นิทรรศการภาษาไทย ๑

ต้นไผ่ดำ

ไผ่ดำ :ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์                                                                   

          ไผ่ดำ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแผ่นดินใหญ่ประเทศจีน สำหรับชื่อที่เมืองไทย นอกจากไผ่

ดำยังมีเรียก ไผ่เสฉวน ไผ่หลอด ไผ่ดำเป็นไม้ที่มีขนาดต่างออกไปมากมายมีทั้งขนาดเล็ก

ขนาดใหญ่

           ทรงต้น และใบ มีขนาดเล็กรับกันได้สัดส่วนแตกกอเป็นพุ่มแน่นสูง ๑-๒ เมตร ลำ

ผอมเล็กขนาดประมาณ ๒ เซนติเมตร ปล้องยาว ๒๐-๓๐ เซนติเมตร ผิวเกลี้ยงสีเขียวอม

ม่วง ใบเรียบสีเขียว ใบเล็กออกสองข้าง ก้านรูปคล้ายใบเฟิน กว้างราว ๑ เซนติเมตร ยาว ๕

เซนติเมตร เป็นคลื่นเล็กน้อย แต่บางยอดหรือบางหน่อออกเป็นใบปกติและมีขนาดโตกว่า

หนึ่งเท่าตัว เป็นไผ่ที่มีระบบเหง้าลำเดี่ยว ลำไผ่ในขณะที่ยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยน

เป็นสีดำ


                                                     ประโยชน์และสรรพคุณ

           ไผ่ดำ มักจะนำมาปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ ในบางครั้งก็นิยมนำมาตกแต่งสถานที่ใน

การทำกิจกรรมต่างๆ

           ไผ่ดำ เป็นไม้มงคลพันธุ์หายากชนิดหนึ่ง ผู้คนส่วนมากจะนำมาปลูกเพื่อเสริม

มงคล ตกแต่งสถานที่ ตกแต่งภายในบ้าน

 

 

ไผ่ดำ

                     กาพย์ยานี

                         ลมพัดไผ่ดำพลิ้ว                  ใบไผ่ปลิวล่นล่วงหาย

                      ร่มเงาเย็นจิตใจ                      ประดับไว้ไม้มงคล

                         ยามถึงคราวแตกหน่อ           เติบโตเพราะถูกแดดฝน

                       ให้ร่มเงาเผ่าชน                     บรรดาลดลเกิดสุขใจ

                                 ประพันธ์โดย

                             สามเณรปารมี    เพียรเสมอ

                            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔