นิทรรศกาลภาษาไทย ๒

หูกระจง (แผ่บารมี)

หูกระจง : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  หูกระจง(แผ่บารมี)มีถิ่นกำเนิดในป่าแอฟริกาตะวันตก เป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกเพื่อใช้

เนื้อไม้ ในแถบถิ่นกำเนิดเป็นไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว มีอายุยืน เป็นไม้ที่มีทรงพุ่มสวยงาม

 แตกกิ่งเป็นชั้นๆ และที่ตั้งชื่อว่า หูกระจงเพราะลักษณะใบคล้ายกับหูกวาง แต่ใบหูของ

กระจงจะมีขนาดเล็กกว่า ดอกมีสีขาวคล้ายดอกกระถินณรงค์ เมล็ดหูกระจงจะคล้ายกับ

เมล็ดพุทรา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด เนื่องจากเจริญเติบโตได้เร็ว และได้ทรงพุ่มที่

สวยงาม

ประโยชน์และสรรพคุณ

 การใช้ประโยชน์ ต้นหูกระจงเป็นไม้ที่มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม จึงนิยมนำมาปลูกเพื่อตกแต่ง

สวน หรือใช้ประดับริมถนน ตลอดจนเกาะกลางถนนเนื่องจากเป็นไม้ที่ให้ร่มเงา ทำให้

บริเวณบ้านมีความร่มรื่น ช่วยบังแดดได้ดี นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องการเสริมบารมีให้

คนในบ้านมีแต่ความสุขความเจริญยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

หูกระจง

                             โครง ๔สุภาพ

                                       หูกระจงชื่อไม้       รากยาว(จริงนา)

                                  ทรงพุ่มงามดูราว         หลั่นชั้น

                                  น้ำชุ่มรดทุกคราว         สูงใหญ่(ดีแล)

                                  ปลูกห่างตัวเรือนนั้น      มั่นไว้คงทน

                               ประพันธ์โดย

                                สามเณรปารมี   เพียรเสมอ

                                  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔