นิทรรศการภาษาไทย ๑

ดอกชบา

ดอกชบา : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

        ชบาเป็นพืชมีดอก เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียตะวันออก ชาวโอรังอัสลี ในรัฐเประก์

 มาเลเซีย ใช้เปลือกรากแช่ในน้ำข้ามคืนและดื่มขณะท้องว่างเพื่อรักษาฝี ชบาเป็นไม้พุ่ม

ขนาดกลาง ใบค่อนข้างมนรี มีปลายแหลม ขอบของใบเป็นจักเล็กน้อยและมีสีเขียวเข้ม เมื่อ

ขยี้ใบจะเป็นเมือกเหนียว ดอกชบา มีทั้งกลีบชั้นเดียวและหลายชั้น หากเป็นชั้นเดียวปกติจะ

มีกลีบดอก ๕ กลีบ มีก้านเกสรอยู่กลางดอกหนึ่งก้าน ลักษณะของกลีบชบามีขนาดใหญ่ มี

หลายสีไม่ว่าจะเป็น  ขาวแดง แสด เหลือง ม่วง ชมพู และสีอื่นๆ

        โดยดอกชบาแบ่งเป็น ๓ ลักษณะ คือ ดอกบานเป็นรูปถ้วย ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน

กลีบดอกบานเป็นรูปแผ่โค้ง และขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ การติดตา และการเสียบยอด


                                                    ประโยชน์และสรรพคุณ

   - มีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส

   - ช่วยฟอกโลหิต

   - ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคที่เกี่ยวกับไต

   - ช่วยดับร้อนในร่างกาย แก้กระหาย และช่วยแก้ไข้

   - ช่วยเรียกน้ำย่อย ทำให้อาการมีรสชาติที่ดีขึ้น ด้วยการใช้รากชบานำไปต้มกับน้ำดื่ม

ชบา

                         โคลง ๔ สุภาพ

                                  ชบาบานแผ่โค้ง        แจ่มแจ้ง (จริงนา)

                             แยกกิ่งดอกบานแดง        แช่มช้อย

                             ดอกแตกช่อเสริมแต่ง       ใบกิ่ง (ก็ดี)

                             งามดั่งมาลาร้อย             ใส่ไว้ใกล้อุรา

                                ประพันธ์โดย

                                 สามเณรปารมี   เพียรเสมอ

                               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔