QR พฤกษาพรรณ ตอนที่ ๒

                                                           ต้นตะไคร้

ชื่อทางวิทยาศาสตร์                   Cymbopogon citratus

ชื่อท้องถิ่น: จะไคร (ภาคเหนือ), หัวซิงไค (ภาคอีสาน), ไคร (ภาคใต้), คาหอม

(แม่ฮ่องสอน)
, เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ถิ่นกำเนิด ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย ในทวีป

อเมริกาใต้ และคองโก

ประเภท  เป็น พืชล้มลุก ความสูงประมาณ ๔-๖ ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้น

รวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก

                                                   คุณสมบัติ/สรรพคุณ  

             
ตะไคร้ เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพร

ด้วยใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิด เช่น

ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยา เช่น บำรุงธาตุ แก้โรค

ทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง

ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน