QR พฤกษาพรรณ ตอนที่ ๒

                                                           ต้นข้าวโพด

ชื่ออื่นๆ ข้าวสาลี สาลี (เหนือ) คง (กระบี่) โพด (ใต้) บือเคเส่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Zea mays Linn

ถิ่นกำเนิด  ในทวีปอเมริกา อาจจะเป็นอเมริกากลางเช่นในประเทศเม็กซิโก หรืออาจจะเป็น

อเมริกาใต้

ประเภท  เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้ามีลำต้นสูง โดยเฉลี่ย ๒.๒ เมตร ขนาดเส้นผ่า

ศูนย์กลางของลำต้น ๐.๕-๒.๐ นิ้ว เมล็ดจากฝักใช้เป็นอาหารคนและสัตว์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

         ข้าวโพดเป็นพืชจำพวกบาสซ่า รากชั่วคราว เรียกว่า ไพรี หลังจากข้าวโพดเจริญ

เติบโตได้ประมาณ ๗
 – ๑๐ วัน รากถาวรจะงอกขึ้นรอบ ๆ ข้อปลาในระดับใต้พื้นดินประมาณ

๑ - ๒ นิ้ว รากถาวรนี้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะแผ่ออกไปโดยรอบประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร

รากของข้าวโพดเป็นระบบรากฝอย (
fibrous root system)

           นอกจากรากที่อยู่ใต้ดินแล้ว ยังมีรากยึดเหนี่ยว (
brace root) ซึ่งเกิดขึ้นรอบๆ ข้อ

ที่อยู่ใกล้ผิวดิน มีลำต้นตั้งตรงแข็งแรง เนื้อภายในฟ่ามคล้ายฟองน้ำสูงประมาณ ๑.๔ เมตร

            ลำต้น มีข้อ (
node) และปล้อง (internode) ปล้องที่อยู่ในดินและใกล้ผิวดินสั้น

และจะค่อย ๆ ยาวขึ้นไปทางด้านปลาย ปล้องเหนือพื้นดินจะมีจำนวนประมาณ ๘-๒๐ ปล้อง

ลำต้นสดมีสีเขียว ใบ ยาวรี เป็นเส้นตรงปลายแหลม ยาวประมาณ ๓๐-๑๐๐ ซม. เส้นกลาง

ของใบจะเห็นได้ชัด ตรงขอบใบมีขนอ่อนๆ มีเขี้ยวใบ

            ลักษณะของใบรวมทั้งสีของใบแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ บางพันธุ์ใบสี

เขียว บางพันธุ์ใบสีม่วงและบางพันธุ์ใบลาย จำนวนใบก็เช่นเดียวกันอาจมีตั้งแต่ ๘
-๔๘ ใบ

ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้อยู่ส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกตัว

เมียอยู่ต่ำลงมาอยู่ระหว่างกาบของใบและลำต้น

            ช่อดอกตัวผู้ (
tassel) อยู่ตอนบนสุดของลำต้น ดอกตัวผู้ดอกหนึ่งจะมีอับเกสร

(
anther) ๓ อับ ส่วนดอกตัวเมียอยู่รวมกันเป็นช่อ เกิดขึ้นตอนข้อกลางๆ ลำต้น ฝักเกิดจาก

ดอกตัวเมียที่เจริญเติบโตแล้ว ฝักอ่อนจะมีสีเขียว พอแก่เป็นสีนวล


คุณสมบัติ 
ข้าวโพดสามารถส่งเสริมการย่อยสลายพีเอเอชที่ปนเปื้อนในดิน เช่นย่อยสลาย

ฟีแนนทรีน ไพรีนได้ ๙๐ % ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น ๑๐๐ 
mg/kg และยังส่งเสริมการย่อย

สลาย แอนทราซีน เอนโดซัลแฟน ซัลเฟต ได้ด้วย จึงมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ฟื้นฟูดินที่

ปนเปื้อนสารมลพิษอินทรีย์