาย  หมายถึง  การเอารูปิยะ  จ่ายซี้อกัปปิยะบริขารต่างชนิดจ่ายเป็นค่าแรงงาน ทำการต่างอย่างบ้าง  และจ่ายเป็นค่าอื่นดีบ้าง  
รูปิยะ  หมายถึง  ทางเงินหรือของอื่น  อันใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยน ฯ

นิสสัคคิยปาจิตตีย์  :  ปัตตวรรค
๖๑.  สิกขาบทที่  ๕  แห่งปัตตวรรค  ทรงบัญญัติไว้ว่า  ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุอื่นแล้วโกรธเคืองชิงเอาคืนมาเองก็ดี  ให้ผู้อื่นชิงก็ดี  ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ดังนี้  ในกรณีเช่นนี้น่าจะถือเอาราคาจีวรเป็นหลักในการปรับอาบัติ  แต่ท่านปรับเพียงอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์เท่านั้น  เพราะเหตุไร  ?
การที่ปรับเพียงอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์  เพราะทำด้วยสกสัญญา  คือ  สำคัญว่าเป็นของตนอยู่  จึงไม่ปรับเป็นอาบัติปาราชิกสิกขาบท  นิทานต้นบัญญัติแห่งสิกขาบทกล่าวว่า ภิกษุให้จีวรแก่กัน  ก็เพื่อจะให้ช่วยทำกิจอย่างหนึ่ง  ฝ่ายภิกษุผู้รับกลับไม่ยอมทำกิจให้เช่นนั้น  ภิกษุควรได้รับประโยชน์จากการให้บ้าง  แต่การชิงเอาคืนมาไม่เป็นความดีความงามเลย  ฯ
๖๒.  อัจเจกจีวร  มีความหมายว่าอย่าไร  จงอธิบายพอได้ความ  ?
อัจจเจกจีวร  ได้แก่จีวรรีบร้อน  คือผ้าจำนำพรรษาที่ทายกทายิการีบถวายก่อนออกพรรษาตั้งแต่  ๑  วัน  ถึง  ๑๐  วัน  

๖๓.  ทายกนำจีวรมาถวายสงฆ์  ภิกษุบอกให้เขาถวายตน  ๑  ผืน  ให้ถวายภิกษุอื่น  ๑  ผืน  อย่างนี้ภิกษุนั้นจะอาบัติหรือไม่  ?
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ตามสิกขาบทที่  ๑๐  แห่งปัตตวรรค  และต้องอาบัติปาจิตตีย์  ตามสิกขาบทที่  ๑๒  แห่งสหธรรมิกวรรค  ฯ
๖๔.  ภิกษุรับผ้าจำนำพรรษาที่ทายกถวาย  พึงเก็บไว้ได้นานเท่าไร  ถ้าเก็บไว้เกินกำหนดนั้น  ต้องอาบัติอะไร ?
พึงเก็บไว้ได้ตลอดกาลจีวรนั้น  คือ  ถ้าจำพรรษาแล้วไม่ได้กรานกฐิน  นับแต่วันปวารณาไปเดือนหนึ่ง  คือตั้งแต่แรม  ๑  ค่ำ  เดือน  ๑๑  ถึงกลางเดือน  ๑๒  ถ้าได้กรานกฐินนับแต่วันปวารณาไปอีก  ๕  เดือน  คือ  ตั้งแต่แรม  ๑ ค่ำ  เดือน  ๑๑  ถึงกลางเดือน ๔  ถ้าเก็บไว้เกินกำหนดนั้น  ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์  ฯ
๖๕.  น้ำผึ้งภิกษุรับประเคนแล้ว  เก็บไว้ฉันได้กี่วัน  หากล่วงกำหนดนั้นปฏิบัติอย่างไร  จึงจะชอบด้วยพระวินัย ?
๗  วัน  ล่วงกำหนดนำมาฉัน  ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ตามสิกขาบทที่  ๓  แห่งปัตตวรรค  ถ้ามีผู้นำน้ำผึ้งมาถวายอย่ารับประเคน  เมื่อต้องการฉัน  พึงบอกไวยาวัจกรหรือศิษย์ให้นำน้ำผึ้งนั้นเท่าที่ต้องการมาประเคนเป็นคราวๆ  ไป  โดยวิธีอย่างนี้  จึงฉันน้ำผึ้งนั้นได้ไม่มีกำหนด  ฯ
๖๖.  เภสัช  ๕  อย่าง  คืออะไร  ?  
คือ  เนยใส  เนยข้น  น้ำมัน  น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย
๖๗.  เภสัช  ๕  อย่างนั้น  มีกำหนดให้ภิกษุเก็บไว้ฉัน  ได้กี่วัน  ?
มีกำหนดให้ภิกษุเก็บไว้ฉันเองได้  ๗  วัน
๖๘.  ถ้าเก็บไว้เกินกว่านั้น  จะมีโทษสถานใด  ?
ต้องอาบัติปาจิตตีย์  วัตถุเป็นนิสสัคคีย์  ต้องสละวัตถุนั้นเสียก่อน  จึงแสดงคืนอาบัติได้
๖๙. ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุอื่นแล้วชิงเอาคืนมา  มีความผิดสถานใด  ?
ต้องปาจิตตีย์  วัตถุเป็นนิสสัคคีย์
๗๐.  ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาจะถว