QR พฤกษาพรรณ ตอนที่ ๑

                                                       ต้นสัตบรรณ

ชื่อสามัญ  Dita, Shaitan wood, Devil Tree

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ (Alstonia scholaris (L) R.Br.)

ชื่อวงศ์ Apocynaceae

                                         ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์

              เปลือกหนาแต่เปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาลกรีดดูจะมียางสีขาว

ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้น ๆ เปลือกชั้นในสีน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว ใบ

เป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ ๕-๗ ใบ

               ก้านใบสั้น แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปหอกแกมรูปขอบขนาน หรือรูป

มนแกมรูปบรรทัด ปลายใบเป็นติ่งเล็กน้อย ใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีสีขาวนวล ถ้า

เด็ดก้านใบจะมียางสีขาว ลักษณะใบยาวรีปลายใบมนโคนใบแหลม ขนาดใบยาวประมาณ

๑๐ - ๑๒ เซนติเมตร ออกดอกสีเขียวอ่อนเป็นช่อตามปลายกิ่ง ปากท่อของกลีบดอกมีขน

ยาวปุกปุย ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง สูดดมเพียงเล็กน้อยจะรู้สึกกลิ่นหอม หากสูดดมมากจะรู้สึก

วิงเวียนศีรษะ

              ช่วงค่ำจะส่งกลิ่นแรงกว่าเวลาอื่นๆ ดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็มช่อหนึ่งจะมี

กลุ่มดอกประมาณ ๗ กลุ่ม ดอกมีสีขาวอมเหลือง ปกติจะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึง

เดือนธันวาคมผลเป็นฝักยาว ฝักคู่หรือเดี่ยว ลักษณะเป็นเส้นๆ กลมเรียวยาวประมาณ ๒๐ -

๓๐ เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตก มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ในฝักมีเมล็ดเล็กๆ ติด

อยู่กับขุยนั้น

                                                   คุณสมบัติ

          เปลือกต้นพญาสัตบรรณ รักษาโรคบิด ลำไส้ติดเชื้อ และมาลาเรีย ใบใช้ในการ

รักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง

          ในประเทศอินเดียมีการนำส่วนต่างๆ ของต้น พญาสัตบรรณมาใช้เป็นพืชสมุนไพร

เช่นใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคมาลาเรียในชื่อ
Ayush-64

          ยางสีขาว และใบ รักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ นอกจากนี้ ต้นพญา

สัตบรรณยังเป็นแหล่งของสารอัลคาลอยด์ที่สำคัญ
พญาสัตบรรณเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลี

โลพาที สารสกัดจากใบสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้

          สารสกัดจากเปลือกลำต้น  สามารถยับยั้งการเจริญของข้าว ข้าวโพด คะน้า ถั่ว

เขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวมันได้