นิทรรศการภาษาไทย ๑

ต้นประดู่

ต้นประดู่ : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

           ประดู่ เป็นพรรณไม้พื้นเมืองในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ พม่า ลาว และ

เวียดนาม และเป็นพรรณไม้พื้นบ้านดั้งเดิมของไทย ในไทยพบตามป่าเบญจพรรณและป่า

เต็งรังในทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ลำต้นสูง ๑๕-๒๐ เมตร หุ้มด้วยเปลือกหนาสีน้ำตาล ซึ่งแตก

สะเก็ดเป็นร่องลึก มียางมาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กิ่งก้านมักไม่ห้อยระย้า

            ใบ เป็นใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ ปลายเป็นติ่งโคนมมน ดอกมีสีเหลืองกลิ่น

หอม ผลมีลักษณะเหมือนรูปโล่แบนบาง ตรงกลางนูน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด


                                                      ประโยชน์และสรรพคุณ

           เนื้อไม้ ประดู่มีเนื้อละเอียดปานกลาง มีลวดลายสวยงาม นิยมนำมาใช้ทำเสา พื้น

ต่อเรือเครื่องเรือน เครื่องดนตรี แก่นสีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้าและเปลือกให้น้ำฝาดฟอกหนัง

         ประดู่เป็นพันธุ์ไม้ที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานเพื่อ

ปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดชลบุรี ในวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๗ ณ ศูนย์ประชุมแห่ง

ชาติสิริกิติ์

         นอกจากนี้ยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง อีกด้วย