นิทรรศการภาษาไทย ๑

กระถิน

กระถิน : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

       กระถิน เป็นไม้พุ่ม ใบประกอบ ดอกช่อ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ผลเป็นฝักแบน

ยอดอ่อน ช่อดอกและฝักอ่อน ชาวกะเหรี่ยงกินสดกับน้ำพริก เมล็ดในฝักแก่ กินสดหรือลวก

กินกับน้ำพริก ใบต้มให้หมูกิน กระถิ่นเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและขึ้นอย่าง

หนาแน่จนทำให้พืชท้องถิ่นไม่สามารถเจริญเติบโตได้และถูกเบียดออกไป

      กระถินถูกพิจารณาให้เป็น ๑ ใน ๑๐๐ สายพันธ์รุกรานที่ร้ายแรงของโลก โดยคณะ

กรรมการความอยู่รอดของสปีชีส์ของสหภาพนานาชาติ เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและ

ทรัพยากรธรรมชาติ ในไทยพบขึ้นเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่ป่าถูกทำลาย

ตั้งแต่ความแห้งแล้งสูงจนถึงพื้นที่ชุ่มชื้น มักขึ้นคลุมเพียงชนิดเดียว พบได้ทุกภาคของ

ประเทศ ระบาดปานกลาง ในจังหวัดกาญจนบุรี นครราชสีมา เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก และ

มีการระบาดน้อย ในจังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี

 นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ เป็นต้น

                                             
                                       ประโยชน์และสรรพคุณ

    ราก , เมล็ดแก่ ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ยอดอ่อน, ฝักอ่อน, เมล็ด กระถินมีฟอสฟอรัสสูง จึง

ช่วยเสริมสร้างและบำรุงกระดูก
ยอดอ่อน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคความ

ดันโลหิตสูง
 กระถินอุดมไปด้วยวิตามินเอ จึงช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้  เมล็ดแก่ ช่วย

แก้อาการนอนไม่หลับ
ฝักอ่อน, ยอดอ่อน ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยแก้อาการร้อนใน

กระหายน้ำ

กระถิน

                            กาพย์ยานี ๑๑

                           กระถินเพาะพันธุ์ง่าย           แพร่ขยายใช้เมล็ด

                     บำรุงสายตาเสร็จ                     แก้ร้อนในกระหายน้ำ

                            เปลือกทำกระดาษได้          ทั้งเป็นไม้มงคลล้ำ

                     เมล็ดใส่ส้มตำ                          ใบทำปุ๋ยเก็บใช้ดี

                                    ประพันธ์โดย

                                 สามเณรปารมี    เพียรเสมอ

                                  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔