นิทรรศการภาษาไทย ๑

ต้นจามจุรี/ต้นฉำฉา/ต้นก้ามปู

ต้นจามจุรี : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ต้นจามจุรี มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ต้นฉำฉา ต้นก้ามปู ลักษณะของรากและลำต้น มี

ระบบเป็นรากแก้ว และแตกรากแขนงออกด้านข้าง รากแขนงมักแทงออกตามแนวนอน

ขนานกับผิวดินในระดับตื้นที่อาจยาวมากกว่า ๑๐ เมตร ลำต้นมีลักษณะค่อนข้างกลม

          กิ่ง ประกอบด้วย กิ่งหลัก และกิ่งแขนง เปลือกลำต้นของต้นอ่อนมีสีขาวเทา

          ใบ มีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก โคนใบเล็ก ปลายใบมนกว้าง ประกอบด้วย

กานใบหลัก และก้านใบย่อย เรียงสลับข้างกัน

          ดอกจามจุรี เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกดอกเป็นช่อ เมื่อดอกบานจะแตกก้านเกสร

ออกมาให้เห็น เมื่อดอกบานเกสรจะมีสีขาว และเมื่อแก่เกสรจะมีสีชมพู

          ผลหรือฝัก มีลักษณะเป็นฝักรูปทรงแบนยาวคล้ายฝักถั่ว ฝักแก่มีสีน้ำตาลถึงดำ มี

เส้นสีเหลืองตามขอบร่องฝักนูนบริเวณที่มีเมล็ด ถูกหุ้มด้วยเนื้อสีน้ำตาล เนื้อมีรสหอมและ

หวานมาก


                                             ประโยชน์และสรรพคุณ

         ราก นำมาต้มดื่ม รักษาอาการท้องร่วง นำมาฝนทาแผล รักษาแผลอักเสบเป็นหนอง

ฝักหรือผลสุก นำมารับประทาน ช่วยบำรุงร่างกาย

          ใบ นำใบสดมาต้มน้ำดื่ม หรือตากแห้งใช้ชงเป็นชาดื่ม รักษาโรคท้องร่วง

          เปลือกต้น มีรสฝาด นำมาต้มน้ำดื่มรักษาโรคท้องเสีย ท้องร่วง แก้ริดสีดวงทวาร

หนัก ใช้ฝนหรือบดทารักษาแผล รักษาโรคผิวหนัง

          เมล็ด มีรสฝาด สามารถนำมาต้มน้ำดื่มสรรพคุณไม่ต่างจากเปลือกของต้น เมล็ดยัง

รักษา แก้กลาก และเกลื้อนได้

จามจุรี

                                    กาพย์ยานี ๑๑

      สูงเทียบเทียมอาคาร         ใบคราวกาลเขียวขจี

                            สรรพคุณนั้นมี                     อย่ามองข้ามจามจุรี

                                 ผลสุกนำมาชิม               อยากลองลิ้มอร่อยดี

                            ทุกสถานต้องมี                    ให้ร่มเงาป้องกันแดด

                                                                       ประพันธ์โดย

                                         สามเณรอัครเดช    กลางวงค์

                                                                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔