นิทรรศกาลภาษาไทย ๒

ต้นราชพฤกษ์

ต้นราชพฤกษ์ : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            ราชพฤกษ์ หรือ คูน ลมแล้ง ชัยพฤกษ์ เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ดอก

ราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย คำว่า “ราชพฤกษ์” มีความหมายว่า “ต้นของพระ

ราชา”

             ต้นคูน สามารถพบเห็นได้ทั่วไปของทุกภาคในประเทศ ต้นคูนนั้นสามารถนำมา

ใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เช่น เป็นยาสมุนไพร นำมาใช้เป็นเสาบ้าน เสาเรือนได้

เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนยาวนาน แข็งแรงทนทาน มีรูปทรงและพุ่มที่งดงาม มีดอกเหลืองอร่าม

เต็มต้น

             ตามตำราไม้มงคล ๙ ชนิด ระบุไว้ว่า “ต้นราชพฤกษ์เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึง

ความเป็นใหญ่ ความมีอำนาจวาสนา”


                                                          ประโยชน์และสรรพคุณ

         นำมาใช้รักษาโรค ส่วนที่นำมาใช้เป็นสรรพคุณทางยา ได้แก่ ส่วนของใบ ดอก

 เปลือก ฝัก แก่น กระพี้ ราก เมล็ด ซึ่งสมุนไพรราชพฤกษ์ สามารถใช้ได้ทั้งกับเด็ก สตรี

รวมไปถึงผู้สูงอายุโดยไม่มีอันตรายใดๆ



          ราชพฤกษ์

                                                                                                 กลอนสุภาพ

                             ราชพฤกษ์ผลิดอกออกเมษา        งดงามตาช่อระย้าดั่งสร้อยทอง

                       สุขสมใจยามใดที่ได้มอง                    สีเรืองรองไม้งามประจำไทย

                             ประเพณีประจำปีงานสงกรานต์    พาลูกหลานสานสัมพันธ์ให้คงไว้

                        เสริมสิริคุณงามและโชคชัย               ชูช่อไหวเหลืองอร่ามงามตระการ

                                                                 ประพันธ์โดย

                                                                   สามเณรสุทธิพงษ์   พลอาษา

                                                                  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

ต้นคูณ

                                                               โครง ๔ สุภาพ

                                 ต้นคูณแตกกิ่งก้าน         สูงใหญ่ (จริงนา)

                             ลือเลื่องราชพฤกษ์ไทย         ทั่วหล้า

                                  เหลืองอร่ามสดใส           ใจแจ่ม(ดีเฮย)

                              สง่างามเทียมฟ้า                 ผ่องแท้เหลืองตระการ

                                             ประพันธ์โดย

                                             สามเณรปารมี     เพียรเสมอ

                                             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔