นิทรรศการภาษาไทย ๑

ไผ่เหลือง

ไผ่เหลือง : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

        ไผ่สีทองหรือไผ่เหลืองทอง และไผ่เหลือง จัดเป็นไผ่ประดับที่นิยมปลูกตามบ้านเรือน

และสถานที่สาธารณะ รวมถึงนิยมปลูกประดับเพื่อตกแต่งสวน ตกแต่งร้าน เพราะเป็นไผ่ที่มี

สีเหลืองทอง และสีเหลืองสวยงาม แลดูแปลกตามากกว่าไผ่ทั่วไป ซึ่งเป็นคนละชนิดกับ ไผ่

สีสุก


       หน่อของไผ่เหลือง มีขนาดปานกลางถึงใหญ่ และใหญ่กว่าไผ่สีทอง โคนหน่อใหญ่

ปลายหน่อแหลม โคนกาบหุ้มหน่อมีสีเหลือง ปลายกาบมีสีเขียว มีขนสีน้ำตาลเข้มปกคลุม

เนื้อหน่อสีขาว

       ไผ่สีเหลือง มีลำต้นเพลาตรง ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับล่าง แต่แตกกิ่งน้อย และไม่มี

หนาม กิ่งออกเป็น
๓ กิ่ง บริเวณข้อ กิ่งตรงกลางมีขนาดใหญ่กว่ากิ่ง ๒ อันด้านข้าง ผิว

ลำต้นมีสีเหลืองสด และมีแถบสีเขียวพาด
๑-๔ แถบ ตามความยาวของปล้อง

      ใบไผ่สีเหลือง ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับที่ปลายกิ่ง (ค่อนข้างเล็กกว่าใบไผ่สีทอง)

  ก้านใบสั้น แผ่นใบ และขอบใบเรียบ โคนใบเป็นรูปลิ่ม ปลายใบแหลม

                                                 ประโยชน์และสรรพคุณ

          ลำไผ่สีทอง มีสีเหลืองทอง ส่วนไผ่เหลือง มีลำสีเหลืองสด ทำให้ไผ่ทั้งสองมีความ

สวยงาม แตกต่างจากไผ่ทั่วๆไป จึงนิยมปลูกประดับไว้ในบ้าน หน้าบ้าน แปลงจัดสวนหรือ

ปลูกในกระถางยกตั้งประดับในอาคาร ลำไผ่มีความหนา นิยมใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ อาทิ

โต๊ะ ม้านั่ง และเตียง เป็นต้นลำไผ่หนา สามารถใช้จักเป็นตอกรัดของ รัดมัดข้าวได้เหมือน

กับไผ่สีสุก ลำต้นตัดทำไม้เสารั้ว ให้ความแข็งแรง และทนทาน มีอายุการใช้งานนาน ไผ่สี

ทอง และไผ่เหลือง เป็นไผ่มงคลที่ปลูกร่วมกับเป็นไผ่ประดับ ตามความเชื่อที่ว่า สีทองหรือ

สีเหลืองของไผ่ช่วยนำความผาสุกมาให้แก่ครอบครอบ รวมถึงช่วยให้โชคลาภ และเงินทอง

ไหลมา เทมา ไผ่สีทอง และไผ่เหลือง นำทุกส่วนมาต้มน้ำดื่ม ส่วนหน่อใช้ประกอบอาหาร มี

                                                        สรรพคุณ

             มีหลายด้าน ได้แก่ 
ช่วยลดไข้ ช่วยละลายเสมหะ รักษาโรคบิด แก้

อาการท้องเสีย
ช่วยขับระดู  ช่วยขับลม ช่วยขับปัสสาวะ