QR พฤกษาพรรณ ตอนที่ ๑

                                                            ต้นสัก

ชื่อสามัญ  Teak

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Tectona grandis L.f.

ถิ่นกำเนิด  ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตกมีอยู่

บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                                               ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น : เป็นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ

ใบ : เป็นใบเดี่ยวใหญ่มาก ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ปลายใบแหลมโคนมน ยาว ๒๕ - ๓๐

เซนติเมตร กว้างเกือบเท่ายาว ใบของต้นอ่อนจะใหญ่กว่า นี้มาก ผิวใบขนสากคายสีเขียว

เข้ม ขยี้ใบสดจะมีสีแดงเหมือนเลือด มีการสลัดใบทิ้งเมื่อถึงฤดูหนาว

ดอก : มีขนาดเล็ก สีขาวนวลออกเป็นช่อตาม ปลายกิ่ง ออกดอกและเป็นผลเดือน

มิถุนายน - ตุลาคม

ผล : เป็นผลแห้งค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ เซนติเมตร เปลือกแข็ง ภายใน

มี
๑ - ๓ เมล็ด

                                                            คุณสมบัติ/สรรพคุณ

           ใบนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด (ใบ)เนื้อไม้และใบมีรส

เผ็ดเล็กน้อย 
สรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต (เนื้อไม้,ใบ) ใบมีรสเผ็ดเล็กน้อย มีสรรพคุณเป็น

ยาแก้พิษโลหิต (ใบ) ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (เนื้อไม้) เปลือกไม้มีสรรพคุณแก้อาการปวด

ศีรษะ (เปลือกไม้) เมล็ดใช้เป็นยารักษาโรคตา (เมล็ด) ใบใช้ทำเป็นยาอมแก้เจ็บคอ (ใบ)

ช่วยแก้ไข้ คุมธาตุในร่างกาย (เนื้อไม้) เนื้อไม้ใช้รับประทานเป็นยาขับลมได้ดีมาก 


           ส่วนใบ ก็มีสรรพคุณเป็นยาขับลมเช่นกัน (เนื้อไม้
,ใบ) เนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาขับ

พยาธิ (เนื้อไม้) เนื้อไม้ ใบ และดอกมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (เนื้อไม้
,ใบ,
ดอก) ใบใช้

เป็นยาแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ (ใบ) ช่วยรักษาประจำเดือนไม่ปกติ (ใบ) ช่วยรักษาโรค

ผิวหนัง (เนื้อไม้) เปลือกมีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมาน (เปลือก)


           เปลือกไม้    มีสรรพคุช่วยบรรเทาอาการบวม (เปลือกไม้) ส่วนเนื้อไม้มีสรรพคุณ

เป็นยาแก้บวม(เนื้อไม้) ช่วยแก้ลมในกระดูก (เนื้อไม้)