QR พฤกษาพรรณ ตอนที่ ๓
                                                      ต้นก้ามปู

ชื่อสามัญ   จามจุรี

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Albiza saman Rain Tree,Monkey Pod,East Indian Walnut

ชื่อวงศ์  LEGUMINOSAE

มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Samanea saman Jacq Merr.

ถิ่นกำเนิด อเมริกาเขตร้อนไปจนถึงบราซิล

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์

        จามจุรีเป็นพืชตระกูลถั่ว (Family Leguminosae) อนุวงศ์สะตอ (Sub-Family

Mimosaceae)
ส่วนชื่อที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยได้แก่ จามจุรี ก้ามกลาม จามจุรีแดง

ก้ามปู ก้ามกุ้ง (ไทย) ฉำฉา สารสา สำลา ตุ๊ดตู่ ลัง (พายัพ) ในภาษาอังกฤษชื่อที่เรียกกัน

แพร่หลาย คือ
Rain tree ซึ่งน่าจะมาจากนิสัยของต้นไม้ชนิดนี้ โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ

เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่ง ต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้ง

หนึ่งต้นไม้นี้จะโตขึ้นอย่างสังเกตเห็นได้ชัด

        จามจุรีเป็นไม้ผลัดใบโตเร็วต่างประเทศ เรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่มเรือนยอดสูง

ประมาณ
๔๐ ฟุต สูง ๒๐ – ๓๐ เมตร เปลือกสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลาย

สวยงาม แก่นสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำคล้ำคล้าย

มะม่วงป่าหรือวอลนัท เมื่อนำมาตกแต่งจะขึ้นเงาเป็นมันแวววาว

         นับเป็นพรรณไม้ที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ กำลังของไม้มีความแข็งแรงเท่า

เทียมไม้สมพง แต่มีลักษณะพิเศษคือมีกำลังดัดงอ (
bending strenght) สูงมาก และ

ความชื้นในเนื้อไม้สูงทั้งต้นของจามจุรีมีสารพวกแอลคาลอยด์ (
alkaloid) ชื่อพิธทิโคโลไบ

(
piththecolobine) ที่มีพิษใช้เป็นยาสลบ

        ใบ เป็นใบผสมแบบขนนกสองชั้นทั้งใบยาวประมาณ ๒๕ – ๔๐ เซนติเมตร ใบ

ประกอบด้วยช่อใบ
คู่ ใบย่อย ๒ – ๑๐ คู่ ต่อหนึ่งใบ ใบย่อยเกิดบนก้านใบซึ่งแยกจาก

ก้านใหญ่ ใบย่อยรูปขนานเปียกปูนแต่เบี้ยว ใบย่อยด้านปลายใบใหญ่ที่สุดใบย่อยหนาปาน

กลาง ด้านหน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านหลังใบสีเขียวนวล และมีขนเล็กน้อย

        ดอก เป็นช่อดอกทรงกลม แต่ละช่อรวมกันเป็นช่อใหญ่ ช่อดอกเกิดที่ปลายกิ่ง กลีบ

ดอกเล็กมาก แต่ละช่อดอกมีดอกตัวเมียดอกเดียว และล้อมรอบด้วยดอกตัวผู้เป็นจำนวน

มาก ดอกบานมีสีชมพูซึ่งเป็นสีของเกสรตัวผู้ จามจุรีออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ –

พฤษภาคม

        ผล เป็นฝักแบนเมื่อแก่ก็จะไม่แตก ฝักแก่จะมีสีน้ำตาลดำขนาดกว้าง ๑.๕ – ๒

เซนติเมตร ยาว
๑๒ – ๒๐ เซนติเมตร ภายในฝักมีเนื้อนิ่มรสหวาน ฝักหนึ่งๆ มีเมล็ด ๑๕ –

๒๕ 
เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลดำยาว ๐.๕ – ๐.๘ เซนติเมตร ฝักแก่ระหว่างเดือนตุลาคม –

มกราคม

                                         ประโยชน์จากส่วนต่างๆ

         ใบ รสเย็นเมาทำให้เย็น ดับพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อนเ
มล็ด รสฝาด แก้โรคผิวหนัง

กลากเกลื้อน แก้เยื่อตาอักเสบ
เปลือกต้น รสฝาด สมานแผลในปากคอ แก้โรคเหงือกบวม

แก้ปวดฟัน แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้โลหิตตกใน