QR พฤกษาพรรณ ตอนที่ ๒

                                                       ต้นก้ามปู

ชื่อสามัญ   จามจุรี

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Albiza saman Rain Tree,Monkey Pod,East Indian Walnut

ชื่อวงศ์  LEGUMINOSAE

              มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Samanea saman Jacq Merr.

ถิ่นกำเนิด อเมริกาเขตร้อนไปจนถึงบราซิล

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์

        จามจุรีเป็นพืชตระกูลถั่ว (Family Leguminosae) อนุวงศ์สะตอ (Sub-Family

Mimosaceae)
ส่วนชื่อที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยได้แก่ จามจุรี ก้ามกลาม จามจุรีแดง

ก้ามปู ก้ามกุ้ง (ไทย) ฉำฉา สารสา สำลา ตุ๊ดตู่ ลัง (พายัพ) ในภาษาอังกฤษชื่อที่เรียกกัน

แพร่หลาย คือ
Rain tree ซึ่งน่าจะมาจากนิสัยของต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ

เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่ง

ต้นไม้นี้จะโตขึ้นอย่างสังเกตเห็นได้ชัด

        จามจุรีเป็นไม้ผลัดใบโตเร็วต่างประเทศ เรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่มเรือนยอดสูง

ประมาณ
๔๐ ฟุต สูง ๒๐ – ๓๐ เมตร เปลือกสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลาย

สวยงาม แก่นสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำคล้ำคล้าย

มะม่วงป่าหรือวอลนัท

        เมื่อนำมาตกแต่งจะขึ้นเงาเป็นมันแวววาวนับเป็นพรรณไม้ที่มีลักษณะสวยงามตาม

ธรรมชาติ กำลังของไม้มีความแข็งแรงเท่าเทียมไม้สมพง แต่มีลักษณะพิเศษคือมีกำลังดัด

งอ (
bending strenght) สูงมาก และความชื้นในเนื้อไม้สูงทั้งต้นของจามจุรีมีสารพวกแอล

คาลอยด์ (
alkaloid) ชื่อพิธทิโคโลไบ (piththecolobine) ที่มีพิษใช้เป็นยาสลบ

        ใบ เป็นใบผสมแบบขนนกสองชั้นทั้งใบยาวประมาณ ๒๕ – ๔๐ เซนติเมตร ใบ

ประกอบด้วยช่อใบ
คู่ ใบย่อย ๒– ๑๐ คู่ ต่อหนึ่งใบ ใบย่อยเกิดบนก้านใบซึ่งแยกจากก้าน

ใหญ่ ใบย่อยรูปขนานเปียกปูนแต่เบี้ยว ใบย่อยด้านปลายใบใหญ่ที่สุดใบย่อยหนาปานกลาง

ด้านหน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านหลังใบสีเขียวนวล และมีขนเล็กน้อย

        ดอก เป็นช่อดอกทรงกลม แต่ละช่อรวมกันเป็นช่อใหญ่ ช่อดอกเกิดที่ปลายกิ่ง กลีบ

ดอกเล็กมาก แต่ละช่อดอกมีดอกตัวเมียดอกเดียว และล้อมรอบด้วยดอกตัวผู้เป็นจำนวน

มาก ดอกบานมีสีชมพูซึ่งเป็นสีของเกสรตัวผู้ จามจุรีออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ –

พฤษภาคม

         ผล เป็นฝักแบนเมื่อแก่ก็จะไม่แตก ฝักแก่จะมีสีน้ำตาลดำขนาดกว้าง ๑.๕ – ๒

เซนติเมตร ยาว
๑๒ – ๒๐ เซนติเมตร ภายในฝักมีเนื้อนิ่มรสหวาน ฝักหนึ่งๆ มีเมล็ด ๑๕ –

๒๕ 
เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลดำยาว ๐.๕ – ๐.๘ เซนติเมตร ฝักแก่ระหว่างเดือนตุลาคม –

มกราคม

 
    ประโยชน์จากส่วนต่างๆ

     
 รสเย็นเมาทำให้เย็น ดับพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน

      เมล็ด รสฝาด แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้เยื่อตาอักเสบ

      เปลือกต้น รสฝาด สมานแผลในปากคอ แก้โรคเหงือกบวม แก้ปวดฟัน แก้ริดสีดวง

ทวารหนัก แก้โลหิตตกใน