QR พฤกษาพรรณ ตอนที่ ๓
                                                           ต้นหมาก

ชื่อสามัญ  Betel nut , Areca palm

ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Areca catechu Linn.

ชื่อวงศ์  PALMAE

กษณะทางพฤกษศาสตร์

        หมากเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว  ไม่มีรากแก้ว รากฝอยกระจายรอบโคนต้นมากน้อยขึ้นอยู่

กับอายุและความอุดมสมบูรณ์ของดิน กรณีมีน้ำท่วมขังหมากสามารถสร้างรากอากาศได้ ถึง

อย่างไรก็ตามไม่ควรให้น้ำท่วมขังนาน

        ลำต้น หมากเป็นไม้ยืนต้นมีลำต้นเดี่ยวไม่แตกกอ  เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕-๖

นิ้ว
ระยะแรกจะมีการเจริญเติบโต ด้านกว้างและด้านสูง  หลังจากหยุดเจริญเติบโตจะเจริญ

เติบโต   ด้านความสูงรูป
ทรงกระบอกตรง  หมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้นถ้ายอด

ตายหมากจะตาย
  ตากยอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบ

เรียกว่า ข้อ
 

          ข้อของหมาก
สามารถคำนวณหาอายุหมากได้ ๑ ปี หมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น ๕

ใบ หรือ ๕ ข้อ ต้น
หมากมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาว ๆ จับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไป

ประมาณ ๒
เซนติเมตร  ส่วนกลางลำต้นเป็นเสี้ยนไม่อัดแน่นเหมือนด้านนอกและมีเนื้อไม้

อ่อนนุ่นคล้าย
ฟองน้ำทำให้ต้นหมากเหนียวและสามารถโยกโอนเอนได้มากใบ

         เกิดจากเนื้อเยื่อส่วนปลายยอด  ปลายลำต้นประกอบด้วยโคนกาบใบเรียกว่ากาบ

หมากหุ้มติดลำต้นเป็น

        แผ่นใหญ่ ก้านประกอบด้วยใบย่อย  เมื่อหมากออกดอก ดอกหรือภาษาท้องถิ่นเรียก

จั่นหมาก  ซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยกาบหมาก  เมื่อกาบหมากแก่หลุดร่วงไปจะเห็นดอกหมาก
ดอก

        ดอกหมากหรือจั่นหมากเกิดบริเวณซอกโคนก้านใบหรือกาบหมาก  ดอกออกรวมกัน

เป็นช่อใหญ่ประกอบด้วยโคนจั่นยึดติดอยู่ที่ข้อของลำต้น  ก้านช่อดอกเป็นเส้นยาวแตกออก

โดยรอบแกนกลาง  ก้านช่อดอกจะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย  โดยตัวผู้อยู่ส่วนปลายตัว

เมียอยู่ด้านล่างหรือด้านใน  ดอกตัวผู้ใช้เวลานาน ๒๑ วัน หลังจากนั้น ๕ วัน ดอกตัวเมียเริ่ม

บาน
ผล

        ผลหมากมีลักษณะกลมหรือกลมรี  เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ – ๒.๕ โดยเฉลี่ยผลรวมกัน

เป็นทะลาย ใน ๑ ทะลายจะมีผลอยู่ประมาณ ๑๐ – ๑๕๐ ผล ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เรียกหมาก

ดิบ  ผลแก่จะผิวเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มทั้งผลเรียกหมากสุกหรือหมากสง  ผล

ประกอบด้วย  ๔ ส่วน คือเปลือกชั้นนอก ส่วนเปลือกเป็นเยื่อบางๆ สีเขียว เนื้อเปลือกมี

เส้นใยละเอียด เหนียว  เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยหนามากมองเห็นชัด  เมื่อผลอ่อนเส้นใย

อ่อน แก่จะเหนียวแข็ง เปลือกชั้นในเป็นเยื่อบาง ๆ ละเอียดติดอยู่กับเนื้อหมาก  ส่วนของ

เมล็ดหรือเนื้อหมากถัดจากเยื่อบาง ๆ เข้าไปเป็นส่วนของเนื้อหมาก เมื่ออ่อนจะนิ่ม  เนื้อ

ส่วนผิวจะมีลายเส้นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล  เนื้อจะมีสีเหลืองอ่อน ๆ ถึงสีเหลืองเข้มอมแดง

                                               ประโยชน์จากส่วนต่างๆ 

ลูกอ่อน รสฝาดหวาน เจริญอาหาร ขับเสมหะ สมานแผล แก้เมา แก้อาเจียน แก้ไอ

เปลือก/ผล รสจืดหวาน ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดแน่น แก้บิด แก้ท้องเสีย

เมล็ด รสฝาด แก้บิดปวดเบ่ง แก้ปวดแน่นท้อง ฆ่าพยาธิ ขับปัสสาวะ