QR พฤกษาพรรณ ตอนที่ ๓

                                                           ต้นประดู่

ชื่อสามัญ  Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd

ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

ประเภท ไม้ต้น

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์

           ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง ๒๕ ม. ผลัดใบก่อนออกดอก เรือนยอดรูป

คล้ายทรงกระบอก ยอดอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย เปลือกนอกสีน้ำตาลเทา หนา แตก

หยาบๆ เป็นร่องลึก  

            ใบ ใบเรียงสลับ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยเรียงตัวแบบสลับจำนวน
๗-

๑๓
ใบ ใบย่อยรูปไข่ รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง ๓-๖ ซม. ยาว ๔-๑๓ ซม. โคนใบมนหรือ

ค่อนข้างแหลมหรือ
oblique ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนก้านใบมีหูใบ อันเป็นเส้น

ยาว ผิวใบมีขนสั้นๆ ปกคลุมด้านท้องใบมากกว่าด้านหลังใบ ก้านใบอ่อนมีขนปกคลุมเล็ก

น้อย

     ดอก ดอกช่อแบบช่อกระจะ ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง โคนก้านมีใบประดับ ๑-๒ อัน

รูปรี กลีบเลี้ยง
กลีบ ติดกันเป็นถ้วยสีเขียว ปลายแยกเป็น แฉกอันบนจาก กลีบติด

กันอันล่างจาก
กลีบติดกัน กลีบดอก กลีบ สีเหลือง แกมแสด ลักษณะกลีบเป็นรูป

ผีเสื้อ (
papilionaceous) เกสรเพศผู้ ๑๐ อัน ก้านชูอับเรณูติดกันเป็น ๒-๓ กลุ่ม เกสรเพศ

เมีย
๑ อัน

     ผล ผลแห้งแบบ samaroid รูปกลมหรือรีแบน ขอบมีปีกบางคล้ายใบโดยรอบ แผ่นปีก

บิด เป็นคลื่น ผิวมีขนละเอียด เส้นผ่านศูนย์กลางผล
๔-๘ ซม. มี เมล็ด

                                                          การใช้ประโยชน์

     ประดู่ มีเนื้อไม้สีแดงอมเหลือง เสี้ยนสนเป็นริ้ว เนื้อละเอียดปานกลาง มีลวดลาย

สวยงามใช้ทำเสา พื้นต่อเรือ เครื่องเรือน เครื่องดนตรี
แก่นสีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า และเปลือก

ให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง

       ประดู่เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานเพื่อปลูก

เป็นมงคลประจำจังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่
พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๗ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ

สิริกิติ์

       นอกจากนี้ ยังเป็นต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง