นิทรรศการภาษาไทย ๑

เทพทาโร

                               เทพทาโร : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์        

         มีหลักฐานการใช้ไม้เทพทาโรตั้งแต่สมัยสุโขทัย ทำเครื่องหอมประทินผิว ทำธูป

หอม ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา และใช้เป็นส่วนประสมในตำรับยาโอสถพระนารายณ์  ใน

ตำหรับยาเจริญอาหาร และใช้ในการก่อสร้าง ทำไม้บุผนัง ทำแจว ทำพาย ทำเครื่องเรือน

ของใช้ เชื่อว่าป้องกันตัวเรือด ตัวไร มด แมลงอื่นๆได้

         ต่อมานิยมนำไปใช้ทำหิ้งพระ เนื่องจากว่าเทพทาโรเป็นไม้มงคล ปัจจุบันเนื้อไม้ ตอ

และราก ใช้แกะสลักทำประดิษฐกรรมต่างๆและได้รับการส่งเสริมเป็นสินค้า
หนึ่งตำบลหนึ่ง

ผลิตภัณฑ์
 

          ที่ขึ้นชื่อของกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ไม้เทพทาโร อ.ห้วยยอด จ.ตรัง โดยเศษไม้และขี้เลื่อย

ที่เหลือจากงานแกะสลักหรือประดิษฐกรรมนำมากลั่นน้ำมันเทพทาโรจำหน่าย หรือทำเป็น

ผลิตภัณฑ์ ที่มีมูลค่าเพิ่มอื่นๆ เช่น ยาหม่อง น้ำมันเหลือง น้ำมันนวด แก้ปวดข้อ และน้ำมัน

นวดสปา ไม้ที่เหลือจากการกลั่นน้ำมันใช้ทำเป็นธูปหอม กำยานสำหรับจุดให้กลิ่นหอมใน

สปา

                                                 ประโยชน์และสรรพคุณ

           เปลือกหรือเนื้อไม้เทพทาโร เป็นสมุนไพรใช้ผสมในตำหรับยาหอมแก้ลม จุกเสียด

แน่น แก้ปวดท้อง ใช้ขับลม เป็นยาบำรุงธาตุ เนื้อไม้ใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้ท้องร่วง ท้องอืด โรค

บิด หวัด แก้ผื่น บวม ทาแผลสด แผลเรื้อรังแก้อักเสบ ทาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ทา

ริดสีดวงทวาร ทำยาแก้ไข้ และเครื่องเทศ ราคาผลของเทพทาโรที่มีคุณภาพดี ราคา

กิโลกรัมละ ๔๐-๕๐ บาท น้ำมันที่ได้จากการบีบผลเทพทาโร จำหน่ายในราคาลิตรละ

,๐๐๐ บาท

                                                      เทพทาโร

                                                                                             กาพย์ยานี ๑๑

                                   พืชพันธุ์ไม้มงคล         ประชาชนต่างสนใจ

                        ประโยชน์มากหลากหลาย         เปรียบได้ดั่งท้องนภา

                                  เทพทาโรต้นใหญ่         พากันใช้ผสมยา

                        เป็นไม้มากคุณค่า                    ใช้รักษาโรคและภัย

                                 ทำเครื่องประดับแต่ง       ไล่แมลงหดหายไป

                         พันธุ์ไม้สมุนไพร                     ช่วยแก้ไขให้บรรเทา

                                                                   ประพันธ์โดย
    
                                                          สามเณรปารมี   เพียรเสมอ

 
                                                               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔