QR พฤกษาพรรณ ตอนที่ ๒

                                                          ต้นพรหมราชินี

ชื่อสามัญ  ต้นพรหมราชินี

ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chalermglin & M.K.R. Sannders 

ชื่อวงศ์  ANNONACEAE

ลักษณะทั่วไป

     มหาพรหมราชินี เป็นไม้วงศ์กระดังงา ชนิดใหม่ของโลก พบในประเทศไทยที่เขต

อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน สภาพนิเวศวิทยา พบในเขตป่าดิบเขา

ที่สูงชัน ในระดับความสูงมากว่า ๑
,๑๐๐ เมตร ที่มีสภาพลมแรง และอากาศหนาวเย็นจัดใน

ฤดูหนาว ที่ความชื้นสัมพัทธ์ค่อนข้างสูง ลักษณะของต้นมหาพรหมราชินีเป็นต้นไม้ขนาด

เล็กสูงประมาณ ๔-๖ เมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕-๘ เมตร ลำต้นมีสีน้ำตาล กิ่งอ่อนจะ

มีขนอ่อนปกคลุมอยู่ ใบเป็นรูปหอก กว้าง ๔-๙ เซนติเมตร ยาว ๑๑-๑๙ เซนติเมตร เนื้อใบ

หนาผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน โค่นใบและปลายใบแหลม มีแขนงใบ ๘-๑๑ คู่

       ดอก   มีลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๑-๓ ดอก ออกที่ใกล้ปลายยอด เป็นพรรณ

ไม้ดอกไม้ป่าที่มีดอกใหญ่ที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับดอกของพรรณไม้อื่นๆ ในสกุล

มหาพรหมเดียวกัน คือ เมื่อบานเต็มที่มีดอกเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐ เซนติเมตร ก้านดอกยาว

๑.๘-๒.๗ เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี ๓ กลีบ รูปไข่กว้าง ๒ เซนติเมตร ยาว ๑.๕ เซนติเมตร

      กลีบดอก มี ๖ กลีบ เรียงเป็น ๒ ชั้น ๆละ ๓ กลีบ กลีบดอกชั้นนอกเป็นรูปไข่ กว้าง

๔.๑-๕.๓ เซนติเมตร โคนกลีบบาน ปลายกลีบเรียวแหลมกลีบบางสีขาวมีลายเส้นเรียงตาม

ความยาวของใบ กลีบดอกชั้นในกว้าง ๓.๖-๔.๑ เซนติเมตร ยาว ๓.๗-๔.๓ เซนติเมตร โคน

กลีบสีเขียวอ่อน ปลายกลีบสีม่วงเข้ม กระดกงอขึ้นและประกบติดกันเป็นรูปกระเช้า แต่ละ

ดอกบานอยู่ได้ ๓-๕ วัน กลิ่นหอมอ่อนๆ มีฤดูดอกบานเต็มต้นในช่วงเดือนพฤษภาคม

         ผล เป็นผลกลุ่มมีผลย่อย ๑๐-๑๕ ผล รูปทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒.๒-๒.๔

เซนติเมตร ยาว ๕.๕-๘ เซนติเมตร มีขนอ่อนปกคลุมหนาแน่นมี ซึ่งจะมีผลแก่ในช่วงเดือน

ตุลาคม