ฝ่ายนักธรรม-วินัย
                                                     เฉลยปัญหาวิชาวินัย นักธรรมชั้นตรี
                                                             สอบในโครงการอบรม
                                                วันพฤหัสบดี ที่ ๒๘  กันยายน พ.ศ.  ๒๕๖๐
                                                             -------------------------

๑. ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิตเรียกว่าอะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
เรียกว่า นิสสัย ฯ (๒  คะแนน)  มี ๔ อย่าง ฯ คือ  (อย่างละ ๒ คะแนน)
๑. เที่ยวบิณฑบาต ๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
๓. อยู่โคนต้นไม้ ๔. ฉันยาดองด้วยน้ามูตรเน่า ฯ
๒.  อาบัติ คืออะไร? ว่าโดยชื่อมีอะไรบ้าง?
อาบัติ คือโทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ฯ (๓ คะแนน)
มี ๑. ปาราชิก ๒. สังฆาทิเสส   ๓. ถุลลัจจัย ๔. ปาจิตตีย์
๕. ปาฏิเทสนียะ        ๖. ทุกกฏ   ๗. ทุพภาสิต ฯ  (ชื่อละ ๑ คะแนน)
๓.  สิกขากับสิกขาบท  ต่างกันอย่างไร ? สิกขาบทว่าด้วยปาราชิกมีอะไรบ้าง ?
สิกขา  คือ ข้อที่ภิกษุต้องศึกษา  มี ๓  ได้แก่ สีลสิกขา  จิตตสิกขา  ปัญญาสิกขา (๒ คะแนน)
สิกขาบท  คือ พระบัญญัติมาตราหนึ่ง ๆ เป็นสิกขาบทหนึ่ง ๆ  (๒ คะแนน)
มี  (ข้อละ  ๑.๕ คะแนน)
๑. เสพเมถุน 
๒. ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ได้ราคา ๕ มาสก
๓. ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย
๔. ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรม (คือธรรมอันยิ่งของมนุษย์) ที่ไม่มีในตน ฯ
๔.  อเตกิจฉา และสเตกิจฉา ได้แก่อาบัติอะไร? ทั้ง ๒ อย่างนั้น ภิกษุต้องเข้าแล้ว จะเกิดโทษอย่างไร?
อเตกิจฉา อาบัติที่แก้ไขไม่ได้ คือ ปาราชิก ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ ฯ (๒.๕ คะแนน)
สเตกิจฉา อาบัติที่แก้ไขได้ คือ สังฆาทิเสส และอาบัติอีก ๕ ที่เหลือ ฯ (๒.๕ คะแนน)
สังฆาทิเสสต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้ (๒.๕ คะแนน)
อาบัติอีก ๕ ที่เหลือพึงแสดงต่อหน้าสงฆ์หรือคณะหรือรูปใดรูปหนึ่งจึงพ้นได้ ฯ  (๒.๕ คะแนน)
๕.  คำว่า  อาบัติที่ไม่มีมูล  กำหนดโดยอาการอย่างไร ?   ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติไม่มีมูลต้องอาบัติอะไร ?
กำหนดโดยอาการ ๓  คือ ไม่ได้เห็นเอง ๑  ไม่ได้ยินเอง ๑ ไม่ได้เกิด รังเกียจสงสัย ๑ ว่าภิกษุนั้นต้องอาบัติชื่อนั้น ฯ    (๕ คะแนน)
โจทด้วยอาบัติปาราชิกต้องอาบัติสังฆาทิเสส  โจทด้วยอาบัติอื่นจากอาบัติปาราชิกต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
(๕ คะแนน)

๖. ครุกาบัติ ที่แก้ไขได้ก็มี ที่แก้ไขไม่ได้ก็มี ที่แก้ไขได้ได้แก่อาบัติอะไรที่แก้ไขไม่ได้ได้แก่อาบัติอะไร 
ที่แก้ไขได้ ได้แก่อาบัติสังฆาทิเสส  (๕ คะแนน)
ที่แก้ไขไม่ได้ ได้แก่อาบัติปาราชิก ฯ  (๕ คะแนน)
๗. เภสัช ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? ภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้กี่วัน เป็นอย่างยิ่ง ?
ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ฯ  (๕ คะแนน)
เก็บไว้ได้ ๗ วัน ฯ  (๕ คะแนน)
๘. ไตรจีวร อติเรกจีวร และผ้าจำนำพรรษา ได้แก่จีวรเช่นไร ?
ไตรจีวร ได้แก่จีวร ๓ ผืน ประกอบด้วย อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) และสังฆาฏิ (ผ้าคลุมหรือผ้าทาบ) ฯ  (๓ คะแนน)
        อติเรกจีวร ได้แก่ผ้ามีขนาดกว้าง ๔ นิ้วยาว ๘ นิ้ว ซึ่งอาจนำไปทำเป็นเครื่องนุ่งห่มได้ นอกจากผ้าที่อธิษฐาน(๓ คะแนน)
จำนำพรรษา ได้แก่ผ้าที่ทายกถวายแก่ภิกษุผู้ปวารณาออกพรรษาแล้ว ฯ  (๔ คะแนน)
๙. ภิกษุนำเก้าอี้ของสงฆ์ไปใช้ในที่แจ้ง เมื่อหลีกไปจากที่นั้น พึงปฏิบัติอย่างไร ? ถ้าไม่ปฏิบัติ อย่างนั้น ต้องอาบัติอะไร ?
พึงเก็บเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นเก็บ หรือมอบหมายแก่ผู้อื่น ฯ  (๕ คะแนน)
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ  (๕ คะแนน)
๑๐.อธิกรณ์ อธิกรณสมถะ คืออะไร  ?  การเถียงกันด้วยเรื่องอะไรจึงจัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ ?
อธิกรณ์ คือเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ  (๓ คะแนน)
อธิกรณสมถะ คือธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ ฯ  (๓ คะแนน)
การเถียงกันว่า สิ่งนั้นเป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ฯ  (๔ คะแนน)