QR พฤกษาพรรณ ตอนที่ ๒

                                                          ต้นเทพธาโร

ชื่อสามัญ จวง จวงหอม (ภาคใต้)  จะไค้ต้น จะไค้หอม (ภาคเหนือ)   ตะไคร้ต้น(ภาคตะวัน

ออกเฉียงเหนือ) เทพทาโร (ภาคกลาง จันทบุรี สุราษฎร์ธานี) พลูต้นขาว (เชียงใหม่)  มือ

แดกะมางิง (มาเลเซีย ปัตตานี)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Cinnamomum porrectum Kosterm

ถิ่นกำเนิด   มีเขตการกระจายพันธุ์แถบเอเชียเขตร้อน นับตั้งแต่เทือกเขาตะนาว

ศรีในพม่า ไทย มลายู จนถึงแถบคาบสมุทรอินโดจีนและสุมาตรา

ประเภท เป็นต้นไม้หอมชนิดหนึ่งสกุลเดียวกับต้นอบเชย มีต้นขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์

Lauraceae
และเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดพังงา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง

ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลับทึบ


                                                 คุณสมบัติ/สรรพคุณ 

           เนื้อไม้ – ช่วยในการแก้ลมจุกเสียด ขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้

อาการแน่นเฟ้อ รวมทั้งแก้อาการปวดท้อง ช่วยในการขับผายลม ทำให้เรอ และใช้บำรุงธาตุ

ตลอดจนสามารถนำมาฝนกับเปลือกหอยขมน้ำซาวข้าวดำก้นยา แก้อาการไข้สะอึก ให้รส

เผ็ดร้อนหอม

             ยาง – ช่วยในการขับถ่ายพยาธิ และถ่ายน้ำเหลืองเสีย และถ่ายอย่างแรง ให้รส

ร้อน