QR พฤกษาพรรณ ตอนที่ ๑

                                                            ต้นมะขาม

ชื่อสามัญ Tamarind, Indian date

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn

ถิ่นกำเนิด อยู่ในทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน ต่อมามีการนำเข้ามาในประเทศแถบเขต

ร้อนของเอเชียและประเทศแถบลาตินอเมริกา และในปัจจุบันมีมากในเม็กซิโกชื่อมะขามใน

ภาคต่าง ๆ เรียก มะขามไทย ภาคกลาง ขาม ภาคใต้

ประเภท  ไม้ยืนต้น             

ลักษณะเฉพาะ

          มะขามเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม

เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่

ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย
๑๐–๑๕คู่ แต่ละใบ

ย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง
๒–๕ มม. ยาว ๑–๒ ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว ๒–๑๖ ซม. ดอก

ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลาง

ดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว
๓-๒๐ ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สี

น้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล

เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และ/หรือหวาน ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ จะมี/หุ้ม

เมล็ด
๓–๑๒ เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมัน และมีสีน้ำตาล

          ใบของมะขามเป็นใบประกอบแบบขนนก (pinnately compound leaves) ใบย่อย

แต่ละใบแยกออกจากก้าน
ข้างของแกนกลาง คล้ายขนนก ถ้าปลายสุดของใบจะเป็นใบ

ย่อยเพียงใบเดียวเรียก แบบขนนกคี่ (
odd pinnate) เช่น กุหลาบ อัญชัน ก้ามปู ถ้าสุด

ปลายใบมี
ใบ เรียกแบบขนนกคู่ (even pinnate) เช่น มะขาม

         การปลูกมะขาม นิยมขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง ติดตาหรือต่อกิ่ง เพราะได้ผลเร็ว

และลดการกลายพันธุ์ ทำได้โดยเตรียมดินโดยขุดหลุมกว้าง ยาวและลึกด้านละ
๖๐ ซม. ใส่

ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าดินรองก้นหลุมเอากิ่งพันธุ์ลงปลูก รดน้ำให้ชุ่ม มะขามเมื่อลง

ดินแล้วจะโตเร็ว ควรใช้ไม้หลักพยุงไว้ให้แน่น และการบำรุงรักษาหลังเริ่มปลูก ควรเอาใจใส่

ดายหญ้ารอบต้น และรดน้ำทุกวัน ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดแม้แต่ดินเลว เช่นดินลูกรัง เจริญ

ได้ดีในดินร่วนปนดินเหนียว ทนแล้งได้ดี ฤดูปลูกที่เหมาะสม คือต้นฤดูฝน ควรหาเศษหญ้า

ฟางคลุมโคนจนกว่าต้นจะแข็งแรง ควรฉีดยาป้องกันโรคราแป้งและแมลงพวกหนอนเจาะฝัก

ด้วงเจาะเมล็ด ในระยะที่เป็นดอกอยู่

        คุณสมบัติ   : ยาระบาย แก้อาการท้องผูก ใช้มะขามเปียกรสเปรี้ยว ๑๐ – ๒๐ ฝัก

(หนัก๗๐–๑๕๐ กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ หรือต้มน้ำใส่เกลือเล็กน้อย

ดื่มเป็นน้ำมะขาม ขับพยาธิไส้เดือน นำเอาเมล็ดแก่มาคั่ว แล้วกะเทาะเปลือกออก เอาเนื้อ

ในเมล็ดไปแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ ๒๐-๓๐ เม็ด ขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือ

มะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทานพอสมควร