ฝ่ายนักธรรม-วินัย


                                                      กัณฑ์ที่  ๑
                                  อุปสัมปทา  อนุศาสน์  ๘  และสิกขา  ๓

๑.  อุปสัมปทา
๑.  อุปสัมปทาหรืออุปสมบท  มีกี่อย่าง  อะไรบ้าง  อย่างไหนทรงอนุญาตให้ใครทำ  ?
อุปสัมปทา  มี  ............  อย่าง  คือ  ................................................  ๑  .................................................. ๑  ......................................................  ๑  .............................................................................................................  ,  ................................................................          ทรง............................................................................................. ,  ................................................................          ทรง............................................................................................. ,  
๒.  จงบอกผู้ให้อุปสมบทแต่ละวิธีมาดู 
๑.  ....................................................................   ............................................................................
           ๒.  .................................................................... ............................................................................
           ๓.  .................................................................... ............................................................................
๓.  บัดนี้ใช้วิธีไหน ? 
ใช้แบบญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา
๔.  การให้อุปสมบทโดยบุคคลเรียกชื่อว่าอย่างไร?  (๑ / ๓๗) 
เอหิภิกขุอุปสัมปทาและติสรณคมนูปสัมปทา
๕.  การให้อุปสมบทโดยสงฆ์เรียกชื่อว่าอย่างไร
ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา
๖.  บุคคลเช่นไร  เรียกว่า อุปัชฌาย์?
ภิกษุผู้รับรองหรือชักนำเข้าหมู่ 
๗.  ตามวินัยมุขเล่ม  ๑  ใครท่านเรียกว่าพระสงฆ์  (๒ / ๓๘)
สงฆ์ คือภิกษุหลายรูปเข้าประชุมกันเป็นหมู่เพื่อทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนประชุมแห่งพวกสมาชิกของสมาคมนั้น ๆซึ่งมีอำนาจในให้เสร็จกิจธุระของเขา
๘.  การกสงฆ์แห่งกิจต่างๆมี ๔ คืออะไร 
จตุวรรค มีพวก  ๔,  ปัญจวรรค มีพวก ๕,  ทสวรรค มีพวก ๑๐,  วีสติวรรค มีพวก ๒๐ ฯ
๙.  ในวินัยมุข  คำว่า  บุคคล  คณะ  และสงฆ์  หมายถึงภิกษุกี่รูป
บุคคล   หมายถึงภิกษุรูปเดียว
คณะ หมายถึง  ภิกษุ ๒-๓  รูป
สงฆ์ หมายถึง  ภิกษุตั้งแต่  ๔  รูปขึ้นไป
๑๐.  การกสงฆ์แห่งกิจต่าง ๆ มี  ๔  อย่างคือ
การการกแห่งกิจต่าง ๆ มีดังนี้
๑.   จตุวรรค    มีพวก  ๔ ๒.  ปัญจวรรค  มีพวก  ๕
๓.   ทสวรรค   มีพวก  ๑๐ ๔.  วีติวรรค     มีพวก  ๒๐


๑๑.  การอุปสมบท  กำหนดภิกษุเข้าประชุมสงฆ์  กี่รูป
การอุปสมบท  กำหนดภิกษุประชุมสงฆ์ ในมัชฌิมชนบท  ๑๐ รูป   ในปัจจันตชนบท   ๕ รูป
๑๒.  การบวชภิกษุ  เรียกว่าอะไร ? 
การบวชเป็นภิกษุ  เรียกว่า  อุปสมบท  
๑๓.  การบวชสามเณร  เรียกว่าอะไร ?
การบวชสามเณรเรียกว่า   บรรพชา
๑๔.  ในปัจจุบันการบรรพชาเป็นสามเณร และการอุปสมบท เป็นพระภิกษุใช้วิธีไหน ?
ในปัจจุบัน การบรรพชาเป็นสามเณรใช้วิธีติสรณคมนูปสมัมปทา 
การบรรพชาเป็นภิกษุใช้วิธี ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา 
๑๕.  สมบัติแห่งการอุปสมบท  มีกี่อย่าง  อะไรบ้าง ?
มี  ๕  อย่าง  คือ   
     ๑.วัตถุสมบัติ     ๒.  ปริสสมบัติ    ๓.   สีมาสมบัติ  
๔.   ญัตติสมบัติ    ๕.   อนุสาวนาสมบัติ
๑๖.  วัตถุสมบัติคืออะไร 
ผู้บวชต้องปราศจากโทษที่ต้องห้าม เช่นโรคเรื้อนเป็นต้น
๑๗.  คำว่า  วัตถุสมบัติ  ในการอุปสมบท ได้แก่อะไร
วัตถุสมบัติ  ในการอุปสมบท  ได้แก่  กุลบุตรเป็นชาย  มีอายุครบ  ๒๐ ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นมนุษย์วิบัติ
ไม่ใช้คนทำผิดอย่างร้ายแรง  เช่น  ฆ่าบิดามารดา และไม้ใช้คนเคยทำความผิดเสียหายในพระพุทธศาสนาอย่างร้ายแรง  คือต้องอาบัติปาราชิก เมื่อบวชเป็นภิกษุคราวก่อนเป็นต้น
๑๘.  ผู้ที่จะอุปสมบทต้องพร้อมด้วยวัตถุสมบัติ  กี่ประการ   อะไรบ้าง ?
๕  ประการ  คือ   
๑  เป็นผู้ชาย   
๒  มีอายุครบ  ๒๐    ปี   
๓  ไม่เป็นมนุษย์วิบัติ เช่นถูกตอน   หรือเป็นกระเทย
๔  ไม่เคยทำอนันตริยกรรม  
๕.  ไม่เคยต้องปาราชิก  หรือไม่เคยเข้ารีตเดียรถีย์ ฯ
๑๙.  ผู้ที่จะอุปสมบทต้องพร้อมด้วยวัตถุสมบัติกี่ประการ ฯ  อะไรบ้าง ?
- ผู้ที่จะอุปสมบทต้องพร้อมด้วยวัตถุสมบัติ  5  ประการ   คือ
๑. เป็นผู้ชาย,  
๒. มีอายุครบ ๒๐ ปี ,  
๓.ไม่เป็นมนุษย์วิบัติ เช่นถูกตอน  หรือเป็นกระเทย    
๔. ไม่เคยทำอนันตริยกรรม  , 
๕. ไม่เคยต้องปาราชิก หรือไม่เคยเข้ารีตเดียรถีย์  ฯ
๒๐.  คำว่า”วัตถุสมบัติ”  ในการอุปสมบทได้แก่อะไร  (๑ / ๓๙)
เป็นมนุษย์ผู้ชาย,มีอายุครบ20ปี ,ไม่เป็นมนุษย์วิบัติเช่นถูกตอนหรือเป็นกระเทย,ไม่เคยทำอนันตริยกรรม,ไม่ต้องปาราชิก

๒๑.  ผู้อุปสมบทต้องพร้อมด้วยวัตถุสมบัติกี่ประการ  อะไรบ้าง?  (๑ / ๔๑)
เป็นมนุษย์ผู้ชาย,มีอายุครบ20ปี ,ไม่เป็นมนุษย์วิบัติเช่นถูกตอนหรือเป็นกระเทย,ไม่เคยทำอนันตริยกรรม,ไม่ต้องปาราชิก
๒๒.  ในพระวินัย  คำว่า  “วัตถุวิบัติก็ดี  วัตถุสมบัติก็ดี”  หมายถึงอะไร  เช่นไร  ตอบให้มีหลัก  ?
คำว่าวัตถุวิบัติ  หมายถึงบุคคลผู้ขาดคุณสมบัติในการอุปสมบท  เช่น  ไม่เป็นชาย  มีอายุอ่อนหวา  ๒๐  ปี  ผู้ถูกตอน  คนทำความผิดอย่างร้ายแรง  เช่น  ฆ่ามารดา บิดา  เคยต้องปาราชิกเมื่อบวชเป็นภิกษุคราวก่อน  หรือผู้ที่เข้ารีตเดียรถีย์ทั้งที่เป็นภิกษุ  เป็นต้น  วัตถุสมบัติ  หมายถึงบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ  โดยตรงกันข้ามจากวัตถุวิบัติดังกล่าวแล้ว  ฯ
๒๓.  คำว่า  ปริสสมบัติ  ในการอุปสมบท ได้แก่อะไร  ?
ปริสสมบัติ  คือ  ชุมนุมภิกษุสงฆ์ครบองค์กำหนด  ในมัชฌิมประเทศตั้งแต่  ๑๐ รูป ขึ้นไป
๒๔.  ปริสสมบัติคืออะไร  ?
ภิกษุผู้ร่วมประชุมสงฆ์  ในมัชฌิมประเทศมีจำนวนอย่างน้อย ๑๐ รูป ส่วนในปัจจันตประเทศอย่างน้อย ๕ รูป
๒๕.  สีมาวิบัติ คืออะไร ?
สีมาวิบัติ คือเสียหายเพราะเขตชุมนุม
๒๖.  คำว่า ญัตติ  คืออะไร คำว่า อนุสาวนา คืออะไร ?
ญัตติ  คือคำเผดียงสงฆ์ขอให้อุปสมบทให้แก่ผู้ขออุปสมบท
อนุสาวนา  คือคำหารือและคำตกลงกัน
๒๗.  สีมาวิบัติ  คืออะไร
สีมาวิบัติ  คือ  เสียหายเพราะเขตชมุชน
๒๘.  ไตรจีวรคืออะไร  เรียกว่าอะไร (๕ / ๓๕)
ผ้า 3 ผืนมีอันตรวาสก หรือผ้านุ่ง, อุตตราสงค์หรือผ้าห่ม ,  สังฆาฏิ 
๒๙.  ผ้าไตรครองคือผ้าชนิดไหน  (๗ / ๓๙)
ผ้า  ๓  ผืนที่ต้องอธิษฐานใช้  ได้แก่ สังฆาฏิ  ผ้าซ้อนนอก, อุตตราสงค์ ผ้าห่ม, และอันตรวาสก   ผ้านุ่ง 
๓๐.  จีวรของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา  มีกำเนิดมาจากวัตถุกี่ชนิด  อะไรบ้าง  ?
จีวรกำเนิดมาจากวัตถุ  ๖  ชนิด  ได้แก่
๑.  โขมํ  ผ้าทำด้วยเปลือกไม้
๒.  กปฺปาสิกํ  ผ้าทำด้วยฝ้าย
๓. โกเสยฺยํ  ผ้าทำด้วยไหม
๔.  กมฺพลํ  ผ้าทำด้วยขนสัตว์
๕.  สาณํ  ผ้าทำด้วยเปลือกป่าน
๖.  ภงฺคํ  ผ้าทำด้วยสัมภาระเจือกัน  เช่น  ผ้าด้ายแกมไหม  ฯ  
๓๑.  เพราะอะไร  พระบวชใหม่จึงได้รับสอนให้พินทุแต่แรก?  (๑๐ / ๔๐)  
กำหนดผ้าของตนได้ โดยไม่ต้องหลงลืมกับของผู้อื่นและเป็นสิ่งจำเป็น เพราะบวชแล้วต้องใช้จีวรเป็นเครื่องนุ่งห่ม 


๒. อนุศาสน์
๓๒.  นิสสัยและอกรณียกิจ  คืออะไร  ทั้ง  ๒  อย่าง  เรียกว่าอะไร  ทำไมพระบรมศาสดา จึงทรงให้พระอุปัชฌาย์สอนภิกษุใหม่ทันที  ภายหลังที่อุปสมบทแล้ว  ?
นิสสัย  คือ  ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต    อย่าง มีเที่ยวบิณฑบาตเป็นต้น  
อกรณียกิจ  คือ  กิจที่บรรพชิตไม่ควรทำ  ๔  อย่าง  มีเสพเมถุนเป็นต้น  
ทั้งสองอย่างนี้เรียกว่า  อนุศาสน์,  เพราะล่อแหลมต่อการต้องอาบัติได้ง่าย  ด้วยว่าปัจจัย  ๔  อันได้แก่สิ่งที่ต้องกินต้องใช้นั้น  เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดของมนุษยชาติ  หากขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว  ความสุข ความสะดวกสบาย  ตลอดจนการดำรงอยู่แห่งชีวิตย่อมมีมิได้  ภิกษุต้องอาศัยปัจจัย  ๔  อย่างนี้เป็นอยู่  จำเป็นต้องรู้และแสวงหาตามธรรมเนียมของสมณะ  ส่วนอกรณียกิจ  ภิกษุประพฤติล่วงละเมิดอาจทำให้ต้องขาดจากความเป็นภิกษุได้  ดังนั้นพระบรมศาสดาจึงตรัสให้เป็นหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ต้องสอนพระใหม่ทันที  ภายหลังที่อุปสมบทแล้ว  เพื่อจะได้ทราบว่า  อะไรควรทำ  อะไรไม่ควรทำ  ฯ
๓๓. เงินทองเป็นของที่ชาวโลกเขาปรารถนากันมิใช่หรือ  เพราะเหตุไรพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามไม่ให้ภิกษุรับเงินและทอง  ไม่เป็นการตัดความสุขของภิกษุ  อันจะพึงเกิดจากเงินทองไปหรือ  อธิบาย  ?
ใช่  เพราะภิกษุอาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีพ  ไม่จำเป็นจะต้องสะสมทรัพย์สมบัติไว้  เพราะฉะนั้น  พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติห้ามไว้  ทรัพย์สมบัติเหล่านี้เพียงแต่ให้เกิดสามิสสุขเท่านั้น  หายังให้เกิดนิรามิสสุขไม่  ทรัพย์สมบัตินั้น  อาจให้เกิดอันตรายต่างๆ ได้  จึงไม่เป็นการตัดความสุขของภิกษุ  ฯ
๓๔.  ในปัจจุบันมีสิ่งจำเป็นต้องใช้มากมาย  เช่น  รถยนต์  โทรศัพท์  เป็นต้น  ทำไมปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิตจึงมีเพียง  ๔  อย่าง  จงชี้แจงมาดู  ?
ที่มีเพียง   ๔  อย่าง  เพราะเที่ยวบิณฑบาต  (อาหาร) นุ่งห่มผ้าบังสุกุล  (เครื่องนุ่งห่ม)  อยู่โคนไม้  (ที่อยู่อาศัย)    ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า  (ยารักษาโรค)  นั้น  เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดที่จะต้องกินต้องใช้สำหรับบรรพชิต  ถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว  ย่อมไม่อาจเป็นอยู่ได้  ส่วนรถยนต์เป็นต้น  แม้ไม่มีก็ไม่ถึงเป็นอยู่ไม่ได้  เพราะอาจเดินไปก็ได้  ฯ
๓๕.  ผู้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา  ต้องอาศัย  ต้องเว้น  และต้องศึกษา  อะไรบ้าง  จึงสมควรกับภาวะของตน  ?
ผู้เข้าบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ต้องอาศัยปัจจัยซึ่งเรียกว่า  นิสสัย  ๔  อย่าง  คือ  เที่ยวบิณฑบาต  ๑  นุ่งห่มผ้าบังสุกุล  ๑  อยู่โคนไม้  ๑  ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า  ๑,  ต้องเว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม  โดยเฉพาะ อย่างยิ่งข้อที่ไม่ควรทำ  ซึ่งเรียกว่า  อกรณียกิจ  ๔  อย่าง  คือ  เสพเมถุน  ๑  ลักของเขา  ๑  ฆ่าสัตว์  ๑  พูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน  ๑  และต้องศึกษาในสิกขา  ๓  คือ  ศีล  สำรวมกายาจาให้เรียบร้อย  ๑  สมาธิ  ความรักษาใจมั่น  ๑  ปัญญา  ความรอบรู้ในกองสังขาร  ๑
๓๖.  อกรณียกิจ    ๔  คืออะไรบ้าง  เพราะเหตุไรพระอุปัชฌาย์จึงต้องบอกแก่ภิกษุผู้บวชใหม่ทันที  ?
เสพเมถุน  ๑  ลักของเขา  ๑  ฆ่าสัตว์  ๑  พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน  ๑ เพราะล่อแหลมต่ออันตราย  คือภิกษุล่วงละเมิดข้อใดข้อหนึ่งแล้ว  อาจจะต้องปาราชิกหาสังวาสมิได้  
๓๗.  จงให้ความหมายของต่อไปนี้เสียใหม่ให้ถูกต้อง 
๑.นิสสัย  ๒.บิณฑบาต  ๓. ผ้าบังสุกุล  
๔. โคนไม้        ๕.เภสัช  
         ๑.นิสสัย  หมายถึง  ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต 
๒.บิณฑบาต  หมายถึง  อาหาร 
๓. ผ้าบังสุกุล   หมายถึง  เครื่องนุ่งห่ม  
๔. โคนไม้         หมายถึง  ที่อยู่อาศัย 
๕.เภสัช   หมายถึง  ยารักษาโรค
๓๘.  นิสัยคืออะไร  มีเท่าไร  อะไรบ้าง?  
ปัจจัยเป็นเครื่องอาศัยของบรรพชิต  มี  ๔  อย่าง   คือ  นุ่งห่มผ้าบังสุกุล  ๑  เที่ยวบิณฑบาต  ๑  อยู่โคนไม้  ๑  และฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า  ๑
๓๙.  นิสสัยและอกรณียกิจคืออะไร ?   ทั้ง ๒ อย่างรวมเรียกว่าอะไร ?
นิสสัยคือปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ฯ อกรณียกิจคือกิจที่บรรพชิตไม่ควรทำ รวมเรียกว่าอนุศาสน์
๔๐.  กิจที่บรรพชิตไม่ควรทำเรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง?      
อกรณียกิจ มี 4 คือเสพเมถุน,ลักทรัพย์,ฆ่าสัตว์,อวดอุตตริมนุสสธรรม
๔๑.  กิจที่บรรพชิตไม่ควรทำซึ่งเรียกว่า  อกรณียกิจ  มีกี่อย่าง  ?  อะไรบ้าง  ?
มี  ๔  อย่าง คือ  เสพเมถุน  ๑  ลักของเขา  ๑  ฆ่าสัตว์  ๑  พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน  ๑  ฯ
๔๒.  ภิกษุทำอะไรบ้างจึงขาดจากความเป็นภิกษุ  ภายหลังหลับอุปสมบทได้หรือไม่  ?
ภิกษุทำอย่างนี้คือ   เสพเมถุน ๑   ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มีราคา  ๕  มาสก  ๑แกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย ๑ อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน ๑  จึงขาดจากความเป็นภิกษุภายหลังกลับมาอุปสมบทอีกหาได้ไม่
๔๓.  เพราะเหตุไรพระอุปัชฌาย์  จึงต้องบอกแก่ภิกษุผู้บวชใหม่ทันที ?
เพราะล่อแหลมต่ออันตราย  คือ ภิกษุละเมิดข้อใดข้อหนึ่งแล้ว   ต้องปราชิกหาสังวาสไม่ได้
๔๔.  นิสสัย  หมายถึงอะไร ?
นิสสัย   หมายถึง  ปัจจัยเครื่องอยู่ของบรรพชิต
๔๕.  อกรณียกิจ  ๔  อย่างคืออะไรบ้าง ?
คือ  ฆ่าสัตว์๑    ลักของเขา๑     เสพเมถุน๑ พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน  ๑
๔๖.  เพราะเหตุไรพระอุปัชฌาย์  จึงต้องบอกแก่ภิกษุผู้บวชใหม่ทันที ?
เพราะล่อแหลมต่ออันตราย  คือ  ภิกษุละเมิดข้อใดข้อหนึ่งแล้ว  อาจจะต้องปาราชิกหาสังวาสไม่ได้ ฯ
๔๗.  อุตตริมนุสสธรรม  แปลว่าอะไร  ?  ได้แก่อะไร ?
อุตตริมนุสสธรรม  คือ  ธรรมอันยิ่งของมนุษย์  ได้แก่  ญาณ  วิโมกข์  สมาธิ  สมาบัติมรรค  ผล  
๔๘.  ภิกษุพูดอวดอย่างไร  จึงต้องอาบัติ ?
ภิกษุพูดอวดว่าได้ญาณเป็นต้น  หรืออวดว่าเป็นพระโสดาบันเป็นต้นซึ่งไม่มีในตน  พูดอวดแก่ผู้ใดผู้นั้นฟังเข้าใจต้องปาราชิก  ถ้าผู้ฟังๆ ไม่เข้าใจ  ต้องถุลลัจจัย
๔๙.  บรรพชิต  ต้องอาศัย  ต้องเว้น  และต้องศึกษาอะไร    ซึ่งสมควรแก่สภาวะของตน
บรรพชิต ต้องอาศัยปัจจัยเรียกว่า  นิสสัย ๔ อย่างคือ เที่ยวบิณฑบาต ๑ นุ่งห่มผ้าบังสูกุล ๑ อยู่โคนไม้ ๑ ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า  ๑   
ต้องเว้นกิจที่ไม่ควรทำ  เรียกว่า อกรณียกิจ มี ๔ อย่าง คือ เสพเมถุน ๑  ลักของเขา ๑  ฆ่าสัตว์  ๑  พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม  ๑  
ต้องศึกษา สิกขา  ๓  อย่าง คือ ศีล  สมาธิ  ปัญญา
๕๐.  อนุศาสน์  มีกี่อย่าง  อะไรบ้าง ทำไมพระบรมศาสดาจึงทรงให้พระอุปัชฌาย์สอนภิกษุใหม่ภายหลังอุปสมบท ?
อนุศาสน์  มี  ๘  คือ  นิสสัย  ๔  อกาณียกิจ  ๔ เพื่อให้ทราบว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ 

๓. สิกขา
๕๑.  คำว่า  สิกขา  สิกขาบท  และ  อาบัติ  คำไหนหมายถึงอะไร  ?
สิกขา  หมายถึงข้อปฏิบัติที่จะต้องเรียนและปฏิบัติตาม  
สิกขาบท  หมายถึง  พระบัญญัติข้อหนึ่งๆ  ทรงตั้งขึ้นด้วยพุทธอาณา  ไว้สำหรับปรับโทษแก่ภิกษุ  หนักบ้าง  เบาบ้าง  
อาบัติ  หมายถึง  กิริยาที่ล่วงละเมิดพระบัญญัติ  และมีโทษเหนือตนอยู่
๕๒.  อะไรเรียกว่า   สิกขา ?
ศีล  สมาธิ  ปัญญา  เรียกว่าสิกขา   
๕๓.  อะไรเรียกว่า   สิกขาบท ?
พระบัญญัติมาตราหนึ่ง ๆ เป็นสิกขาบทอันหนึ่ง  ๆ หรือรวมมูลบัญญัติและอนุบัญญัติ   เรียกว่า   สิกขาบท 
๕๔.  อาทิพรหมจริยาสิกขา  คือ…….  ?
อาทิพรหมจริยาสิกขา  คือข้อศึกษาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
๕๕.  อภิสมาจาริกาสิกขา  คือ …  ?
อภิสมาจาริกาสิกขา  คือข้อศึกษาอันเนื่องด้วยอภิสมาจารคือมารยาทอันดีงาม   ฯ