นิทรรศการภาษาไทย ๑

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ขี้เหล็กจัดเป็นพืชในวงศ์ Leguminosae นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกในท้องถิ่นที่แตก

ต่างกัน เช่น ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็ก

ใหญ่ (ภาคกลางบางที่) ผักจี้ลี้ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มลายู-ปัตตานี) และขี้เหล็กจิหรี่

(ภาคใต้) เป็นต้น

           ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง

ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่มเปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบประกอบเป็นแบบ

ขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย๕-๑๒ คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบน

เกลี้ยง ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี

 ๓-๔ กลีบ กลีบดอกมี ๕ กลีบ เกสรตัวผู้ ๕
 อัน

         ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาว
แบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี ๒๐ -

๓๐ เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ส่วนของดอก
และใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหารในหลาย

ประเทศ เช่น ไทย พม่า อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น


          ในตำราการแพทย์แผนไทยได้มีการบันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน

                                                 ประโยชน์และสรรพคุณ

          ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกตูม นิยมนำมาทำเป็นอาหาร โดยเฉพาะแกงขี้เหล็กที่

นิยมรับประทานกันมากในทุกภาค  ใช้ใบแก่นำมาต้มน้ำสำหรับย้อมสีผ้า ช่วยในการติดสี

เขียวขี้ม้าสารคาราบอลที่สกัดได้จากใบ และดอก ใช้เป็นส่วนผสมของยาสลบ ยาลด

ความเครียด และยานอนหลับ

         น้ำต้มจากใบ และยอดอ่อนขี้เหล็กใช้ฉีดพ่นไล่แมลงปีกแข็ง รวมถึงแมลงศัตรูพืช

ต่างๆ ดอกขี้เหล็กออกเป็นช่อมีสีเหลืองสวยงามจึงนิยมปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับร่วมกับ

ประโยชน์อื่นๆ  

         ต้นขี้เหล็กมีลำต้นสูงปานกลาง ลำต้นแตกเป็นทรงพุ่ม ทำให้นิยมปลูกเพื่อ

ทำเป็นร่มเงาร่วมกับประโยชน์ในด้านอื่น ต้นขี้เหล็กที่มีอายุหลายปีจะมีแก่นด้านในเป็นลาย

สำน้ำตาลอมดำ ขอบด้านนอกของแก่นมีสีเหลือง และเนื้อไม้มีความแข็งแรง นิยมนำมา

แปรรูปเป็นแผ่นไม้ปูพื้น ไม้ชายคา วงกบ รวมถึงแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องเรือน

ต่างๆ

         ลำต้น และกิ่งนำมาเป็นไม้ใช้สอย อาทิ ทำเป็นเสารั้ว ใช้ค้ำยันต้นผัก ใช้ทำฝืนหุงหา

อาหาร ใช้เผาถ่าน เป็นต้น