นิทรรศกาลภาษาไทย ๒

ผักในสวนเกษตร

ผักบุ้ง : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ผักบุ้ง เป็นพืชที่พบทั่วไปในเขตร้อน และเป็นผักที่คนท้องถิ่น เช่น ไทย เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และกานา นิยมรับประทานเป็นอาหาร ผักบุ้งที่คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารมี 3 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทย ผักบุ้งนาและผักบุ้งจีน โดยผักบุ้งไทยมักปลูกในน้ำเพราะเจริญเติบโตได้ดีกว่าบนบก[1] ส่วนผักบุ้งจีนจะปลูกในดินเพราะต้องการธาตุอาหารจากในดินมากกว่า

บวบ : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

บวบเหลี่ยม เป็นพืชปีเดียว ไม่มีเนื้อไม้ ลำต้นเลื้อยพัน มีลักษณะเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม มือพันมีขนแตกแขนงเป็น 3 แฉก ใบมี 5-7 เหลี่ยม มีรอยเว้าตื้น แผ่นใบกว้างและยาว 10-25 เซนติเมตร มีขนสาก สีเขียวสด ช่อดอกเพศผู้ยาว 15-35 เซนติเมตร ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวเจริญออกจากซอกใบเดียวกันกับช่อดอกเพศผู้ ดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ดอกบานเวลาเย็น มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 3 อัน ผลรูปกระบองมีเหลี่ยม 10 เหลี่ยม ยาว 15-50 เซนติเมตร กว้าง 5-10 เซนติเมตร จุกที่ปลายผลเกิดจากวงกลีบเลี้ยงและก้านเกสรเพศเมีย เมล็ดสีดำ รูปทรงรี ยาว 1-1.3 เซนติเมตร กว้าง 0.7-0.9 เซนติเมตรกะเพรา : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้พุ่มเตี้ยความสูงประมาณ 1-3 ฟุต ต้นค่อนข้างแข็ง แตกกิ่งก้านสาขามาก ก้านเป็นขน ก้านใบยาว รูปใบเรียว โคนใบรูดในลักษณะเรียวปลายมนรอบขอบใบเป็นหยัก พื้นใบด้านหน้าสีเขียว หรือแดงแก่กว่าด้านหลัง ซึ่งมีกระดูกใบนูนเห็นได้ชัด ดอกออกเป็นช่อตั้งขึ้นคล้ายฉัตร ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาว เมล็ดอยู่ภายในกลีบ กลีบเลี้ยงสีม่วง ผลแห้งแล้วแตกออก เมื่อเมล็ดแก่สีดำ เมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือก

 

ข้าวโพด : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ข้าวโพดเป็นพืชจำพวกบาสซ่า รากชั่วคราว เรียกว่า ไพรี หลังจากข้าวโพดเจริญเติบโตได้ประมาณ 7 – 10 วัน รากถาวรจะงอกขึ้นรอบ ๆ ข้อปลาในระดับใต้พื้นดินประมาณ 1-2 นิ้ว รากถาวรนี้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะแผ่ออกไปโดยรอบประมาณ 100 เซนติเมตร รากของข้าวโพดเป็นระบบรากฝอย (fibrous root system) นอกจากรากที่อยู่ใต้ดินแล้ว ยังมีรากยึดเหนี่ยว (brace root) ซึ่งเกิดขึ้นรอบ ๆ ข้อที่อยู่ใกล้ผิวดิน มีลำต้นตั้งตรงแข็งแรง เนื้อภายในฟ่ามคล้ายฟองน้ำสูงประมาณ 1.4 เมตร ลำต้นมีข้อ (node) และปล้อง (internode) ปล้องที่อยู่ในดินและใกล้ผิวดินสั้น และจะค่อย ๆ ยาวขึ้นไปทางด้านปลาย ปล้องเหนือพื้นดินจะมีจำนวนประมาณ 8-20 ปล้อง ลำต้นสดมีสีเขียว ใบ ยาวรี เป็นเส้นตรงปลายแหลม ยาวประมาณ 30-100 ซม. เส้นกลางของใบจะเห็นได้ชัด ตรงขอบใบมีขนอ่อนๆ มีเขี้ยวใบ ลักษณะของใบรวมทั้งสีของใบแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ บางพันธุ์ใบสีเขียว บางพันธุ์ใบสีม่วงและบางพันธุ์ใบลาย จำนวนใบก็เช่นเดียวกันอาจมีตั้งแต่ 8-48 ใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้อยู่ส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกตัวเมียอยู่ต่ำลงมาอยู่ระหว่างกาบของใบ และลำต้น ช่อดอกตัวผู้ (tassel) อยู่ตอนบนสุดของลำต้น ดอกตัวผู้ดอกหนึ่งจะมีอับเกสร (anther) 3 อับ ส่วนดอกตัวเมียอยู่รวมกันเป็นช่อ เกิดขึ้นตอนข้อกลาง ๆ ลำต้น ฝักเกิดจากดอกตัวเมียที่เจริญเติบโตแล้ว ฝักอ่อนจะมีสีเขียว พอแก่เป็นสีนวล

มะเขือ : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นมะเขือเปราะมีลักษณะเป็นไม้พุ่มสูง 2-4 ฟุต มีอายุอยู่ได้หลายฤดูกาล มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย ใบมีขนาดใหญ่ เรียงตัวแบบสลับ ดอกมีขนาดใหญ่ สีม่วงหรือสีขาว เป็นดอกเดี่ยวผลมีรูปร่างกลมแบนหรือรูปไข่ อาจมีสีขาว เขียว เหลือง ม่วง ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ผลเมื่อแก่มีสีเหลือง เนื้อในผลสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น

 

 

                                                ผัก  (สวนครัว)

                                                                       กาพย์ยานี ๑๑                  

               ทอดยอดหรือผักบุ้ง               ช่วยบำรุงทางสายตา

         มาทานกันเถิดหนา                          ทั้งเป็นยาให้กับคน

              ข้าวโพดที่ปลูกไว้                     แก้คลื่นไส้ให้แก่ตน

        บริโภคเมล็ดผล                            ประโยชน์ล้นเห็นคุณนาน

           ถั่วฝักยาวกรอบมัน                    ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน

       ทั้งให้พลังงาน                              เจริญอาหารไร้โรคภัย

          พริกให้สารอาหาร                    อีกระบบการหายใจ

    บรรเทาอาการไอ                          ช่วยให้สุขภาพดี

       บวบนั้นแก้ภูมิแพ้                        ล้างสิ่งแย่ให้หายหนี

     รักษาโรคที่มี                                ชีวีปราศจากภัย

     มะเขือประโยชน์มาก                  ส่วนของรากลดการไอ

 ใช้แก้หอบหืดได้                            แก้ร้อนในใช้ใบนั้น

     กะเพราแก้โรคบิด                      ทั้งมีฤทธิ์ย่อยไขมัน

 กิ่งใบต้มและกลั่น                           ได้น้ำมันหอมชื่นใจ

   พืชผักมีคุณค่า                             เรานำมาประยุกต์ใช้

 สามเณรฉันได้                               มีร่างกายที่แข็งแรง

                                                                             ประพันธ์โดย

                                                                   สามเณรปารมี  เพียรเสมอ