นิทรรศกาลภาษาไทย ๒

ต้นสะเดา

ต้นสะเดา : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

           สะเดา เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เจริญได้ดีในที่แล้ง ใช้ประโยชน์ได้

มากมาย ทั้งเป็นอาหารและสร้างที่อยู่อาศัย ในใบและเมล็ดสะเดามีสารอาซาดิเรซติน

 (
Azadirachtin) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารฆ่าแมลง

           ในเมล็ดมีน้ำมันที่เรียกว่า
margosa oil ใช้เป็นสีย้อมผ้า และยาฆ่าพยาธิในสัตว์

เลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด แต่ต้องรีบนำไปเพาะทันทีหลังจากเมล็ดร่วง มิฉะนั้น จะ

สูญเสียความสามารถในการงอกไปอย่างรวดเร็ว


                                                         ประโยชน์และสรรพคุณ

             ดอก, ใบ, ผล ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ใบ, แก่นช่วยบำรุงธาตุไฟ ขับน้ำย่อย

อาหารทำให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น  

             ลำต้น น้ำตาลที่ได้จากการหมักน้ำจากลำต้นมีแร่ธาตุ ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย

ยอดอ่อน ช่วยบำรุงและรักษาสายตา โดยพบว่าผู้ที่รับประทานยอดสะเดาตั้งแต่เด็ก เมื่อ

อายุ ๙๐ กว่า สายตายังดีมาก

             ใบอ่อน ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ด้วยการใช้ช่อดอกนำมาลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลา

หวานหรือน้ำพริก หรือจะใช้เปลือกสดประมาณ ๑ ฝ่ามือนำมาต้มกับน้ำ ๒ ถ้วยแก้ว ใช้รับ

ประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว  

             ดอก  ช่วยแก้กษัยหรือโรคซูบผอม ผอมแห้งแรงน้อย 
ใบ ช่วยรักษาโรคแทรก

ซ้อน ในผู้ป่วยเอดส์ เนื่องจากการรับประทานใบสะเดาเป็นอาหารจะ
ช่วยทำให้เจริญอาหาร

 ลดอาการเบื่ออาหารหรือกินอาหารได้น้อยแล้วทำให้ซูบผอมจน
ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน

              ใบ ช่วยลดความเครียด โดยมีผลการทดลองในหนู ระหว่างกลุ่มที่
ได้รับน้ำใบ

สะเดาคั้นและกลุ่มที่รับยา
Diazepam (valium) ซึ่งเป็นยาลดความกังวล ผลการทดลองพบ

ว่า สะเดา ส่งผลได้ดีเท่ากับหรือดีกว่ายา
diazepam (valium)


                                                      ต้นสะเดา

                                                                              กลอนสุภาพ

                                  ใต้สะเดาร่มเงาพัดผ่าน     รับประทานอาหารจิตแจ่มใส

                             มีสรรพคุณแก้โรคหัวใจ         ทานทั้งใบแก้ไข้หายกษัย

                                  พืชผักจากแดนธรรมชาติ  ให้หายขาดปราศจากโรคภัย

                              ปลูกใกล้บ้านถิ่นที่อยู่อาศัย    ผู้คนทั้งใกล้และไกลต่างเชยชม

                                                  ประพันธ์โดย

                                                     สามเณรสุทธิพงษ์  พลอาษา

                                                      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖