QR พฤกษาพรรณ ตอนที่ ๒

                                                       ต้นมะกล่ำตาหนู

ชื่อสามัญ   American pea, Buddhist rosary bean, Crab’s eye, Crab’s eye vine, Indian bead, Jequirity bean, Seminole bead, Prayer beads, Precatory bean, Rosary Pea, lucky bean, Weather plant, Wild licorice

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Abrus precatorius

ชื่อวงศ์  FABACEAE

       มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Samanea saman Jacq Merr.

       ถิ่นกำเนิด อเมริกาเขตร้อนไปจนถึงบราซิล

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

        มะกล่ำตาหนูเป็นพรรณไม้เถา ลำต้นเล็ก มีขนสั้น ๆ ขึ้นประปราย ใบเป็นใบรวม มีใบ

ย่อยเ
รียงสลับกันคล้ายขนนก ยาวประมาณ ๓.๘-๑๐ซม. ใบย่อยเป็นรูปกลมถึงรี ปลายใบ

แหลม
มน โคนใบกลมมน ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง ใบมีขนาดยาว ๕-๒๐ ม.ม. กว้าง

ประมาณ ๓-๘ 
ม.ม.

        ใต้ท้องใบมีขนเล็กน้อย ดอกเป็นช่อตามบริเวณง่ามใบ ดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว

เรียง
ซ้อนกันตามเข็มนาฬิกา กลีบมีรอยหยัก ๔ รอย สีขาว ผิวข้างนอกมีขนนุ่มปกคลุม ผล

เป็น
ฝัก พองเป็นคลื่นเมล็ด ฝักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฝักอ่อนมีสีเขียว เนื้อเปลือกฝักจะ

เหนียว 

        เมื่อแก่จะแตกอ้าออกจากกัน ข้างในมีเมล็ด ๑-๕ เมล็ด เมล็ดเป็นรูปกลมรี สีแดง

บริเวณขั้วมี
จุดสีดำ ผิวเรียบเกลี้ยง เมล็ดเหนียวและแข็ง